" วัฒนธรรมชาวพุทธ " หลักการพัฒนาวิถีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ในพระพุทธศาสนา



มีปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า "การปลูกฝังคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความเคารพ ความกตัญญู เป็นต้น ให้มั่นคงได้นั้น ต้องฝึกวัฒนธรรมชาวพุทธด้วย ถ้าไม่มีวัฒนธรรมรองรับจะเปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีแก่นแข็งแกร่ง แต่ไม่มีเปลือกหรือกระพี้ห่อหุ้ม จึงไม่สามารถดูดน้ำเลี้ยงขึ้นมาเลี้ยงต้นต่อไปได้ ในที่สุดก็ตาย" ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมชาวพุทธนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ชาวพุทธต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

แต่เดิมมาคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตส่วนใหญ่จะข้องเกี่ยวอยู่กับพระพุทธศาสนา ดังนั้นคนไทยในอดีตส่วนใหญ่จึงได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามจากพระพุทธ ศาสนามาอย่างไม่รู้ตัวจนก่อเกิดเป็นนิสัยติดตัวมา เช่น ความเคารพต่อพระสงฆ์ ต่อผู้ใหญ่ การกราบ การไหว้เป็นต้น ล้วนเป็นนิสัยที่ได้รับการขัดเกลามาจากพระพุทธศาสนาเมื่อเป็นเช่นนี้คนไทยใน อดีตจึงรักในการศึกษาธรรมะและนำมาปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันจนเกิดเป็น นิสัยติดตัวมา ทำให้คนไทยในอดีตอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แต่เมื่อมองในปัจจุบัน คนไทยรุ่นหลังไม่ค่อยได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงเป็นสาเหตุให้คนไทยรุ่นหลังขาดคุณธรรม ด้วยเหตุนี้การสอนหรือการอบรมธรรมะจึงเริ่มยากขึ้นเป็นเงาตามตัว

เมื่อ การศึกษาธรรมะยากขึ้น คุณธรรมหรือนิสัยดี ๆ จึงเกิดขึ้นยาก ดังนั้น การศึกษาวิชาวัฒนธรรมชาวพุทธจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ และศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยนักศึกษาจะได้รับประโยชน์ 2ส่วนหลักๆ คือส่วนแรก เป็นการตอกย้ำความเข้าใจสำหรับผู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว เป็นความรู้ใหม่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาส่วนที่สองเป็นประโยชน์อันจะเกิด ขึ้นกับผู้ที่ตามมาในภายหลัง เมื่อนักศึกษาเข้าใจและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นนิสัยที่ดีติดตัวแล้ว จะได้นำสิ่งเหล่านั้นถ่ายทอดไปยังชนรุ่นหลัง อาจจะเป็นลูกหลาน หรือหากใครเป็นครูอาจารย์ก็สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปสั่งสอนให้ลูกศิษย์ใน ความดูแลปฏิบัติได้เมื่อเป็นเช่นนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นยอดกัลยาณมิตรตาม หน้าที่หลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘