วิตามิน..กินมากไป ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อย่างคาดไม่ถึง!!


     สารอาหารทั้ง 5 หมู่อาหารนั้น เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ แต่ด้วยเหตุผลหลายๆ ในปัจจุบันที่ทำให้คนเรา ได้รับสารอาหารบางชนิดที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกวิตามินต่างๆ ซึ่งหากได้รับไม่เพียงพอก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้ ข่อนี้คนเรารู้ดี จึงทำให้ใครหลายๆ คนเลือกที่จะได้รับวิตามินเหล่านั้นในรูปแบบอาหารเสริมทั้งหลาย แต่ถ้าหากทานไม่ระวังแทนที่จะเกิดประโยชน์ก็กลับกลายเป็นโทษได้
      วิตามิน (Vitamin) เป็นสารอาหารสำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้สารอาหารต่างๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และเกลือแร่ ทำงานได้อย่างราบรื่น โดยสามารถแบ่งวิตามินได้ 2 ชนิด ตามคุณสมบัติ ดังนี้
Vitamins-1
     1. วิตามินที่ละลายในไขมัน มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนจากการหุงต้ม จะถูกดูดซึมร่วมกับอาหารไขมันอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย สะสมที่ตับและเนื้อเยื่อไขมัน หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะพิษจากวิตามินได้ วิตามินประเภทนี้ ได้แก่ วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินดี (Vitamin D) วิตามินอี (Vitamin E) วิตามินเค (Vitamin K)
     2. วิตามินที่ละลายในน้ำ มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี ทำให้สูญเสียออกไปในน้ำได้ง่าย ผักและผลไม้จึงควรล้างน้ำเร็วๆ มักจะสลายตัวด้วยความร้อน ถูกขับออกทางปัสสาวะ ได้แก่ วิตามินกลุ่มบี (Vitamin B complex) วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามิน-2

อันตรายจากการขาดวิตามิน 
     ปกติแล้วร่างกายจำต้องได้วิตามินจากอาหาร เพราะไม่สามารถสร้างขึ้นได้ หรือสร้างขึ้นได้เพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ร่างกายต้องการวิตามินในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน หากอาหารมีวิตามินน้อย หรือความสามารถในการดูดซึมวิตามินของร่างกายลดลง เช่นท้องเสีย หรือในภาวะที่ร่างกายต้องการวิตามินเพิ่มขึ้น เช่น หญิงมีครรภ์ และให้นมบุตร ร่างกายจะขาดวิตามิน ทำให้สุขภาพเสื่อมลง ก่อให้เกิดอาการเฉพาะโรคขึ้นได้
อันตรายจากการได้รับวิตามินมากเกินไป 
     วิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน เมื่อได้รับมากเกินไป จะทำอันตรายต่อตับเป็นอันดับแรก หากได้รับมากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ ส่วนวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ หากได้รับมากเกินไป จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
1. วิตามินอี
    การได้รับวิตามินอีมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ, อ่อนเพลีย, ตาพร่ามัว, แน่นท้อง, ท้องร่วง และถ้าร่างกายมีวิตามินอีสูงมาก ก็อาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินเออีกด้วย
2. วิตามินเอ
    คือ สารเบต้าแคโรทีนอันเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ (Ani-Oxdant) ที่เมื่อร่างกายได้รับมากเกินความต้องการจะมีผลตรงกันข้าม นั่นคือ กลายเป็น “Pro Oxidant” หรือสารที่ส่งเสริมให้เกิดอนุมูลอิสระ (ตามเหตุผลทางชีวเคมี) และเพิ่มอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดให้มากขึ้นด้วย
3. วิตามินซี
     แม้ว่าทานวิตามินซีมากเกินไป ร่างกายจะขับวิตามินซี ที่เป็นส่วนเกินออกมาได้ โดยไม่เป็นอันตราย และอาจสามารถทำให้เกิดนิ่วในไต และหากทานมากเกิน 1,000 มิลลิกรัม ยังอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และหากทานตอนท้องว่างก็อาจเกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร เนื่องจากความเป็นกรดของวิตามินซี ทั้งยังอาจเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือถึงขั้น คลื่นไส้ อาเจียน ได้ด้วย
4. วิตามินบี 1
     ความเป็นพิษของวิตามินบี 1 จะเป็นวิตามินบี 1 ในรูปของไทอามีนไฮโดรคลอไรด์ ที่กินสูงถึง 1,000 เท่าของขนาดที่ใช้ป้องกันการขาด (2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เพราะศูนย์ควบคุมการหายใจจะถูกกดหรือถ้าได้รับวิตามินบี 1 ทางหลอดเลือดดำ ในขนาดที่สูงกว่าปกติ 100 เท่า (ปกติร่างกายต้องการวิตามินบี 1 วันละ 1 มิลลิกรัม) จะทำให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นแพ้ ซีด เกิดอัมพาต หัวใจเต้นผิดปกติ
วิตามิน-3
ปริมาณวิตามินแต่ละชนิด ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน แนะนำดังนี้
วิตามิน A เป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
    – เรตินอน พบมากในเนื้อสัตว์ ประโยชน์นั้นช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของสายตา
    – เบตาคาโรทีน พบ มากในผัก ผลไม้ ที่มีสีเข้มส้มเหลืองแดงจัด เช่น คะน้า ฟักทอง แครอท เบตาคาโรทีนเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เอนไซม์ คาโรติเนส ทำการดัดแปลงจากเบตาคาโรทีนให้กลายเป็นวิตามินเอ พบว่าประโยชน์เบตาคาโรทีนสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ด้านความสวยงาม ขาดสารจำพวกวิตามินเอจะส่งผลทำให้ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ช่วยบำรุงผิว ร้ายแรงอาจถึงขั้นเหยื่อบุผิวหนังอักเสบได้ ระบบการทำงานของดวงตาก็จะมีปัญหาตามมาเช่นกัน หากทานมากไปมีผลทำให้ตัวเหลืองได้
ปริมาณที่แนะนำ
    – ผู้ชายควรกินอาหารที่มีวิตามิน A 1,000 R.E. หรือเท่ากับ 5,000 I.U. ต่อวัน
    – ผู้หญิงควรกินอาหารให้ได้วิตามิน A 800 R.E. หรือ 4,000 I.U. ต่อวัน
    – หากกำลังตั้งครรภ์ควรกินเพิ่มเป็น 1,000 R.E. หรือ 5,000 I.U. ต่อวัน
    – สำหรับการกินวิตามิน A เป็นอาหารเสริมควรกินวันละ 10,000 I.U.
วิตามิน C มี ความจำเป็นกับร่างกาย ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ รักษาบาดแผล สร้างภูมิคุ้มกันโรค หากได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้ปลอดจากโรคเครียด ช่วยให้ผิวสดใส ไม่หมองคล้ำ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
พบมากใน : คะน้า ผักโขม มะเขือเทศ สับปะรด มะนาว มะขาม สะเดา มะขามป้อม ส้ม พริก เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำ : ในรายที่ขาดวิตามิน C ควรกิน เสริม วันละ 1,000 mg
วิตามิน D ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยในการย่อยอาหาร เพิ่มพลังงาน และช่วยรักษาสิว ทั้งนี้หากกินร่วมกับวิตามิน B6 ในขนาดสูงๆ จะช่วยรักษาข้ออักสบ และโรคเรื้อนกวาง (สะเก็ดเงิน) ได้
พบมากใน : เนย นม ไข่ และในแดดอ่อนๆ
ปริมาณที่แนะนำ : ควรกินวิตามิน D เสริม วันละ 1,000 I.U
วิตามิน E เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญ (OXIDATION) โดยมีตัวออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้น เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด ช่วยชะลอความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ช่วยเกี่ยวกับเรื่องของผิวพรรณ
พบมากใน : น้ำมันรำ นม เนย ตับ น้ำมันถั่วเหลือง กระหล่ำดอก เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำ
     – ควรกินวิตามิน E เสริม ขนาดเม็ดละ 400 I.U. วันละ 2 เม็ด เช้า-เย็น
     – ไม่ควรกินในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจเกิดความดันโลหิตสูงได้ในบางราย วิธีแก้อาการดังกล่าวคือ ควรกินในปริมาณ 100 I.U. ก่อน แล้วจึงเพิ่มปริมาณเป็น 200 I.U. และ 400 
วิตามิน B1 หรือ Thiamin จำ เป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจ และกล้ามเนื้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยแก้อาการเมาคลื่น และเมาอากาศ ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัด (Herpes Zoster) ให้หายเร็วขึ้น
ปริมาณที่แนะนำ
    – ถ้าต้องการกินวิตามินชนิดนี้เป็นอาหารเสริม ควรกินวันละ 1 เม็ดหลังอาหาร เม็ดละ 100 mg
    – หากเกิดอาการเครียด ตื่นเต้น เจ็บป่วยโดยเฉพาะหลังผ่าตัด ควรกินวิตามิน B1 ร่วมกับวิตามิน B Complex (วิตามินบีรวม)
คนที่ควรกินวิตามิน B1 เสริม คือ
    – คนที่ชอบกินของหวานๆ กับแป้งขาวมากๆ หรือสูบบุหรี่ และดื่มเหล้าจัด ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคขาดวิตามิน B1 ได้
    – คนที่กินยาลดกรดในกระเพาะเป็นประจำ เพราะยาลดกรดจะทำลายวิตามิน B1 ในอาหารให้เหลือน้อยลง
    – ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดเป็นประจำ
RAMAZAN’DA DOÐRU BESLENMENÝN PÜF NOKTALARI
วิตามิน B6 หรือ Pyridoxine ช่วยในขบวนการสังเคราะห์ฮีม ส่วนประกอบของฮีโมโกบิน ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย อาการที่ทำให้คุณทราบว่า ขณะนี้กำลังขาดวิตามินบี 6 เช่น อาการเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับเม็ดเลือด สังเกตุได้จากผิวหนังที่มีอาการบวมแดง การทำงานที่ต้องใช้สมองคิดมากๆ จะช้าลง
พบมากใน : ไข่ ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์
ข้อแนะนำสำหรับบางคน
    – ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดควรกินวิตามิน B6 เป็นประจำ
    – ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าต้องใช้อินซูลิน ควรกินวิตามิน B6 ควบ และปรับอัตราการใช้อินซูลินให้ได้ตามส่วนของน้ำตาลในเลือด
วิตามิน B12 หรือ Cobalamin
ช่วย ในการสังเคราะห์ DNA สร้างเม็ดเลือดแดง ตัวช่วยสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย อาการบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคุณขาดวิตามินนี้คือ อาการของโรคโลหิตจาง เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ระบบประสาทผิดปกติ
พบมากใน : ไข่ ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์
ข้อแนะนำสำหรับบางคน
    – ผู้หญิงที่อ่อนเพลียเพราะประจำเดือนมามาก ควรกินวิตามิน B12 เสริม
    – ผู้ที่เป็นมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด ก็ควรกินวิตามิน B12 เสริมเช่นกัน
    – ผู้ที่ติดเหล้าหรือดื่มจัดก็ควรกินวิตามิน B12 เสริมเป็นประจำ
วิตามิน B3 หรือ Niacin
    – ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
    – รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
    – ช่วยอาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
    – ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน
    – ช่วยบรรเทาโรคอาไทรทิสและข้ออักเสบ
    – ช่วยกระตุ้นและแก้ไขความบกพร่องทางเซ็กซ์
    – ช่วยลดความดันโลหิตสูง
ปริมาณที่แนะนำ
    – สามารถกินวิตามิน B3 เสริมได้ตั้งแต่ 100 – 2,000 mg ต่อวัน
    – สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจควรใช้ในปริมาณที่สูงถึงวันละ 7,000-8,000 mg

วิตามิน-5
วิตามิน B5 หรือ Pantoyhenic Acid
ช่วย ในการทำงานของระบบผิวหนัง ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจ อาการที่บ่งบอกว่า ขาดวิตามินบี 5 อยู่ เช่น อาการความจำเสื่อม ไม่กระตือรือร้นในชีวิต ที่เรียกว่าเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากระบบสมองนั้นทำงานเหนื่อย สังเกตุได้อีกอย่างคือ อาการของการเบื่ออาหาร ถ้าขาดวิตามินนี้มากผิวหนังขึ้นผื่นแดง และทำให้สีผิวคล้ำได้ในที่สุด
พบมากใน : ไข่ ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและยีสต์
ปริมาณที่แนะนำ – ในรายที่ขาดวิตามิน B5 ควรกินเสริมวันละ 2 เม็ด เม็ดละ 100 mg
วิตามิน B Complex
    – ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของคาร์โบไฮเดรต ให้กลายเป็นกลูโคส ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของโปรตีนและไขมัน
    – ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ตามปกติ
    – ช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
    – ช่วยบำรุงผิวหนัง เส้นผม ตา ปาก และตับ
    – ในกลุ่มชีวจิตเชื่อว่าเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป การดูดซึมของลำไส้จะทรุดโทรมลง ต้องแก้ไขด้วยการบริหารร่างกายและใช้วิตามินกลุ่ม B Complex
ปริมาณที่แนะนำ
     – ถ้าเป็นอาหาร วันหนึ่งๆ เรามีวิตามิน 2 ชนิดนี้รวมกันวันละ 300-400 mg ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าใช้เป็นยาต้องใช้ถึงวันละ 3,000-5,000 mg
      วิตามินที่ร่างกายได้รับ ส่วนใหญ่ก็มาจากอาหารที่เราทานเข้าไปในแต่ละวัน และส่วนหนึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง วิตามินที่ดีจึงต้องสกัดจากอาหาร ถึงอย่างไร เราก็ไม่ควรกินวิตามินแทนอาหาร และวิตามินไม่ใช่ยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยนะคะ เพียงแต่มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ถูกต้อง ดังนั้นจึงควรทานเมื่อจำเป็น และทานอย่างพอดี ควบคู่กับอาหารหลัก 5 หมู่ เพียงเท่านี้ก็จะมีสุขภาพดีได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘