ถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับ "ธรรมกาย" ถาม : ธรรมกายคืออะไร ?

ถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับ "ธรรมกาย"
ถาม : ธรรมกายคืออะไร ?
ตอบ : คำว่า ธรรมกาย มีหลายความหมายด้วยกัน
1.ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อาจหมายถึงพระเนมิตกนาม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นในเวลาที่ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า
2.ศัพทานุกรมพุทธศาสนาภาษาจีน ได้อธิบายคำว่า ธรรมกาย (พระธรรมกาย, กายธรรม, 法身) ว่าเป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรม คือกายที่สำเร็จ (ตรัสรู้) พุทธธรรม” เป็นสภาวธรรมภายในที่มีมาแต่ดั้งเดิมสถิตอยู่ภายในใจ ของมนุษย์ทุกคน ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงได้ และเห็นได้ ด้วยใจที่บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์ผู้เข้าถึงธรรมกาย เป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุด ดำรงอยู่ในสภาวะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมกาย จึงจัดเป็นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในภูมิธรรมขั้นสูงสุด
ธรรมกายเป็นธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุตติ, และวิมุตติญาณทัสสนะ มีคุณสมบัติสี่อย่างคือ ความเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา และบริสุทธิ์ มีลักษณะกายมหาบุรุษครบถ้วน ๓๒ ประการ มีความบริสุทธิ์ ใส สว่าง ประดุจเพชร [หรือยิ่งกว่า] ในคัมภีร์โบราณหลายแห่งเรียก “ธรรมกาย” ในชื่อต่างๆ เช่น พุทธรัตนะ (寶佛) ธรรมกายแก้ว (琉璃法身) กายแก้ว (Crystal Body 琉璃身) วัชรกาย (Diamond Body, 金剛身) สัจจกาย (Truth Body, 真身) นามกาย (名身) พุทธภาวะ (佛性) ตถาคตครรภะ (如來藏)
พระมงคลเทพมุนีกล่าวว่า การเห็นธรรมกายจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติฝึกใจให้หยุดนิ่งถูกส่วนตรง ศูนย์กลางกาย ใจที่หยุดนิ่งสนิทได้นั้น จะมีสภาวะที่ว่างเปล่า เป็นสุญตา (บ.สุญฺญตา, ส.ศูนฺยตา) คือปราศจากความคิดปรุงแต่ง และปราศจากนิวรณ์ธรรมทั้งปวง
___________________________
1 เนมิตกนาม คือชื่อที่เกิดขึ้นเองตามเหตุ ตามลักษณะ หรือคุณสมบัติ เช่น พระสุคต คือ ผู้เสด็จดำเนินไปดีแล้ว พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นต้น
2 Wu Rujun 吳汝鈞, Fojiao sixiang da cidian 佛教思想大辭典 (Taiwan shangwu yin shuguan 臺灣商務印書館, 1992), 313.
3 法身即是成就佛法的身體
4 心中之佛. ibid.
5 證得法身. ibid.
6 見證.
7 菩薩已證得法身, 法身菩薩. ibid.
8 Li Zhifu 李志夫, Mo he zhi guan zhi yan jiu 摩訶止觀之硏究 (Taipei : Dharma Drum Publishing Corp, 2001), 230.
9 Jiu mo luo she 鳩摩羅什, trans., “Miaofa Lianhua Jing 妙法蓮華經 T9” (Tokyo), T9.35b : 29, accessed May 9, 2015, http://21dzk.l.u-tokyo.ac.jp/SAT/ddb-bdk-sat2.php?lang=en.
10 Wu Rujun 吳汝鈞, Fojiao sixiang da cidian 佛教思想大辭典, 313.
11 Hong Qisong 洪啓嵩, Mizong xiuxing yaozhi : Zong she mi fa de genben yaoyi 密宗修行要旨 : 總攝密法的根本要義 (Taipei : Buddhall Cultural / 全佛, 2007), 358.
12 Buddhistdoor 佛門網, “Jingang Shen 金剛身,” Buddhist Glossary 佛學辭彙, accessed May 9, 2015, http://dictionary.buddhistdoor/ com/en/word/30323/%E9%87%91%E5%89%9B%E8%BA%AB.
13 Charles Muller, ed., “法身 | Dharma-Body,” Digital Dictionary of Buddhism 電子佛教辭典 (Tokyo: Charles Muller), accessed May 9, 2015, http://buddhism-dict.net/cgi-bin/xpr-ddb.pl….
14 Ding Fubao 丁福保, “Fashen 法身,” Foxue Da Cidian 佛學大辭典, accessed May 9, 2015, http://buddhaspace.org/dict/dfb/data/%25E6%25B3%2595%25E8% 25BA%25AB.html.
15 Buddhistdoor 佛門網, ed., “Fo Xing 佛性,” Buddhist Glossary 佛學辭彙 (Hong Kong : Buddhistdoor 佛門網), accessed May 9, 2015, http://dictionary. buddhistdoor.com/search.
16 Buddhistdoor 佛門網, ed., “Rulai Cang 如來藏,” Buddhist Glossary 佛學辭彙 (Hong Kong : Buddhistdoor 佛門網), accessed May 9, 2015, http://dictionary.
17 “ทางมรรคผลนิพพาน” หน้า 215–219.
18 มหาสุญญตสูตร. ม. อุ. 14/343-356/234-245.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘