ริจะเป็นเทรดเดอร์ ต้องมองอย่างเป็นกลาง

อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้นักเก็งกำไรไม่ประสบความสำเร็จในการเทรดก็คือ ขาดความเป็นกลางในการมองภาพตลาด หรือมองภาพหุ้น

หากเป็นหุ้นที่ซื้อไปแล้ว แล้วพยายามเชียร์ พยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการปรับตัวขึ้นอย่างเดียวโดยไม่ยอมเฉลียวใจมองหา ข้อโต้แย้งดูบ้าง ใจเราก็จะเชื่อไปแล้วว่า ข้างที่ตัวเองเลือก (ผมหมายถึงหุ้นนะ) นั้นต้องถูก และพร้อมจะเชียร์อย่างปิดหูปิดตา

เมื่อเราเลือกเสพข่าวข้างเดียวไปนาน รับรู้แต่ข้อดีของหุ้นตัวนั้นไปนานๆ ใจเราจะยอมรับและเชื่อไปแล้วโดยปริยายว่า หุ้นตัวนี้ มันดีจริงๆนะ ยังไงก็ไม่มีทางจะหัวคว่ำลงมาแน่นอน

ในขณะที่อีกฝ่าย มองว่า การเมืองไม่น่าจบสวย งบไตรมาส 1 น่าจะออกมาห่วย ที่ระดับ PE 15x ยังไงก็ไม่น่าจะยืนอยู่ ระดับของปู่เซตที่เหมาะสมคือ ต่ำกว่า 1,200 จุด ลงมา หรือต่ำกว่า 1,100 จุดลงมายิ่งดี พวกนี้ก็ไม่สนใจ หุ้นขึ้นไปยังไงก็บอกว่า เด๋วก็ลง

ทั้ง 2 กรณีที่ยกตัวอย่าง นี่คือการขาดความเป็นกลางในการมองครับ

วิธีมองอย่างเป็นกลาง ต้องทำอย่างไร?
- หุ้น ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยเหตุผลแบบที่คุณพบเจอมาในมุมเดียว เบื้องหลังการซื้อขายของนักลงทุนแต่นะคน ก็มีเหตุผลที่ต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่เราคิด อาจจะผิดก็ได้
- ลองมองตลาดหุ้นในมุมของนักลงทุนแบบอื่นๆดู สมมติว่าบริหารพอร์ตกองทุนหลักหมื่นล้าน เราจะทำยังไงในตลาดขาลง ฯลฯ การยกตัวอย่างแบบนี้ จะทำให้เราเข้าใจผู้เล่นคนอื่นมากขึ้น
- ผิด ก็แค่เริ่มต้นใหม่ ความผิดพลาดในตลาดหุ้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย (แต่ก็อย่าประจานตัวเองบ่อยไป เด๋วหมดกำลังใจเปล่าๆ) ฉะนั้น ยอมรับซะ

ภาพประกอบด้านล่าง แสดงให้เห็นว่า มองในมุมคนอื่น เหตุผล และภาพในจินตนาการของแต่ละคนก็ต่างกัน เด็กอาจสนุก แม่อาจกลัวลูกเป็นอันตราย เราอาจมองว่า ทำไมพ่อมาเล่นกลางถนน

เมื่อมองเห็นความแตกต่างด้านความคิด เราจะยอมรับและไม่ปฎิเสธมัน ใจเราก็เปิดหูเปิดตา เห็นโลกในมุมที่กว้างขึ้น มองอย่างเป็นกลางมากขึ้น

แค่นี้ แบบเรียนของการจะเป็นเทรดเดอร์ ก็สำเร็จไปเกิน 50% แล้วครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘