มหาเศรษฐีเจ้าของยูนิโคล ติดร่างแหปานามา เปเปอร์ส

เป็นข่าวครึกโครมมาสักพักกับปานามา เปเปอร์ส หรือเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลด้านการเงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติ ศาสตร์ ข้อมูลเหล่านี้ได้จากเอกสารมากกว่า11ล้านชิ้นของบริษัทที่ปรึกษากฎหมายการ เงินแห่งหนึ่งในปานามา (เป็นที่มาของชื่อปานามา เปเปอร์ส) ซึ่งรับหน้าที่ดูแลการจัดตั้งบริษัทในต่างแดนของเหล่าบริษัทข้ามชาติหลาย แห่งทั่วโลก แรงสั่นสะเทือนจากการรั่วไหลครั้งนี้เรียกได้ว่าเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว เพราะปรากฏชื่อนักธุรกิจชั้นนำของโลก รวมไปถึงนักการเมืองระดับประเทศ นักกีฬาและนักแสดงชื่อดังฯลฯ การมีชื่อปรากฏอยู่บนปานามา เปเปอร์ส อาจหมายถึงความสุ่มเสี่ยงที่จะมีเอี่ยวธุรกรรมผิดกฎหมาย เช่นการฟอกเงิน หลบเลี่ยงภาษี การซ่อนทรัพย์ ฯลฯ แน่นอนว่า ในญี่ปุ่นมีการตีแผ่รายชื่อนักธุรกิจญี่ปุ่นผู้มีชื่อปรากฏอยู่บนปานามา เปเปอร์สอย่างถึงพริกถึงขิงในแวดวงออนไลน์ และหนึ่งในชื่อที่สะดุดตาสะดุดใจคนทั่วไปมากที่สุด ก็คือทะดะชิ ยะไน เจ้าของยูนิโคล และผู้ครองบัลลังก์เศรษฐีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น
uni-5

เปิดปมยูนิโคล

uni-1
ด้วยทรัพย์สินกว่าหนึ่งหมื่นสี่พันล้านดอลล่าร์ ทำให้ยะไนครองอันดับ 1 ผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในญี่ปุ่นถึงสองปีซ้อน และเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 57 ของโลก แม้ในปี 2015 กำไรของยูนิโคลจะหดหายลงไปถึง7พันล้านเยน แต่นั่นก็ไม่ทำให้อันดับทรัพย์สินของยะไนสะเทือน ด้วยวิสัยทัศน์แนวกล้าได้กล้าเสียและความคิดสร้างสรรค์เต็มเปี่ยม ยะไนถีบตัวขึ้นมาจากการเป็นเจ้าของบริษัทเสื้อผ้าเล็กๆในจ.ยามะกุจิ จนกลายเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นและมีเป้าหมายจะก้าวสู่การเป็นแบรนด์ เสื้อผ้าอันดับหนึ่งของโลกในปี 2020 ด้วยคอนเซปต์การไล่ตามแฟชั่นที่มาเร็วไปเร็วอย่างกระชั้นกระชิด เสื้อผ้าที่ค่อนข้างมีคุณภาพเมื่อเทียบกับราคา และดีไซน์ที่ถูกอกถูกใจตลาดแมส ยูนิโคลจึงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมีคนกล่าวว่า ในหนึ่งอาทิตย์จะมีร้านยูนิโคลเปิดใหม่ที่ใดที่หนึ่งในโลกเสมอ
Fast Retailing Co. Chairman Tadashi Yanai Attends HDR News Conference
เมื่อคราวที่ยูนิโคลตัดสินใจโกอินเตอร์ ได้รีแบรนด์และจัดตั้งบริษัทแม่ชื่อว่า Fast Retailing Co., Ltd. และชื่อของบริษัทนี้นี่เองที่ปรากฏอยู่บนปานามา เปเปอร์ส ร่วมกับบริษัทชั้นนำอื่นๆของญี่ปุ่น เช่น บริษัทผู้ผลิตเกมและของเล่นชื่อบันได มิตซูบิชิสุมิโตโมะ บริษัทออนไลน์ช็อปปิ้งรัคคุเท็ง เป็นต้น การที่ปานามา เปเปอร์ส อาจมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการเลี่ยงภาษี ยิ่งประกอบกับข่าวยอดขายยูนิโคลที่ตกต่ำ ยิ่งทำให้แวดวงชาวเน็ตของญี่ปุ่นลุกเป็นไฟ ที่น่าแปลกก็คือ สื่อสำนักใหญ่ๆกลับเลี่ยงที่จะเปิดปมและขุดคุ้ยออกมาเหมือนตั้งใจจะกลบให้ เรื่องเงียบและมีผลกระทบน้อยที่สุด

ทำไมปานามา เปเปอร์สถึงสำคัญ?

uni-7
ใครๆก็อยากได้เงิน ไม่ว่าจะคนรวยคนจน การมีเงินเพิ่มในมือหลายเป็นเรื่องที่ดำรงไว้ซึ่งลมหายใจของเราไปแล้ว ไม่เพียงในระดับคนทั่วไป แต่ในระดับประเทศ รวมทั้งบริษัทข้ามชาติทั้งหลายต่างก็ต้องการการหมุนเวียนของกระแสเงินสดให้ เข้ามาในมือ ใครมีเงินมากโอกาสก็มาก และอำนาจก็มากตามไปด้วย ดังนั้นในประเทศที่ด้อยพัฒนา ไม่มีเจ้าสัวรายใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตในวงการอุตสาหกรรม การเมืองไม่มีเสถียรภาพและเต็มไปด้วยนักการเมืองคอร์รัปชั่น รวมถึงประเทศที่มีขนาดเล็ก ไม่มีทรัพยากรมากพอจะเป็นผู้ผลิต จึงดิ้นรนอย่างมากที่จะหาวิธีดูดเม็ดเงินเข้าประเทศ และหนึ่งในวิธีที่ว่าก็คือการออกกฎหมายกำหนดอัตราภาษีที่ต่ำมาก ต่ำกว่าประเทศที่เป็นยักษ์ใหญ่ในวงจรอุตสาหกรรม รวมถึงการละเว้นภาษีเมื่อบริษัทต่างชาติจะมาลงทุน จึงทำให้ประเทศเหล่านั้นกลายเป็นแหล่งลงทุนและเป็นคลังสินค้า รวมไปถึงมีบริการทางการเงินพร้อมสรรพสำหรับผู้ผลิตที่สนใจนำเงินมาลงทุน ประเทศที่มีชื่อเสียงด้านวิธีการเช่นนี้ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ปานามา ซาเมา รวมถึงประเทศเล็กๆอย่างบริติช เวอจิ้น ไอส์แลนด์ และเคย์แมน ไอส์แลนด์ ที่ปรากฏว่ามีนักลงทุนและบริษัทไทยหลายรายเอาเงินไปทำธุรกรรมติดอันดับต้นๆ
uni-4
ในหลายกรณี การที่อัตราภาษีนั้นต่ำกว่าในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศของผู้ผลิต จึงทำให้มีการจัดตั้งบริษัทสาขาย่อยในประเทศนั้นๆ เพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง นั่นก็คือ การโยกย้ายบัญชีรายได้ และคิดภาษีโดยบวกรวมบริษัทแม่ไปด้วย และกลายเป็นว่าสามารถเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ เป็นต้นว่า หากตั้งบริษัทลูกในสิงคโปร์ จะเสียภาษีนิติบุคคลเพียง 17% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าอัตราภาษีนิติบุคคลพื้นฐานในญี่ปุ่นคือ 20% จึงมีการโยกรวมบัญชีของบริษัทแม่กับบริษัทสาขาย่อยไว้ด้วยกันเพื่อจะเสีย ภาษีเพียง 17% เป็นต้น เรียกว่าวิน-วิน กันทั้งฝ่ายที่รับเงินลงทุน และฝ่ายผู้ผลิตที่เสียภาษีน้อยลง ได้กำไรเพิ่มขึ้น วงการสื่อจึงเรียกประเทศที่หารายได้ด้วยวิธีนี้ว่า Tax Havens หรือสถานหลบเลี่ยงภาษี นั่นเอง
แน่นอนว่าธุรกรรมเช่นนี้หมิ่นเหม่กฎหมายเหลือเกิน แต่ส่วนมากแล้วมักมีการศึกษากฎหมายการเงินเป็นอย่างดี เพื่อระแวดระวังว่าธุรกรรมแบบไหน “ล้ำเส้น” จนกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย อาจกล่าวได้ว่าการลงทุนหรือจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศเหล่านี้เป็นเรื่อง “เทาๆ” นั่นคือไม่ผิดกฎหมายแต่อาจผิดจริยธรรม เสี่ยงต่อแนวโน้มที่จะเกิดการฟอกเงิน การคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี และการซุกซ่อนทรัพย์เพื่อนำมาค้าขายอาวุธและซ่องสุมกองกำลังก่อการร้าย ญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่เจริญด้วยอุตสาหกรรม และเป็นผู้ผลิตอันดับต้นๆของโลก จึงได้รับผลกระทบเต็มๆเพราะสูญเสียภาษีที่ควรเก็บได้จากบริษัทต่างๆไป มากกว่า54ล้านล้านเยน (ในปี2014)  อาจกล่าวได้ว่า ความสำคัญของปานามา เปเปอร์สก็คือ การโต้กลับของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ (ในที่นี้คือเยอรมนี) ด้วยการเปิดโปงและเรียกร้องให้สังคมได้เห็นว่า เศรษฐีรายใหญ่ของโลกหลายรายนั้นก็ไม่ต่างกับโจร จึงรวยเอาๆจนเกิดช่องว่างทางสังคม
uni-6

บทสรุปที่ไร้ซึ่งบทสรุป

เนื่องจากไม่มีสำนักข่าวไหนลงมาลุยเรื่องของความเกี่ยวข้องระหว่างยะไน และปานามา เปเปอร์ส จึงยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีการเลี่ยงภาษีหรือทุจริตทางธุรกรรมหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ชื่อของยะไนบนปานามา เปเปอร์ส รวมถึงชื่อนักธุรกิจรายใหญ่อื่นๆ สร้างความไม่พอใจที่ขยายวงลุกลามเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะความจริงที่ว่า อีกไม่นานรัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิม 8% เป็น 10% และมีแนวโน้มว่าจะขึ้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล จึงสรุปได้ว่าในขณะที่คนทั่วไปถูกสูบภาษีมากขึ้นๆ และถูกเก็บอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่มหาเศรษฐีทั้งหลายในญี่ปุ่นต่างพากันหาวิธีหลบเลี่ยงภาษีและเป็นเหตุให้ ประเทศขาดรายได้ที่จะนำมาพัฒนาสวัสดิการต่างๆของคนในสังคม มากกว่าความชอบธรรมทางกฎหมาย แต่นี่คืออีกวิกฤติทางจริยธรรมในยุคสมัยแห่งการดิ้นรนเอาตัวรอดของนายทุน
ที่มา forbes telegraph golden-tamatama hochi

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘