พวกเรามารู้จักสัมปทานกันเถิด ภาคต่อ by void

ก่อนเราจะมา discuss ประเภทของสัมปทานที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน กระผมขออธิบายเกี่ยวกับวัฏจักรของโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure project life cycle)
โดยยกตัวอย่างทางด่วนสักเส้นละกัน
เมื่อรัฐบาลได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ(feastiblity) แล้วรัฐบาลจะจัดให้เกิดการประมูลงานก่อสร้าง โดยให้บริษัทรับเหมาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถยื่นซองเปิดประมูลราคา งานก่อสร้าง โดยรัฐบาลจะมีราคากลางของโครงการเพื่อตรวจสอบความสมเหตุและสมผลของราคาที่ ถูกยื่นเข้ามา หน่วยงานรัฐก็จะเลือกผู้รับเหมาที่ยื่นราคาถูกสุด แต่มีราคาสมเหตุสมผลไม่ต่ำจนผิดปกติเป็นผู้ชนะการประมูล เมื่อผู้รับเหมาเริ่มงานก่อสร้างสิทธิความเป็นเจ้าของต่างๆ เช่น ที่ดิน สิทธิการใช้ประปาและไฟฟ้าของที่ดินนั้นจะถูกโอนให้แก่ผู้รับเหมา เมื่อผู้รับเหมาทำงานแล้วเสร็จ สิทธิความเป็นเจ้าของจะถูกโอนกลับมาให้หน่วยงานรัฐที่มีความรับผิดชอบในส่วน นั้นดูแลมาดำเนินการใช้งาน แต่ถึงกระนั้นเพื่อลดงบประมาณค่าใช้จ่ายภาครัฐ หน่วยงานนั้นๆจะจัดประมูลเพื่อหาเอกชนมาดำเนินงานแทน(operate) แต่สำหรับทางด่วนแล้วจะต้องมีการซ่อมแซมบำรุง(maintenance)ด้วย เมื่อหมดอายุขัยการใช้งาน Infrastructure นั้นจะถูกขายเป็นค่าซาก(Salvage value) ก็จะเป็นการจบ life cycle ของมัน

หลังจากที่ผู้อ่านเข้าใจ life cycle แล้ว ผมจะอธิบายถึงประเภทของสัมปทานต่อ

1.สัญญาจ้าง(Service contract) สัญญาจ้างเป็นสัญญาสัมปทานที่ให้อิสระแก่เอกชนน้อยที่สุด โดยให้เอกชนทำการ operate ได้เท่านั่น

2.สัญญาบริหาร(Management contract) สัญญาบริหารเป็นสัญญาที่ให้อิสระแก่เอกชนเพิ่มขึ้นมามากกว่าสัญญาจ้าง โดยเอกชนจะต้องรับผิดชอบ operate&maintenance

3.สัญญาเช่า(Lease contract) สัญญาเช่านั้นก็ตรงตัวตามความหมายของมันคือให้เช่นเป็นระยะเวลากี่ปีก็ว่า กันไป เอกชนจะมีอิสระมากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือสามารถก่อสร้างหรือดัดแปลงเพิ่มในที่ดินที่ถือครองอยู่จนกระทั่งหมด สัญญา ยกตัวอย่างที่คล้ายๆคือ สนามแข่งม้าที่ให้อังกฤษเช่า สัญญาระหว่างอุเทนถวายกับจุฬา เป็นต้น

4.BTO(Build-Tranfer-Operate) ตัวอย่างใน life cycle อย่างทางด่วนถูกจัดเป็นประเภท BTO เนื่องจากหลังสร้างเสร็จจะทำการโอนกรรมสิทธิให้กับหน่วยงานรัฐทันทีและให้ หน่วยงานรัฐเป็นผู้หาคน operate ใหม่

5.BOT(Build-Operate-Tranfer) เป็นอีกหนึ่งประเภทสัมปทานที่คล้ายคลึงกับ BTO เพียงแต่หลังจากสร้างเสร็จจะให้เอกชนนั้นมีสิทธิ operate&maintenance ก่อน เมื่อหมดสัญญาจะทำการโอนสิทธิกลับมาเป็นของรัฐ ในเมืองไทยไม่ค่อยมีประเภทนี้เนื่องจากติดข้อบังคับกฎหมายบางตัว แต่ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดสุด คือ เขื่อนแม่น้ำงึมของช.การช่างที่ทำที่ประเทศลาว

6.BOO(Build-Own-Operate) สัมปทานประเภทนี้จะให้อิสระแก่เอกชนมากที่สุด โดยมีขั้นตอนคือ เอกชนจะต้องสร้างเอง บริหารเองและซ่อมแซมเองโดยไม่มีอายุของสัญญาเพียงแต่จะต้องทำตามนโยบายรัฐ เช่น โรงไฟฟ้าเอกชนต่างๆโดยพวกเขาจะสร้างโรงไฟฟ้าเอง ผลิตไฟฟ้าเอง ซ่อมแซมเอง แต่พวกเขาจะโดนบังคับให้ขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ราย เดียวเท่านั้นตามข้อบังคับของรัฐ โดยเอกชนไม่สามารถขึ้นค่าไฟตามใจตัวเองได้ และยังมีสัมปทานที่ยังอยู่ในสัมประทาน BOO อีกหลายตัว เช่น True DTAC AIS เป็นต้น

ท้ายที่สุดผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านตระหนักถึงความสำคัญด้านนึงของการเมือง และเศรษฐกิจ เราเคยมีบทเรียนที่บริษัทต่างชาติรับสัมปทานและเรารู้ไม่เท่าทันทำให้เร่สูญ เสียทรัพยากรมหาศาลเฉกเช่น ป่าไม้ และแร่ดีบุกในไทย การปกป้องสิทธิและประโยชน์เป็นเรื่องของเราทุกคนในชาติ หาใช่หน้าที่คนใดคนหนึ่ง by Void

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘