การด้อยค่าของสินทรัพย์ (สมบูรณ์)

การเป็นนักลงทุนที่ดีนั้นสมควรที่จะมีความสามารถในการอ่านงบการเงินและตี ความหมายของสิ่งที่เกิดขึนได้ถูกต้อง ถ้าจะว่าไปแล้วนอกจากเรื่องของ รายได้ต่างๆ รายจ่ายต่างๆ ดอกเบี้ย หนี้สินต่างๆ ทรัพย์สินต่างๆ แล้วก็ยังมีตัวเลขและกิจกรรมทางการเงิน/การบัญชีหลายอย่างที่ทำให้สภาพทาง การเงินของกิจการเปลี่นแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น ค่าเสื่อมราคา หนี้สูญ/สงสัยจะสูญ และอื่นๆ ซึ่งคราวนี้เราจะยกเอาหนึ่งในนั้นมาคุยกันคือ "การด้อยค่าของสินทรัพย์" ซึ่งรวมถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า ที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์ และรวมถึงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วย

การด้อยค่าของสินทรัพย์

"สินทรัพย์ จะเกิดการด้อยค่าเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์จะลดค่าอย่างถาวร จะเกิดเมื่อ ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นสูงกว่า มูลค่าจากการใช้สินทรัพย์นั้นหรือราคาขายสุทธิของสินทรัพย์นั้น แล้วแต่ว่าตัวเลขไหนจะสูงกว่ากัน และต้องบันทึกการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาด ทุนทันที และบันทึกลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน พร้อมทั้งต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ด้วย"
(หมาย เหตุ: การด้อยค่าของสินทรัพย์จะแตกต่างจากการ "ตีราคาสินทรัพย์" ซึ่งเป็นการตีราคาตามราคาตลาดที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปมาได้คือไม่เป็นการถาวร และสามารถได้กำไรคือบันทึกเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ หรือบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกรณีที่สินทรัพย์ถูกตีราคาลดลง)

สินทรัพย์จะด้อยค่าเมื่อใด

ใน ทางบัญชีก็มีหลักการที่จะบอกได้อยู่สองประเภทหลักคือ จากแหล่งข้อมูล และ/หรือ ข้อบ่งชี้สำหรับการประเมินว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่าไม่ว่าจะเป็นแหล่ง ข้อมูลภายนอกหรือภายในที่ทำให้ทราบว่า:
- ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญในระหว่างงวด
- มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรือในอนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ
- อัตราดอกเบี้ยในตลาดหรืออัตราผลตอบแทนอื่นในตลาดจากการลงทุนของงวดนั้นเพิ่ม ขึ้นจนน่าจะมีผลกระทบต่ออัตราคิดลดที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าจากการใช้ สินทรัพย์
- มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้นล้าสมัยหรือชำรุดเสียหาย
- มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะที่กิจการใช้หรือคาดว่าจะใช้สินทรัพย์ซึ่ง ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรืออนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ

ตัวอย่าง

สมมติ ว่าบริษัทซื้อเครื่องจักรมาในราคา 150,000 บาท กำหนดอายุการใช้งาน 5 ปี (ค่าเสื่อมราคาปีละ 30,000 บาท) เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปีเครื่องจักรจะมีมูลค่าทางบัญชีเป็น 90,000 บาท ซึ่งสืบราคาได้ว่าจะมีราคาขายสุทธิ 75,000 บาทและประมาณมูลค่าการใช้งานได้ 80,000 บาท (ตัวเลขที่สูงกว่าคือ 80,000 บาท) ดังนั้นจะเกิดการด้อยค่าของสินทรัพย์ 90,000 - 80,000 = 10,000 บาท

สิ่งที่นักลงทุนต้องพิจารณา

โดย ส่วนตัวแล้วผมมีความเชื่อว่า การลงทุนที่ดีคือการเป็นเจ้าของกิจการที่เข้าใจได้ง่าย ตรงไปตรงมา มีการทำกำไรที่ดี หนี้สินต่ำหรือไม่ก็สร้างผลตอบแทนได้มากโดยยังคงรับษาความเสี่ยงที่ต่ำเอา ไว้ และนอกจากนั้นก็คือต้องมีสิ่งอื่นมากระทบได้น้อย การบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์นี้เป็นหนึ่งในการแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เคย คิดว่าจะเป็นเมื่อทำการวางแผนนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่คิด การบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ในตัวเลขที่ไม่มากนักนั้นอาจจะถือว่าเป็น เรื่องปกติ แต่เมื่อใดที่ตัวเลขเหล่านี้มีค่าสูงมากและเกิดขึ้นบ่อยๆ กับบริษัทเดียวกัน ก็น่าจะเป็นจุดที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาว่าควรลงทุนในบริษัทเช่นนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้หลีกเลี่ยงไม่ลงทุนเลย แต่สามารถลงทุนได้ถ้านักลงทุนคนนั้นๆ มีความเข้าใจที่แท้จริงว่าทำไมจึงเกิดการด้อยค่าของสินทรัพย์นั้น และจะเกิดขึ้นเมื่อใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าใดบ้างครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘