FundTalk – ทำความรู้จักกับกองทุน Wellington Management Global Health Care Equity Portfolio

หากพูดถึงชื่อของกอง Foreign Investment Funds (FIF) ที่กำลังได้รับการกล่าวถึงในหมู่นักลงทุนในขณะนี้ ชื่อของ BCARE ก็คงอยู่ในลำดับต้นที่รู้จักกันเนื่องจากผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างโดดเด่น เบื้องหลังผลการดำเนินงานของ BCARE นี้ก็คงต้องยกความดีความชอบให้กับกองทุนหลัก Wellington Management Global Health Care Equity Portfolio (WGHCEP) ที่ BCARE นำเงินที่ได้ไปลงทุนต่ออีกทีหนึ่ง ดังนั้นผลการดำเนินงานของ BCARE จะดีหรือจะร้ายก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก อย่างไรก็ตามจากการพูดคุยกับนักลงทุนส่วนใหญ่พบว่ายังขาดความเข้าใจในตัวกอง ทุนหลักเป็นอย่างมาก และลงทุนไปโดยดูเพียงแต่เรื่องของผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นเรื่องที่ ค่อนข้างอันตราย ดังนั้นบทความฉบับนี้จึงถูกเรียบเรียงขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ WGHCEP แก่นักลงทุนครับ (หมายเหตุ: ผู้เขียนมีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ WGHCEP ดังนั้นผู้อ่านจึงควรระมัดระวัง bias ที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ)



WGHCEP คืออะไร

WGHCEP เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง Health Care ทั่วโลก เช่น Biotechnology (เทคโนโลยีชีวภาพ) Pharmaceutical (การคิดค้นและผลิตยา) Medical Technology (เทคโนโลยีทางการแพทย์) หรือ Health Care Service (การให้บริการทางการแพทย์) เป็นต้น กองทุนถูกตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปี 2000 โดยจดทะเบียนในประเทศไอร์แลนด์ ซื้อขายกันในรูปของสกุลเงิน USD (ลงทุนขั้นต่ำที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ) วัตถุประสงค์การลงทุนของกองทุน คือ เพื่อผลตอบแทนในระยะยาวและไม่มีการจ่ายเงินปันผล ด้วยเหตุนี้ WGHCEP จึงอาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลอย่างสม่ำ เสมอเท่าใดนัก ณ ปัจจุบัน (20 กุมภาพันธ์ 2014) กองทุนมีขนาดอยู่ที่ 511.33 ล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณ (รวมทุก Class ของหน่วยลงทุน)



WGHCEP ลงทุนในสินทรัพย์อะไร

จากข้อมูลที่เปิดเผยการถือครองหลักทรัพย์ของกองทุนเมื่อเดือนกันยายน 2013 พบว่า สินทรัพย์หลักที่กองทุนไปลงทุนคือ หุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ Health Care ทั่วโลกซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 90% ของสินทรัพย์กองทุน และมีการลงทุนในสินทรัพย์เพื่อเสริมสภาพคล่องเช่นพวก Money Market อยู่เล็กน้อย บริษัทส่วนใหญ่ที่ WGHCEP ไปลงทุนจะจดทะเบียนอยู่ในประเทศสหรัฐฯถึง 70% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของกองทุนที่ถูกจัดให้อยู่ในประเภทเดียวกัน (Category Average) ซึ่งอยู่ที่ระดัง 58% ดังภาพ



ด้วยเหตุนี้ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนจึงวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้น สหรัฐฯพอสมควร ดังนั้นหากนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้าง สูงต่อสินทรัพย์ทั้งหมดอยู่แล้ว การลงทุนใน WGHCEP จะยิ่งเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นนักลงทุนที่ไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนักในประเทศสหรัฐฯมากจนเกินไปก็ควร ระมัดระวังในจุดนี้



แนวทางการลงทุนของ WGHCEP

WGHCEP เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนเฉพาะเจาะจงในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Health Care ด้วยเหตุนี้หัวใจหลักของการลงทุนก็คือ การคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุน (Stock Selection) โดยกองทุนจะทีมนักวิเคราะห์ที่คอยติดตามบริษัทที่น่าสนใจ และเลือกลงทุนในบริษัทมีพื้นฐานดีมีแนวโน้มเติบโตสูง กองทุนได้รับการจัดอันดับจาก Morning Star ให้อยู่ในระดับ 5 ดาว โดยสไตล์การลงทุนที่ทาง Morning Star วิเคราะห์ออกมาพบว่า กองทุนมีลักษณะการลงทุนแบบ Mid. Cap – Growth กล่าวคือ เน้นการลงทุนในหุ้นเติบโตและมีมูลค่าตลาดขนาดกลาง ด้วยเหตุนี้กองทุนอาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนที่มีสไตล์ที่ไม่สอดคล้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ชอบลงทุนในหุ้นคุณค่าและมีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ เป็นต้น สำหรับตัวอย่างของหุ้นที่กองทุนเข้าไปลงทุนแสดงดังตารางข้างล่างครับ (ข้อมูลไตรมาสที่ 3 ของปี 2013)





เมื่อสังเกตจากตัวอย่างของหุ้นที่ลงทุนพบว่า ประเภทของธุรกิจค่อนข้างจะหลากหลายกว่าในประเทศไทยซึ่งจะมีแค่ธุรกิจโรง พยาบาลและประกันเท่านั้น นักลงทุนในบ้านเราส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่ว่ากองทุนนี้ไปลง ทุนในธุรกิจโรงพยาบาลทั่วโลกเพียงอย่างเดียว WGHCEP นับว่าเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่นนอกเหนือ จากโรงพยาบาลและประกัน ไม่ว่าจะเป็น Biotechnology, Pharmaceutical หรือ Medical Technology ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย

สำหรับตัวอย่างหุ้นที่ทำกำไรให้ WGHCEP อย่างเป็นกอบเป็นกำในปี 2013 ประกอบไปด้วย

Forest Laboratories (FRX): เป็นบริษัทที่ทำการธุรกิจเกี่ยวกับ Biotechnology และ Pharmaceuticals ผลิตยาที่ต้องใช้ตามใบสั่งแพทย์ ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานในปีงบประมาณล่าสุดของ FRX จะไม่ค่อยดีนัก แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวขึ้นถึง 160% ในรอบปีที่ผ่านมา และในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 FRX ก็ได้ถูกซื้อกิจการจาก Actavis ซื่อเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตยาสามัญ (Generic Drug) ด้วยราคา 25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
Alkermes (ALKS): เป็นบริษัทผลิตยาชีวเวชภัณฑ์ (Biopharmaceutical) ซึ่งเน้นไปที่การรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบสมองส่วนกลาง (Central Nervous System Disorders) ผลการดำเนินงานของ ALKS ขาดทุนมาตลอดนับตั้งแต่ปี 2009 และเพิ่งจะพลิกกลับมามีกำไรในปีงบประมาณล่าสุด ในรอบปีที่ผ่านมาราคาของ ALKS ปรับตัวขึ้นถึง 120% ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการเก็งกำไรว่า ALKS จะตกเป็นเป้าหมายในการซื้อกิจการจากบริษัทรายใหญ่
Boston Scientific Corp (BSX) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ กองทุนเคยถือ BSX ก่อนที่จะขายออกไปในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2013 และเช่นเดียวกับ FRX กับ ALKS BSX เป็นบริษัทที่มีผลการดสังเกตว่าหุ้นที่กองทุนถืออยู่นั้นมีทั้งบริษัทระดับ ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูง (เช่น UnitedHealth Group, Merck & Co และ Bristol-Myers) ผสมกับหุ้นที่ผลประกอบการไม่ค่อยดีเท่าใดนัก แต่อาศัยจังหวะที่มีข่าวการซื้อขายกิจการเป็นตัวสร้างกำไร (เช่น FRX, ALKS และ BSX) ซึ่งหากนักลงทุนรู้สึกว่าไม่ชื่นชอบกับแนวทางการลงทุนลักษณะนี้ก็ควรหลีก เลี่ยง WGHCEP ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘