หญ้าหวาน (stevia อาจเรียกว่า sweet leaf , sugar leaf )

หญ้าหวาน (stevia อาจเรียกว่า sweet leaf , sugar leaf ) มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni ซึ่งเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นพุ่ม มีกำเนิดแถบอเมริการใต้ ใบของต้นหญ้าหวานมีรสหวาน ใช้นำมาชงเป็นชา หรือใส่ในเครื่องดื่ม ให้ความหวานช้ากว่า แต่ทนกว่าความหวานจากน้ำตาลทราย ใบแห้งของต้นหญ้าหวาน มีสารสตีวิโอไซต์ (stevioside) ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก จึงใช้สกัดสตีวิโอไซด์ซึ่งใช้เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) ทดแทนน้ำตาล
 
          สเตวิโอไซด์ ประกอบด้วยสารให้ความหวานหลัก คือ สเตวิออล ไกลโคไซด์ (Steviol glycoside) โดยมีสารประกอบที่มากที่สุด คือ สเตวิโอไซด์ (Stevioside) รองลงมาคือ เรเบาดิโอไซด์ เอ (Rebaudioside A)
 
stevioside2.jpg
 
          สำหรับ สเตวิโอไซด์ เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งมีความหวานเท่ากับ 300 เท่าของน้ำตาลทราย ส่วน เรเบาดิโอไซด์ เอ มีความหวานมากกว่า คือหวานเป็น 450 เท่าของน้ำตาลทราย ทั้งส่วนใบและสารสกัดสเตวิโอไซด์ ทนความร้อนได้ดีถึง 200 องศาเซลเซียส จัดเป็นสารให้ความหวานซึ่งมีแคลอรี่ต่ำ
 
          จากการวิเคราะห์ พบว่าใบแห้งของต้น สตีเวีย ให้พลังงาน 2.7 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม โดยมีการใช้ สารให้ความหวานจาก สตีเวีย และสารสกัดจากใบในญี่ปุ่น เกาหลี จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในสหรัฐอเมริกาให้ใช้ผงแห้งจากใบและสารสกัดจากใบเป็นผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร (Dietary supplement) เท่านั้น แต่ไม่ได้ใช้เป็นสารให้ความหวาน
 
stevioside3.jpg
 
          สำหรับ เรเบาดิโอไซด์ เอ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) จัดให้มีสถานะเป็น แกรส (GRAS) คือใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่สเตวิออลไกลโคไซด์ยังไม่ได้การรับรองในยุโรป เนื่องจากความกังวลในเรื่องความปลอดภัย ทั้งนี้สเตวิออล ไกลโคไซด์ มีค่าชั่วคราวของปริมาณที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวัน เท่ากับ 0-4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่า กับสเตวิโอไซด์ 0-10 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หากไม่รับประทานในปริมาณสูงเกินไป ก็อาจจะยังพอจะจัดว่าสเตวิออลไกลโคไซด์ยังปลอดภัยอยู่
 
stevioside5.jpg
 
คุณสมบัติ
ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูงๆ
ไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์
ไม่ถูกดูดซึมในระบบการย่อย
ในในอุตสาหกรรม ทำหมากฝรั่ง ลูกกวาด เครื่องดื่ม ไอศกรีม แยม เยลลี่
มีข้อเสีย คือ รสชาติขมติดลิ้น
 
          ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 145 (พ.ศ.2535) กำหนดให้เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่ายในประเทศไทย ยกเว้นจะได้รับอนุญาติ และจดทะเบียนจากกระทรวงสาธารณสุข และผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศที่ยอมรับเท่านั้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘