อิสรภาพ!

ลินุกซ์ และ ซอฟต์แวร์ "โอเพ่นซอร์ส-Open Source" ต่างก็ฟรี นั่นหมายถึงฟรีลิขสิทธิ์ และต่างก็อยู่ในเงื่อนไข GPL (ลิขสิทธิ์สาธารณะ-General Public License) ลิขสิทธิ์ลักษณะนี้ยินยอมให้ใครก็ได้สามารถทำซ้ำ (Copy), ดูรหัสภายใน (Source Code), แก้ไขมัน และแจกจ่ายออกไปใหม่ นานตราบเท่าที่มันยังคงเป็นลิขสิทธิ์แบบ GPL

แล้วคุณจะมาสนใจอะไรกับอิสรภาพ? ลองคิดเล่นๆ ว่าอยู่ๆ ไมโครซอฟท์หายไปจากโลกในวันพรุ่งนี้ (อืม... มันอาจจะห่างไหลความเป็นจริงไปหน่อย เอาเป็นว่าอีกซัก 5 ปี, 10 ปีเป็นไง?) หรือคิดเล่นๆ ว่าค่าลิขสิทธิ์ถีบตัวขึ้นไปสามเท่าสำหรับวินโดวส์และไมโครซอฟท์ออฟฟิศ.... หากคุณติดอยู่กับวินโดวส์ คุณจะทำอะไรได้ คุณหรือธุรกิจของคุณเป็นตายร้ายดีขึ้นอยู่กับบริษัทเดียว กับซอฟต์แวร์ของเขา และคุณไม่สามารถทำงานได้หากปราศจากมันไป (คอมพิวเตอร์ที่ไร้ซึ่งระบบปฏิบัติการแล้วไซร้ คือ เศษเหล็กดีๆ นี่เอง) นั่นเป็นปัญหาขั้นวิกฤตหรือไม่? คุณผูกติดกับบริษัทเพียงบริษัทเดียว และเชื่อมั่นถึงขั้นเทให้หมดใจ หากว่าไมโครซอฟท์ตัดสินใจขึ้นค่าลิขสิทธิ์อีก 35,000 บาทสำหรับวินโดวส์ในเวอร์ชั่นถัดไป คุณจะทำอะไรได้ (ยกเว้นเปลี่ยนมาใช้ลินุกซ์) หากวินโดวส์มีบั๊ก (bug) ที่กวนใจคุณอยู่ทุกวี่ทุกวัน แต่ไมโครซอฟท์ไม่แก้ไขล่ะ คุณจะทำอะไรได้ (การรายงานบั๊กเหล่านั้นไปยังไมโครซอฟท์มิใช่เรื่องง่าย โปรดดูรายละเอียดในส่วน "รายงานบั๊ก")

ด้วยโอเพ่นซอร์ส หากบางส่วนของโครงการหรือบริษัทที่สนับสนุนล้มหายตายจากไป โค๊ดโปรแกรมทุกส่วนก็ยังอยู่ ยังคงสถานะเปิดให้แก่สังคมอื่นๆ หรือกลุ่มบุคคลที่จะพัฒนาต่อไป หากโครงการเหล่านั้นใช้งานได้ดีสำหรับคุณ คุณเองก็อาจเข้าไปพัฒนาต่อไป หากบั๊กบางตัวกวนใจคุณเหลือเกิน คุณสามารถส่งบั๊กนั้น, คุยกับนักพัฒนา แต่ถ้าให้ดี คุณแก้ไขมันด้วยตัวคุณเอง (หรือจ้างใครซักคนมาจัดการมันซะ) และส่งการเปลี่ยนแปลงนั้นไปยังผู้พัฒนา เพื่อให้ทุกคนได้รับการปรับปรุงไปในทางที่ดีด้วยกัน คุณมีอิสระที่จะทำ (ไม่ก็ใกล้เคียง) อะไรก็ได้ที่คุณต้องการบนซอฟต์แวร์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘