ข้อดีของคนคิดน้อย คือ การได้ทำในสิ่งที่คนคิดมากทำไม่ได้

ในยุคต้นศตวรรษที่ 20 การปล้นธนาคารในสหรัฐจะใช้วิธีที่เรียบง่ายและซ้ำซากมาก โดยแค่เลือกธนาคารเป้าหมาย รอฟ้ามืดจากนั้นก็ระเบิดตู้นิรภัยทิ้งแล้วปล้นกันดื้อๆเลย ซึ่งนอกจากระเบิดมันจะไวต่อแสงแล้วยังทำให้เงินเสียหายอีกต่างหาก

วิธีการทื่อๆ แบบนี้ใช้ได้ผลอยู่พักหนึ่งเท่านั้น แต่พอถึงต้นศตวรรษที่ 1920 ธนาคารทั้งหลายก็ไม่ยอมนิ่งเฉยอีกต่อไป พวกเขาตอบโต้ด้วยการติดตั้งระบบเตือนภัยพร้อมด้วยตู้นิรภัยเสริมคอนกรีตที่ ทนทานต่อแรงระเบิด

เหล่าแก๊งโจรซ่าเข้าตาจน ส่วนบรรดาผู้บริหารธนาคารก็วางใจว่ายุคแห่งความมั่นคงปลอดภัยได้กลับมาแล้ว

แต่เรื่องราวไม่ง่ายอย่างงั้น นับวันโจรปล้นธนาคารรุ่นใหม่กลับมีฝีไม้ลายมือที่สูงขึ้น อุกอาจถึงขั้นลงมือปล้นตอนกลางวันแสกๆ และทำงานอย่างเป็นระบบจนแม้แต่ตำรวจเองยังอดชื่นชมไม่ได้ พวกโจรมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมาก ในวันที่ 19 ธค. 1922 ความสามารถดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ ณ ใจกลางเมืองเดนเวอร์ โจรกลุ่มหนึ่งปล้นเงินจำนวน 200,000 ดอลลาห์จากสำนักกษาปณ์กลางโดยใช้เวลาเพียง "90 วินาที" ถ้าคำนวณจากระยะเวลาที่ใช้แล้ว นับเป็นการโจรกรรมที่ได้เงินมากไปที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เลยที เดียว

คุณอยากรู้ไหมครับว่าโจรกลุ่มนี้ พวกเขามีเทคนิคพิเศษอะไร ?

นาย เฮอร์แมน "เดอะ บารอน" แลมบ์ อดีตนายทหารในกองทัพปรัสเซีย ผู้นำแก๊งหมู่โจรกลุ่มนี้บอกว่าเทคนิคของเขาคือ "คุณต้องมีแผนที่รัดกุม แม่นยำและจงฝึกฝนตลอดเวลา" เขาบอกว่าการปล้นธนาคารไม่ใช่เรื่องของความบ้าบิ่นและอาวุธที่พร้อมมือ แต่มันคือเทคนิคล้วนๆ

แลมบ์อาศัยความพร้อมนานหลายสัปดาห์ก่อนลงมือ โดยขั้นตอนสำคัญคือ "ดูลาดเลา" วิธีของเขาคือการเดินเข้าไปเยือนธนาคารเป้าหมาย ร่างแผนที่อย่างละเอียดและบางครั้งเขาก็ปลอมตัวเป็นนักข่าวมาเพื่อขอเข้าไป ดูการปฏิบัติงานภายใน เขามอบหน้าที่ให้กับสมาชิกแก๊งแต่ละคนอย่างชัดเจน ใครดูต้นทาง ใครคุมโถงหน้า ใครเปิดตู้นิรภัยและใครเป็นคนเตรียมรถรอหลบหนี พวกเขาจะซ้อมโดยจำลองสถานการณ์ในโกดังเก็บตัวของกลุ่ม และต้องลงมือโดยยึดมั่นเรื่องเวลาอย่างเคร่งครัด เทคนิคดังกล่าวได้ถูกขนานนามว่า "เทคนิคบารอน แลมบ์" เทคนิคนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม มันกอบโกยเงินให้บารอนไปหลายแสนดอลลาห์จากธนาคารทั่วประเทศก่อนที่เขาจะเสีย ชีวิต

ประเด็นที่ผมสงสัย คือ มันพิเศษ ตรงไหน? ...

ในความคิดของผมคือ "ความเรียบง่ายอย่างมีชั้นเชิง" จริงๆ ผมว่าความเรียบง่ายนั้นเป็นความเก๋าร่วมสมัย(คล้ายๆรองเท้า นันยาง ครับ เก๋ามาตั้งแต่รุ่นพ่อ 55+) สมัยนี้พวกเรามักมองหาความแปลกใหม่หรืออะไรก็ได้ที่ดูดีกว่า ยากกว่า ซับซ้อนมากกว่า เพียงเพื่อตอบสนองความรู้สึกที่ว่าตนเองเก่งและมีความรู้ โดยมองข้ามหลักความเป็นจริงที่ว่า "ความชำนาญ" สำคัญกว่า "ความเท่ห์"

หลายคนเข้าใจว่าชีวิตนั้นเป็นเรื่องยาก ทั้งที่จริงนั้นแสนง่าย ทุกอย่างมันดำเนินไปตามพื้นฐานของมัน คุณทำอะไร คุณก็ได้อย่างงั้น ทุกอย่างฝึกฝนกันได้และต่อให้วิธีคุณเลิศหรูหรือก๊อกแก๊กมากแค่ไหน สุดท้ายผลลัพธ์คือตัวชี้วัดความสำเร็จ

"ข้อดีของคนคิดน้อย คือ การได้ทำในสิ่งที่คนคิดมากทำไม่ได้"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘