แก้ไขปัญหาแบบฉบับ "เชอร์ล็อค โฮล์มส์"

เชอร์ล็อค โฮล์มส์ มีกลวิธีสืบสวนชั้นเลิศด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยคือ มักจะเริ่มจากหลักฐานชิ้นเล็กๆ ก่อนเสมอ เช่น เส้นด้าย กระดุม รอยเปื้อนบนกระดาษ เป็นต้น เขาสืบจากสิ่งเล็กไปสิ่งใหญ่ด้วยการต่อยอดหลักฐานใหม่จากหลักฐานเดิม ด้วยความแตกต่างในจุดนี้เองทำให้โฮม์ลส์มักได้เปรียบบรรดาตำรวจและนักสืบ ทั้งหลาย

เขาไม่สนใจจะไขคดีให้เสร็จอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ผลงาน การที่คุณให้ความสนใจกับความรวดเร็วเกินไป ความกดดันในการคลี่คลายคดีย่อมนำไปสู่การวิเคราะห์แบบสุกเอาเผากินและมอง ข้ามเงื่อนไขสำคัญไปเป็นแน่ โฮล์มส์บอก

แทนที่เขาจะเดินเข้าในสถานที่เกิดเหตุแล้วถามตัวเองว่า "ใครเป็นคนฆ่า" โฮล์มส์กลับถามว่า "สถานที่แห่งนี้บอกอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง" เขาแยกส่วนสถานที่เกิดเหตุดูทีละส่วน ไม่ว่าจะเป็น พรม เก้าอี้ อาวุธที่ฆาตกรใช้ ซึ่งจะให้เบาะแสและเงื่่อนไขมา

ตรงกับสุภาษิตไทย "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม" การแยกส่วนงานหรือเป้าหมายให้มีความเล็กลงเพื่อสร้างความชัดเจน จะทำให้เราจัดการกับมันได้ง่ายขึ้น และไม่เกิดอาการ สติแตก จากความเครียดเสียก่อน เพราะธรรมชาติแล้วสิ่งเล็กๆน้อยๆ นั้นจัดการง่ายเสมอครับ


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘