รวยด้วยแนวคิด "จิ๋วคูณสอง"

ถามกันแบบตรงๆ ภาษานักเลง (หุ้น) กันเลยดีกว่าว่า ถ้าจะบริหารให้บริษัทใหญ่ยักษ์อย่าง ปตท. หรือ ปูนซิเมนต์ไทยมียอดขาย (และกำไร) เพิ่มขึ้นสองเท่า กับร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ของนายมือเก่าหัดขับให้มียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นสามเท่า อะไรยากกว่ากัน บริษัทใหญ่ยักษ์ที่ปัจจุบันมียอดขายครอบคลุมมหาศาลเกือบทั้งประเทศอยู่แล้ว การจะขยายยอดขายออกไปอีก (โดยต้องเพิ่มขึ้นเท่าเดิมด้วย) จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ที่สำคัญคือต้องการลูกค้าจำนวนมหาศาลด้วย ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่เหมือนกับ "ร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ของนายมือเก่าหัดขับ" ที่ปัจจุบันเล็กจิ๋วนิดเดียว แค่ขยายสาขาไปอีกสองสาขาก็ได้ยอดขายเป็นสามเท่าตัวแล้ว พอเห็นภาพไหมครับ?

จิ๋วคูณสองคืออะไร

จิ๋ว คูณสอง ก็ได้แนวคิดมาจากร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ของนายมือเก่าหัดขับนั่นเอง โดยการหาบริษัทขนาดเล็กที่ยังมียอดขายต่ำเพียงแต่เอาตัวรอดได้ แต่มีศักยภาพในการเติบโตแล้วซื้อหุ้นบริษัทเหล่านั้นเพื่อการลงทุน เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ยอดขายเพิ่ม กำไรเพิ่ม หุ้นก็พุ่งไปเองแบบหยุดไม่อยู่ล่ะครับ

ลักษณะบริษัทจิ๋วที่น่าสนใจ 

บริษัท จิ๋วที่เราสนใจต้องมีโครงสร้างที่ดี มีธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน มีธุรกิจที่เป็นแกนกลางที่ทำกำไรได้ดี (อัตรากำไรขั้นต้นดี) มีแนวโน้มตลาดที่ดี คือตลาดสำหรับสินค้า/บริการของบริษัทจิ๋วยังเติบโตได้อีก ที่สำคัญคือ ผู้บริหารควรจะมีศักยภาพหรือแนวคิดในการ:

  • ขยายสาขา
  • ออกผลิตภัณฑ์ใหม่
  • เพิ่มยอดขาย
  • เพิ่มผลผลิต

ถ้า ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างบนถูกเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าตัว กำไรของบริษัทก็น่าจะมากขึ้นสองเท่าด้วย และถ้าบริษัททำกำไรได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ก็จะกลายเป็นบริษัท จิ๋วคูณสอง  ราคาหุ้นก็เพิ่มขึ้นสองเท่าได้แล้ว จะได้ผลตอบแทนที่ดีมาก

null
 
บริษัทที่ สาขาเพื่มสองเท่า ลูกค้าเพิ่มสองเท่า ยอดขายเพิ่มสองเท่า
ค่าใช้จ่ายคงตัวอาจเพิ่มเล็กน้อย ค่าใช้จ่ายแปรผันเพิ่มประมาณสองเท่า
กำไรจะเพิ่มประมาณสองเท่า และราคาหุ้นก็ควรจะเพิ่มขึ้นสองเท่าด้วย

ซื้อหุ้นของบริษัทที่น่าสนใจได้เลยหรือไม่

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อเราพบบริษัทที่มีศักยภาพแล้ว เราควรพิจารณาดูราคาของหุ้นนั้นด้วย (เทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยก็ดี) ว่าราคาไม่แพงเกินไป  คือราคาที่เราซื้อมาเมื่อตอนเริ่มต้นนั้นมีค่า P/E ระดับใด (ถ้าไม่เกิน 10-12 เมื่อเริ่มลงทุนถือว่าไม่แพง) และต้องสามารถตอบคำถามในใจเราเองได้ว่าบริษัทจะสามารถขยาย สาขา ผลิตภัณฑ์ ยอดขาย กำลังการผลิต ได้ภายในเวลาเท่าใดด้วย (ขึ้นกับผู้บริหารเป็นหลัก รองลงมาคือสภาพตลาด เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมนั้น) จากนั้นก็ต้องเฝ้าติดตามการเติบโตของบริษัทต่อไป และถือหุ้นไว้ตราบเท่าที่ยังเติบโตอยู่ (หรือ มีการลงทุนอื่นที่เห็นได้ชัดว่าดีกว่าและมีความเสี่ยงต่ำกว่า)

หมายเหตุ

นาน มาแล้วผมเคยมีร้านก๋วยเตี๋ยวจริงๆ เป็นกิจการเล็กที่ทำแล้วได้กำไร เพียงแต่มีงานประจำที่ต้องไปดูแลสุดท้ายจึงต้องเลิกไป การทำกิจการกับมือทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย การไหลเวียนของเงิน การผลิต การขาย และอื่นๆ ที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนไม่มากก็น้อยในวันนี้ ถ้าเพื่อนๆ มีโอกาสก็ลองทำกิจการเล็กๆ น้อยๆ หรือใหญ่ตามกำลังความสามารถ จะเป็นการเกื้อหนุนกันและกันกับการลงทุนครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘