การเริ่มต้นใช้งานลินุกซ์ทะเล 8.0

หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งลินุกซ์ทะเลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะเริ่มการทำใหม่ของเครื่องใหม่ ซึ่งจพบหน้าจอของ Boot Loader ก่อนดังรูป

fb

ใน กณีที่มีการติดตั้งหลายระบบปฏิบัติการ ถ้าหากต้องการที่จะเลือกบูตเข้าระบบอื่นๆ ต้องกดคีย์ ESC เพื่อเข้าสู่เมนู แล้วเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการ ถ้าหากไม่มีการกดคีย์ใดๆ จนเลยเวลาที่กำหนด ระบบจะบูตเข้าไปยังระบบปฏิบัติการที่ถูกกำหนดไว้เป็นค่าปริยาย (โดยปกติจะตั้งไว้ให้เป็นลินุกซ์ทะเลอยู่แล้ว) หรือกดคีย์ Enter เพื่อเข้าสู่ระบบทันที เมื่อเข้าสู่ระบบจะพบหน้าจอดังรูป

fb

หลังการติดตั้งครั้งแรก ระบบจะอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งค่าต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานบางค่าได้ ได้แก่

  • การปรับแต่งเครือข่าย
  • การปรับแต่งฟอนต์
  • การปรับแต่งผู้ใช้งาน
  • การปรับแต่งอุปกรณ์เก็บข้อมูล
  • การปรับแต่งค่าการแชร์ข้อมูล

ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า "Firstboot" โดยจะมีหน้าจอต้อนรับดังรูป

fb

จากนั้นจะพบขั้นตอนปรับแต่งต่างๆ ต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 จะเป็นขั้นตอนการปรับแต่งค่าเครือข่าย ได้แก่การตั้งค่าหมายเลขไอพี, การตั้งชื่อเครื่อง และการตั้งค่า DNS โดยมีหน้าจอดังรูป

fb

โดย ปกติ ลินุกซ์ทะเลจะกำหนดหมายเลขไอพีเป็นแบบอัตโนมัติ (DHCP) ซึ่งจะรับหมายเลขไอพีจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่าย แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า ก็สามารถทำได้โดยกดปุ่ม "คุณสมบัติ" ซึ่งจะพบหน้าจอดังรูป

fb

ปรับตั้งค่าหมายเลขไอพีตามที่ต้องการ

ต่อ ไป เป็นการกำหนดชื่อเครื่อง ซึ่งระบบจะกำหนดให้ไว้แล้วเป็น "linuxtleXXX" โดยที่ XXX คือหมายเลข 3 หลักที่ถูกสุ่มขึ้นมา (เพื่อป้องกันการใช้ชื่อเครื่องซ้ำกัน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบกับการแชร์ไฟล์ข้อมูล) ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อก็สามารถแก้ไขได้ทันที

สำหรับการตั้งชื่อเครื่องนั้น ควรจะขึ้นต้นด้วยตังอักษรเท่านั้น และตามด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ แต่ไม่ให้มีช่องว่างอยู่ระหว่างตัวอักขระใดๆ ดังรูป

fb

ต่อ ไป เป็นการตั้งค่า DSN เซริฟเวอร์และ โดเมนของเครื่องที่ใช้ ในกรณีที่มีการกำหนดค่าหมายไอพีเป็นแบบ DHCP ไม่จำเป็นต้องกำหนดในส่วนนี้ ระบบจะนำค่าที่เครื่องเซิรฟ์เวอร์ส่งมาไปกำหนดให้อัตโนมัติ โดยมีหน้าจอดังรูป

fb

ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการกำหนดผู้ใช้งานของระบบ ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

  • ใช้ชื่อผู้งานที่ระบบกำหนดให้ คือ linuxtle โดยมีรหัสผ่านเป็น 123456 ดังรูป

fb

  • ใช้ผู้ใช้งานที่กำหนดเอง ซึ่งมีหน้าจอดังรูป

fb

หมายเหตุ สำหรับ ลินุกซ์ท ะเล 8.0 ผู้ใช้งานที่กำหนดจากขั้นตอนนี้ จะมีสิทธิ์เป็น Admin ของระบบทันที สามารถที่จะจัดการงานต่างๆ ได้ ดังนั้น จึงต้องจำรหัสผ่านให้ขึ้นใจ

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการติดตั้งฟอนต์ (จาก Windows) เนื่องจากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากที่ติดตั้งแบบหลายระบบปฏิบัติ และมีการใช้งานที่หลากหลายทั้งลินุกซ์และวินโดวส์ และเนื่องจากการใช้งานบางอย่าง เช่น งานด้านเอกสาร มีข้อจำกัดด้านฟอนต์อยู่พอสมควร เนื่องจากในลินุกซ์มิได้มีฟอนต์ต่างๆ มากมายเหมือนบนวินโดวส์ เพื่อลดข้อจำกัดนี้ ลินุกซ์ทะเลจึงได้ออกแบบให้สามารถติดตั้งฟอนต์จากวินโดวส์นำมาใช้งานในลินุก ซ์ทะเลได้ด้วย โดยระบบจะค้นหาพาร์ติชันที่ได้ติดตั้งวินโวส์มาแสดง เพื่อให้ผู้ใช้งานดำเนินการต่อไป ดังรูป

fb

ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการตั้งค่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ ที่มีอยู่ใจระบบ ซึ่งได้แก่พาร์ติชันอื่นๆ ที่เป็นของระบบอื่น เช่น พาร์ติชันจากวินโวส์ หากพบระบบจะนำมาแสดงไว้ ถ้าหากต้องการใชลินุกซ์ทะเล สามารถใฃ้งานได้ทันที ก็เลือกพาร์ติชันที่ต้องการได้ ดังรูป

fb

ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการตั้งค่าการแชร์ไฟล์ข้อมูลในเครือข่าย โดยเน้นกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่มีอยู่ในเครือข่าย เพื่อให้เครื่องที่เป็นระบบปฏิบัติการวินโวส์สามารถใช้งานร่วมกับลินุกซ์ทะเ ลได้ ดังรูป

fb

หลังจากนั้น จะเป็นหน้าจอสุดท้ายของการตั้งค่า ซึ่งข้อมูลจากการตั้งค่าต่างๆ จะยังไม่ถูกทำงาน ดังรูป

fb

หลังจากนี้ ระบบจะเริ่มกำหนดค่าต่างๆ ให้กับลินุกซ์ทะเลตามที่ได้กำหนดไว้จากขั้นตอนต่างๆ เสร็จแล้วจะบูตเข้าระบบตามขั้นตอนต่อไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘