อย่านอน กับเครื่องใช้ไฟฟ้า

เป็นประเด็นที่หนูดีระมัดระวังเสมอมา เรื่องของการ "นอนกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า" ตรรกะที่คิดเองได้ง่ายๆ ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโทวิชาแรก ซึ่งอาจารย์สอนเรื่อง การทำงานของสมอง บอกว่า สมองของเราส่งข้อมูลในระดับเซลล์เป็นสารสื่อประสาทที่เรียกว่า Neurotransmitter และภายในสมองของเรามีประจุไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานของเซลล์ต่างๆ หากเรากักเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ได้เหมือนปลาไหลไฟฟ้า สมองเราก็จะมีกระแสไฟฟ้าถึง 12  วัตต์เลยทีเดียว ซึ่งจุดหลอดไฟดวงเล็กๆ ในตู้เย็นติดนั่นละค่ะ

          สมองของเราเป็นอวัยวะชีวภาพที่บอบบางกับกระแสไฟมาก ก็แค่กับโทรศัพท์เครื่องเล็กๆ สมองของเราก็รวนแล้ว นับประสาอะไรกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่กว่านั้น เช่น โทรทัศน์ เครื่องไมโครเวฟ

          แม้ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยระยะยาว (Longitudinal Studies) ที่ติดตามผลเกิน 10 ปีในกลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือว่า ทำให้เกิดมะเร็งสมองได้จริงหรือไม่ แต่มีงานวิจัยเรื่อยๆ เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและความร้อนที่ออกมาจากการใช้มือถือในระยะ ประชิดตัว

          ใครสนใจอยากติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ลองหาอ่านในเว็บที่น่าเชื่อถือ เช่น www.cancer.gov ซึ่งเป็นของ National Cancer Institute ที่คอยอัพเดตเรื่องราวใหม่ๆ เกี่ยวกับมะเร็งประเภทต่างๆ โดยเฉพาะงานวิจัยที่น่าสนใจ หนูดีเองก็คอยลุ้นว่า ปีนี้จะมีงานวิจัยใหม่ๆ อะไรออกมา เราจะได้เตือนกันถูกและระวังตัวให้ถูกต้อง

          อย่างไรก็ตาม การใช้โทรศัพท์มือถือแม้จะยังไม่ฟันธงว่า ก่อให้เกิดมะเร็งในสมอง แต่นักวิจัยก็ยังเตือนว่า มีความเสี่ยง และยิ่งสำหรับเด็กแล้วถือว่ามีความเสี่ยงสูง หากเป็นได้ขอให้เลี่ยงการที่เด็กเล็กในวัยที่สมองกำลังฟอร์มตัวและพัฒนาใน ระบบประสาทส่วนกลาง มิให้เล่นสมาร์ทโฟนของพ่อแม่ รวมถึงงดของเล่นประเภทแทบเลตโดยสิ้นเชิง ด้วยกังวลว่า อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและความร้อนที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์จะทำลายเนื้อ เยื่ออ่อนๆ ของเด็กในระยะประชิดได้

          ที่สำคัญ ถึงแม้ในวัยผู้ใหญ่แล้ว นักวิจัยก็ยังคงเตือนมิให้เราใช้โทรศัพท์มือถือพร่ำเพรื่อ โดยเน้นว่าหากอยู่ในบ้านหรือในออฟฟิศขอให้ใช้โทรศัพท์สายบ้านเท่านั้น และหากต้องโทรมือถือก็ต้องใช้หูฟังที่แยกออกมา อย่าเอาโทรศัพท์ไปแปะไว้ที่ข้างแก้มเพราะเนื้อเยื่ออ่อนๆ ตรงนั้นอาจไม่ปลอดภัย

          ส่วนในห้องนอน หนูดีไม่มีการชาร์จโทรศัพท์มือถือ เพราะเกรงสัญญาณที่ออกมาในขณะที่เราหลับจะทำร้ายสมอง เพราะแม้ปิดเครื่องแล้วแต่ใครจะรู้ว่า สัญญาณคลื่นแม่เหล็กที่เล็ดลอดออกมาจะส่งผลเสียกับสมองแค่ไหน เพราะเสี่ยงแม้เพียงนิดเดียวหนูดีก็ไม่อยากเอาสมองอันมีค่าไปทดลอง ที่สำคัญ อย่าคิดว่า ไม่มีงานวิจัยออกมาบอกว่า "มันอันตราย" แล้วมันคือปลอดภัย เพราะงานวิจัยชิ้นหนึ่งกว่าจะตีพิมพ์ได้ใช้เวลาหลายปี ระหว่างที่เก็บข้อมูลเราก็เอาตัวไปเสี่ยงแล้ว ดังนั้นนอกจากศึกษางานวิจัยแล้วหนูดีเน้น "คอมมอนเซนส์" หรือ ตรรกะเบื้องต้นเลยค่ะ อะไรที่มันดูไม่น่าไว้วางใจก็จะหนีห่างเอาไว้ก่อนเลย ไม่อยากวัวหายล้อมคอก

          ล่าสุดมีงานวิจัยออกมาแล้วว่า เด็กที่มีโทรทัศน์ในห้องนอนนั้น เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักตัวเทียบกับกลุ่มเด็กที่ไม่มีโทรทัศน์ในห้องนอนพบว่า เด็กที่มีโทรทัศน์จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยสูงกว่าประมาณหนึ่งปอนด์

          พูดง่ายๆ ว่า เด็กที่พ่อแม่ใจดีใส่โทรทัศน์เข้าไปในห้องนอนให้ลูกนั้นส่งผลให้ลูกอ้วนกว่า เด็กที่พ่อแม่เข้มงวดกว่า และไม่ยอมให้ดูโทรทัศน์ในห้องนอน  นักวิจัยคาดว่า อาจเป็นเพราะเด็กดูโฆษณาขนมอาหารมากกว่า หรือเป็นได้ว่า คลื่นกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรทัศน์จะไปรบกวนการหลับและการหลั่งฮอร์โมน การซ่อมแซมร่างกายของเด็ก โดยในงานวิจัยถึงแม้เด็กจะไม่เปิดโทรทัศน์ดูเลย แต่ผลที่ได้ก็ไม่ต่างกันเลย

          สำหรับโลกของแพทย์ทางเลือกก็กลัวเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่แตกต่างกัน โดยในหนังสือ "รู้ก่อนป่วยด้วยแพทย์แผนจีน" ของ หมอไพร ได้เล่าถึงคนไข้ปวดหัวมารักษาด้วยการฝังเข็มและให้ยาจีนรับประทาน โดยรักษาแล้วก็หายแต่แล้วก็กลับมาเป็นอีกอย่างน่าประหลาดใจ แต่ในที่สุดวันหนึ่งคนในครอบครัวสังเกตเห็นตำแหน่งเครื่องกรองน้ำแบบเสียบ ไฟฟ้า อยู่ติดหัวเตียงคนไข้พอดีแม้จะมีผนังห้องกั้นก็ตาม

          ลองตรวจดูในห้องนอนของเรานะคะว่า มีโทรทัศน์หรือไม่ เราชาร์จแบตมือถือไว้หัวนอนไหม เรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรที่อยู่ใกล้ๆ หัวเราขณะหลับบ้าง รีบย้ายออกไปนะคะ สมองของเรามีค่าสูงมาก อย่าเอาไปเสี่ยงด้วยการวางสมองไว้ใกล้ๆ แหล่งกำเนิดไฟฟ้าทั้งคืนเลยในที่สุดคนไข้ตัดสินใจหันหัวเท้าสลับกัน คือ ยังนอนบนเตียงเดิมอยู่ แต่หันปลายเท้าไปทางเครื่องกรองน้ำ ผลที่ได้คือ อาการปวดหัวค่อยๆ หายไปจนหายสนิทในที่สุด

          น่ากลัวจริงๆ ค่ะ--จบ--

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘