รอให้หุ้นตกเยอะๆก่อนแล้วค่อยซื้อดีไหม?

หลักการออมหุ้นของผมคือเราจะต้องโตไปกับกิจการท่ีดี มีการเติบโตในการทำกำไรเสมอและมีความได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่ง ผมจะต้องย้ำแบบนี้เสมอเพราะกิจการบางอย่างโตจริงแต่ไม่ได้มีความได้เปรียบ เหนือคู่แข่ง ซึ่งคุณต้องไปดูในแง่ของตลาดและการแข่งขันตรงนั้นด้วยว่าเป็นอย่างไร มันเป็นธุรกิจผูกขาด ผู้ค้าน้อยรายที่มีเจ้าใหญ่ๆไม่กี่เจ้า เป็นแบบกึ่งผูกขาดที่ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะเปลี่ยนแบรนด์ไปอย่างง่ายๆ หรือเป็นสินค้าบริการแบบหาซื้อที่ไหนก็ได้ ซึ่งในเบื้องต้นก็จะพอสามารถวิเคราะห์ธรรมชาติของธุรกิจและจุดแข็งจุดอ่อน

ทีนี้กลับมาสู่คำถามที่ว่า ควรรอซื้อหุ้นตอนราคาตกเยอะๆไหม? ดูเผินๆแล้วการรอราคาตกเยอะๆมันอาจจะทำให้เราได้ราคาถูกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่คุณต้องอย่าลืมว่า
“ธุรกิจย่อมมีการเติบโตตามและราคาหุ้นขึ้นลงรอบๆพื้นฐานที่เปลี่ยนไป”

ความหมายของผมคือ ราคาหุ้นจะมีความผันผวนและเติบโตไปตามพื้นฐานของหุ้นพร้อมๆกัน หลกคุณเริ่มลงทุนตอนที่ธุรกิจมีการดำเนินงานด้วยร้านค้า 10 สาขา และมันเติบโตขึ้นเป็น 100 สาขา พอเกิดวิกฤตภายนอกที่กระทบปัจจัยทางการลงทุนขึ้นมา มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไปซื้อหุ้นในราคาเดิมตั้งแต่สมัยที่มีการประกอบ กิจการเพียง 10 สาขาได้หรอก ยกเว้นมันจะมีปัจจัยภายในที่สั่นสะเทือนธุรกิจ เช่น ขาดทุน เจ๊ง และต้องขายกิจการทิ้ง แน่นอนว่ามันจะกลับมาราคาเดิมได้ แต่นั่นจะไม่มีนักลงทุน DCA ถือหุ้นดังกล่าวต่อไปเช่นกัน

การลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแล้วเรารอคอยหาจุดซื้อนั้น มันจะเป็นเรื่องดีในระยะสั้น เพราะจะได้ต้นทุนถูกกว่าคนอื่นแต่ระยะยาวเมื่อหุ้นเติบโตไปแล้วคุณจะตกรถ ทันทีและไม่มีวันกลับมาซื้อในราคาเดิมได้

ใช่ครับผมกล้ายกตัวอย่างหุ้น BGH ที่ผมซื้อครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อนที่เราคา 16-17 บาท คุณเห็นไหมว่าราคามันตกจาก 170 บาทมาอยู่ที่ 110-120 บาทเท่านั้นเพราะธุรกิจมันโตไปอยู่ในพื้นฐานใหม่แล้ว ถ้าคุณเก็บเงินมาหลายปีที่แล้วเพื่อรอซื้อในวันที่หุ้นตกเยอะๆ คุณจะไม่ได้ต้นทุนเท่าคนที่ลงทุนมาก่อนหน้าหรอก สิ่งที่คุณได้มากกว่าเขาคือดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์

อีกทั้งการออมหุ้นด้วยการรอหุ้นตกต่ำๆนั้นทำได้ยาก มันไม่ได้มีกรอบการลงทุนที่ชัดเจนในทางปฏิบัติและคุณต้องยอมรับว่า มันมีโอกาสน้อยมากที่คุณจะได้ราคาต่ำที่สุดในวิกฤตแต่ละครั้งเพราะความ ผันผวนมันจะบังตา เราอาจจะคิดว่าเราซื้อถูกแล้ว แต่มันอาจจะมีถูกกว่าและมันคงน่าเสียดายมากถ้าคุณทุ่มเงิน 100% ลงไป ในขณะที่หุ้นยังปรับตัวลงได้อีกตามความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ของการลงทุน ณ เวลานั้น ในทางกลับกัน วิธีการนี้จะใช้อย่างไรในเศรษฐกิจขาขึ้นเมื่อมันไม่มีจังหว่ะให้คุณได้ออมใน ราคาต่ำ?
การออมสำหรับผมคือการนำเงินเข้าไปใส่ลงกระปุกเรื่อยๆ ถ้าเราจะสร้างแบบแผนใหิชัดเจนการออมก็สามารถทำได้โดยการเก็บเป็นรายเดือน ส่วนการออมหุ้นคือการนำเงินมาลงทุนในหุ้นเรื่อยๆโดยไม่ต้องสนใจอารมณ์ของ การออม เพียงแค่เราทำตามวินัย เพราะสุดท้ายแล้วการออมในแต่ละครั้งภายใต้ความผันผวนในหุ้นเฉลี่ยต้นทุนกัน ไป และคุณต้องมั่นใจว่าคุณเลือกหุ้นได้ดีแล้ว มันจะเติบโตในท้ายสุด

ผมขอยกภาพตัวอย่าง การลงทุนในช่วง Crisis กับ การลงทุนแบบ DCA ถ้ามาเปรียบเทียบกันแล้วจะพบบางอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งผมเอา Case ที่เกิดขึ้นจริง ใช้ราคาย้อนหลังอ้างอิงจากโปรแกรม DCA ของเวปหุ้นปันผล ที่มีการนำหุ้นทุกวันที่ 5 มาทำค่าเฉลี่ยย้อนหลัง Case Study นี้ใช้ หุ้น CPN เป็นกรณีศึกษาครับ จะเห็นได้ว่าหากเป็นหุ้น Growth ในลักษณะนี้ ราคาเฉลี่ย DCA (สีแดง) จะวิ่งหนีออกจากราคาต่ำสุดของการเกิดวิกฤติแต่ละครั้ง ซึ่งถ้า คน 2 คนนำเงินลงทุนเท่ากันมาลงทุน

คนที่ 1 รอคอยวิกฤติจะต้องรอโดยไม่รู้จะรอเมื่อไหร่และยิ่งรอยาวไปการเกิดวิกฤติจะทำ ให้เขาเสียโอกาส (Opportunity Loss) ในการสร้างผลกำไร ทั้ง Capital Gain และ เงินปันผล สิ่งที่เขาจะได้รับคือดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร และแน่นอนครับ ณ เวลานั้นถ้าเขาเห็นหุ้นตกเยอะๆ เขาจะกล้าซื้อหรือเปล่า? ลงแล้วกลัวลงอีก การได้ราคาต่ำสุดอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

คนที่ 2 ลงทุนแบบ DCA ต้นทุนต่ำกว่าวิกฤติ เพราะบางครั้งเมื่อหุ้นมันโตไปแล้วก็เกิด Margin of Safety นอกจากนี้แล้วในการลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุน สามารถสะสมเงินปันผลได้และนำมาลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง ราคาต้นทุนของคนที่ลงทุนใน DCA นั้นยิ่งระยะยาวมากขึ้นไปเรื่อยๆ หุ้นยิ่งเติบโตและเมื่อพื้นฐานการทำกำไรในอัตราที่มีอยู่เรื่อยๆ วิกฤตครั้งต่อๆไปก็ไม่สามารถทำให้ราคาซื้อขายหุ้นต่ำลงมาเทียบกับอดีตที่ ระยะยาวได้เช่นกัน

และแน่นอนว่าในสถานะการณ์จริงการได้หุ้นในราคาต่ำที่สุดย่อมเป็นไปไม่ได้ Opportunity Loss จะมีความกว้างกว่านี้ และถ้าแย่ไปกว่านี้ไม่ได้มีการลงทุนในวิกฤติดังกล่าวก็จะสูญเสียโอกาสยิ่ง กว่าเมื่อเวลาผ่านไป เรื่องการเปรียบเทียบการลงทุนนั้น อยู่ที่ Time Frame ด้วยครับ กรณีนี้เป็นภาพใหญ่หลายปี ย่อมเห็นความแตกต่าง แต่ถ้า Time Frame เล็กๆ ก็ย่อมที่จะเกิดผลไม่ต่างกันมากและการสูญเสียโอกาสก็น้อยกว่า แน่นอนครับว่าถ้าคุณมาลงทุนปุํปแล้วอีก 1 ปี เกิดวิกฤต ย่อมทำให้คนที่รอวิกฤตมีโอกาสได้ราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าคุณได้ แต่ถ้าคุณถือหุ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 10-20 ปี หุ้นมีการเติบโตแล้ว วิกฤตไม่สามารถกดดันมาถึงราคาทุนที่คุณถือได้แน่นอนครับ ยกเว้นธุรกิจคุณเตรียมเจ๊ง ซึ่งคุณก็จะไม่ถือต่ออยู่ดี ก็อยู่ที่การมองพื้นฐานของหุ้นด้วย

ออมหุ้นแบบ DCA เชื่อผมเถอะครับ ทำได้ไม่ยาก ไม่ต้องคิดอะไรมาก ออมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวคุณจะพบเงินล้านเอง มันไม่ยากเลย
การลงทุนนั้นง่ายมากหากคุณจะทำให้ง่าย และมันจะยากมากถ้าคุณทำให้มันยากเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘