ถวายอดิเรก บทถวายพระพรที่สำคัญยิ่ง

ถ้าใครได้ดูถ่ายทอดสดพระราชพิธีที่มีการพิธีทางสงฆ์ เช่น พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เป็นต้น และเน้นด้วยว่าต้องเป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จเท่านั้น เมื่อมาถึงท้ายพิธีการสงฆ์จะมีการบรรยายว่า "พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายอดิเรกถวายพระพรลา" เคยมีสงสัยถามว่า แล้วถวายอดิเรกนี้มันคืออะไร บทอะไร สวดอย่างไร เอาเป็นว่าจะอธิบายให้ฟัง
          ถวายอดิเรก หมายถึงการที่พระสวดอะไรบทหนึ่งเป็นการส่งท้ายเหมือนถวายพระพรพิเสษสำหรับพระมหากษัตริย์ สำนวนในพิธีหลวงจะมีว่า พระสงฆ์ทั้งนั้งเจริญพระพุทธมนต์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา" คำว่าถวายพระพรลานั้นไม่ได้หมายถึงถวายพระพรซ้ำแต่เป็นการบอกลาประมาณว่าเซย์กู๊ดบาย แต่เนื่องจากเป็นพระสงฆ์แล้วจะใช้ถวายบังคมลาก็ไม่เหมาะจึงใช้คำว่าถวายพระพรลาเเทน ส่วนพวกเราเมืองลาพระมหากษัตริย์ใช้คำว่า ถวายบังคมลา และการอวยพรห็ใช้คำว่าถวายพระ ไม่ได้ถวายอดิเรกเหมือนพระแต่อย่างไร
          ธรรมเนียมถวายอดิเรกนี้มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีมาก่อน โดยเรื่องมีอยู่ว่าคราวหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 มีพระราชาคณะบ้านนอกรูปหนึ่งมาจากวัดสุนทราวาส จังหวัดพัทลุงชื่อพระอุดมปิฎก นามเดิมว่าพระมหาสอน พุทธสโร เข้ามาเดิมเป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ครั้งเมืองพระภิกษุรัชกาลที่ 4 ตั้งธรรมยุติกนิกายท่านเป็นหนึ่งในผู้คัดค้าน ครั้งเมื่อรัชกาลที่ 4 ครองราชย์ก็กลัวราชภัยจึงลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามและกลับไปอยู่พัทลุง
          เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงจำได้ว่าพระอุดมปิฎกเป็นพระที่เก่งจึงทรงให้สืบหาและอาราธนาเข้ามาเจริญพระพุทธมนต์ พระอุดมปิฎกก็เข้ามาด้วยความกลัวนั่งเจริญพระพุทธมนต์อยู่ปลายแถว พอรัชกาลที่ 4 ทรงประเคนจุตปัจจุยไทยธรรมถึงก็มีพระราชปฏิสันถารด้วยและก็รับสั่งขึ้นมาว่า "พระเดชพระคุณเดินทางมาไกลนานทีจะได้พบกัน ขจงให้พรโยมได้ชื่นใจทีเถิด" พระอุดมปิฎกขออนุญาติสมเด็จพระสังฆราชองค์ประธานหัวแถวแล้วก็ตั้งพัดยศถวานพระพรกลอนสดด้วยปฏิภาณโวหารแต่งเองเป็นภาษาบาลีในขณะนั้นว่า
          "อติเรกะวัสสะสะตัง ชัวะ" ขึ้นเท่านั้นก็ตกใจตะกุกตะกักแต่งต่ไปไม่ใครจะได้เลยว่าถ่วงเวลาไปสามจบ ระหว่างนั้นก็นึกไปพลางพอครบสามรอบก็นึกได้พอดีและแต่ต่อไปจนจบดังนี้
          อติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะ
          อติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะ
          อติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะ 
          ฑีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ 
          ฑีฆายุโก โหนตุ อโรโค โหตุ
          สุขิโต โหนตุ ปรมินทรมหาราชา 
          สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชโย นิจจัง
          ปรมินทรมหาราชะวรัสสะ ภวตุ สัพพทา
          ขอถวายพระพร
          ฟังดูตะกุกตะกักไม่ไพเราะเท่าไรเพราะแต่งสด แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดพระพรนี้มากถึงกับมีรับสั่งว่าให้ถือเป็นธรรมเนียมว่าพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จและเมื่อจะถวายพระพรลากลับวัดในพระราชาคณะรูปหนึ่งถวายอดิเรกบทนี้เสัยก่อนและก็ให้กล่างซ้ำแบบนี้เพื่อรักษาไว้ แต่ตรงคำว่า "ชีวะ" ให้เติมเข้าไปเพื่อความไพเราะและรักษาไวยากรณ์เป็น "ชีวะตุ" รวมทั้งยังกำหนดว่าการถวายอดิเรกนี้ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเท่านั้น
          ในกรณีของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จมาองค์เดียว ประโยคที่ว่า "ปรมินทรมหาราชะ" จะแก้เป็น "สิริกิตติปรมราชินี" ถ้าประทับอยู่ทั้งสองพระองค์จะใช้คำว่า "ปรมินทรมหาราชะวรัสสะ ราชินิยา"  การถวายอดิเรกนี้จะไม่ถวายสมเด็จเจ้าห้าหรือพระบรมวงศ์พระองค์อื่น แม้พระเจ้าอยู่หัวที่ยังไม่ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกหรือผู้แทนพระองค์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ไม่มีการถวายอดิเรก ส่วนพระนั้นจะต้องมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเท่านั้นจึงจะถวายอดิเรกได้ ถ้าเสด็จไปในที่ที่ไม่มีพระราชคณะก็จะไม่มีการถวายพระพรบทนี้ซึ่งแสดงว่าบทนี้สำคัญเอาการอยู่
          ซึ่งเมื่อมีการถวายอดิเรกเสร็จแล้วก็จะมีการถวายพระพรลาหรือการบอกลา พระจะใช้โวหารกล่าวตามภาษาพระต่อมาหลังถวายอดิเรกแล้วว่า
          "ขอถวายพระพรเจริญพระราชสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการจงมีแต่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริญ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมาภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลาแด่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริญ ขอถวายพระพร"
          ซึ่งเมื่อมีการถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ผู้ฟังอย่างเราๆไม่ต้องพนมมือรับพรหรือรับการลานั่งสงบนิ่งอยู่เพราะว่าท่านไม่ได้ถวายพระพรและลาเราแต่อย่างไร พอพระท่านขยับลงจากอาสนะจึงค่อยพนมมือส่งพระเสียทีหนึ่งเป็นพิธี

ที่มา : "หลังม่านการเมือง" โดย ดร.วิษณุ เครืองาม สำนักพิมพ์มติชน หน้า 269-272

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘