Infographic สรุปสถานการณ์ Ad Blockers และวิธีรับมือสำหรับนักการตลาด

เมื่อของฟรีไม่มีจริงในโลก ผู้บริโภคหลายๆ รายจึงออกอาการรำคาญโฆษณาที่มาพร้อมๆ กับการเสพคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มต่างๆ จนกระทั่ง Ad Blockers เกิดขึ้น มันก็พอจะช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภคขี้รำคาญเหล่านี้ไปได้บ้าง แต่ปัญหาทั้งหมดก็จะมาตกอยู่กับรักโฆษณาแทน อินโฟกราฟิกจาก digital marketing magazine ชิ้นนี้ จะให้รายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Ad Blockers เอาไว้ พร้อมกับบอกว่านักการตลาดควรรับมืออย่างไร
ขึ้นชื่อว่า Ad Blocker มันต้องส่งผลกระทบต่อคนทำการตลาดอยู่แล้ว เริ่มตั้งแต่คอนเทนต์ที่อยากนำเสนอจะไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย และส่งผลกับรายได้ของเว็บไซต์ต่างๆ หรือ Publisher ที่จะได้มาก็ต่อเมื่อมีคนมองเห็นโฆษณา
อินโฟกราฟิกในบทความนี้บอกว่า Publisher ในอเมริกาสูญรายได้กว่า 10% เพราะ Ad Blocker และตัวเลขนี้จะแตะระดับ 50% สำหรับบางเว็บไซต์ที่ผู้อ่านมีความรู้เรื่องการบล็อกโฆษณาเป็นอย่างดี
จุดนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างตัวผู้บริโภคและ Publisher อย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อผู้บริโภคปรารถนาที่จะรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ โดยไม่ต้องหงุดหงิดกับแบนเนอร์โฆษณา ในขณะที่รายได้ของบรรดา Publisher มาจากการโฆษณา ถึงจะไม่ใช่ช่องทางหลักของบางเว็บไซต์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นแหล่งรายได้สำคัญ
มีการคำนวณออกมาแล้วว่า ตลอดปี 2015 นี้ Ad Blockers ทำให้รายได้ของ Publisher หดหายไปมากกว่า 6 แสนล้านบาท
สำหรับสถานะของ AD Blockers ในขณะนี้ มีผู้ใช้งานกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกที่ใช้แอปพลิเคชั่นบล็อกโฆษณาอย่างเป็นประจำ โดยตัวเลขผู้ใช้งานเหล่านี้เติบโตขึ้นมาถึง 41% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ถ้าเจาะลึกเฉพาะ Ad Blockers ที่ถูกใช้บนสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว จะพบว่ายอดผู้ใช้งานมีอัตราการเติบโตที่น่ากลัวมากสำหรับนักการตลาด เมื่อสมาร์ทโฟนคือ 50% ของโฆษณาดิจิทัลในปัจจุบัน และ iOS 9 ก็อนุญาตให้แอปพลิเคชั่น Ad Blockers ขึ้นไปอยู่บน App Store ได้แล้ว
แล้ว “ใคร” ที่ใช้ Ad Blockers
บทความชิ้นนี้ระบุว่า กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 18-29 ปี จะใช้ Ad Blockers มากที่สุด และผู้ใช้งานเบราเซอร์ Chrome จะเปิดใช้งาน Ad Blockers 86 ล้านคน ในขณะที่ผู้ใช้งาน Firefox 41 ล้านคน เลือกที่จะใช้ Ad Blockers
คาดกันว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ Google สูญรายได้จากการโฆษณาไปเกือบ 6 หมื่นล้านบาทในปี 2014
สำหรับเว็บไซต์ที่มีการเปิดใช้งาน Ad Blockers สูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เว็บเกม โซเชียลเน็ตเวิร์ก และเทคโนโลยี ในขณะที่เว็บเกี่ยวกับยานยนต์จะถูกเปิดใช้งานบล็อกโฆษณาน้อยที่สุด โดยเหตุผลยอดนิยมที่ทำให้ผู้บริโภคเปิดใช้งานแอปนี้ก็คือ “ไม่ต้องการเห็นโฆษณาเลย” ซึ่งคนกลุ่มนี้มีจำนวนถึง 45% ที่ไม่สนใจว่าจะเป็นโฆษณาอะไร แต่ขอแค่ไม่ต้องเห็นก็พอ รองลงมาคือกลุ่มคนที่ไม่อยากเห็นโฆษณาที่คิดว่าน่ารำคาญ ซึ่งมีจำนวน 27%
มาที่คำถามสำคัญคือ นักการตลาดจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร บทความนี้มีแนวทางมาให้ 3 ข้อ ได้แก่
  1. ใส่ใจกับสารที่ต้องการจะสื่อให้มากขึ้น ต้องมั่นใจว่ารู้จักผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ และอย่าพึ่งพาข้อมูลจาก Third party มากเกินไป เพราะมันอาจจะเก่า และนำมาใช้อ้างอิงไม่ได้อีกแล้ว
  2. นำเสนอให้ถูกที่ถูกเวลา คือความสำคัญของการเกาะติดแบบเรียลไทม์ มีข้อมูลระบุว่า ผู้บริโภค 22% จะตัดสินใจซื้อจากแบรนด์ที่มาให้เห็นในเวลาที่ต้องการ หรือ Real time marketing
  3. อย่าละเลย Native advertising มีผลสำรวจระบุว่า ผู้บริโภค 32% จะแชร์โฆษณาแบบ Native มากกว่าแบนเนอร์โฆษณา (19%) และโดยทั่วไปแล้ว ผู้บริโภคจะดูโฆษณาแบบ Native ถึง 52% แถมยังรู้สึกดีกับแบรนด์มากกว่าอีกด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘