เผย!! หลัก "จิตวิทยา" การสร้างวัดพระธรรมกาย




หลวงพ่อถูกถามบ่อย ๆ ช่วงนี้ว่า "วัดพระธรรมกายมีจิตวิทยาการสร้างทีมสมาชิกของวัดและสาธุชนอย่างไร?"
หลวงพ่อจึงรวบรวมการตอบคำถามทั้งหมดมาสรุปไว้ในโอกาสนี้
1. ความหมายของจิตวิทยา 
คำว่า "จิตวิทยาการสอน" คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็น "มุขเด็ด" หรือ " ลูกเล่น " ที่ทำให้เกิดความน่าสนใจในการเรียนการสอน แต่ในทางปฏิบัติอันลึกซึ่งในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง "การรื้อสัตว์ขนสัตว์ข้ามวัฏสงสารไปพระนิพพาน" หรือเรียกสั้น  ๆ ว่า "วิชชาบรมครู" เพราะ พระพุทธเจ้ากว่าจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้าต้องสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตอย่างยิ่งใหญ่มามากมายนับชาติไม่ถ้วน
       "ดวงตา" ของพระองค์ ที่สละเป็นทานนั้น มากกว่าดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้า
        "เลือด" ในร่างกายของพระองค์ที่สละเป็นทานนั้น มากกว่าปริมาณน้ำในมหาสมุทร
       "เนื่้อกาย" ของพระองค์ที่สละเป็นทานนั้นมากกว่าผืนแผ่นดินในโลกนี้ทั้งหมด
        ชีวิตของพระองค์นั้นมีไว้เพื่อแลกกับการได้รู้ธรรมแม้เพียง  คำครึ่งคำ
        เมื่อพระองค์ได้รู้แล้วก็อุทิศชีวิต หาวิธีเผยแผ่ธรรมที่พระองค์ได้รู้ อีกนับชาติไม่ถ้วนเช่นกัน
        การตรัสรู้ธรรมของพระองค์นั้น มิใช่ด้วยเหตุผลของพระองค์เองเท่านั้น แต่มีประโยชน์ต่อชาวโลกอีกมหาศาล
        นี่คือ "วิชชาบรมครู" ที่เกิดจากน้ำพระทัยบริสุทธิ์ของพระองค์ เป็นวิชชาที่ทำให้โลกไม่ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนา เป็นวิชชาที่ทำให้วัฏสงสารนี้ไม่ว่างเปล่าจากการมาบังเกิดขึ้นของพระ พุทธเจ้า
2. จิตวิทยาการสร้างวัดพระธรรมกาย
        การอุทิศชีวิตทำงานสืยบอายุพระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกาย เกิดขึ้นจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่ยิ่งใหญ่ ทรงช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารข้ามสู่ฝั่งพระ นิพพาน โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากใด ๆ แม้แต่นิดเดียว
          ตามหลักฐานใน "คัมภีร์ชินกาลบาลีปกรณ์ ว่า
                                                                พุทโธหํ โพธิยิสฺสามิ
                                                                 มุตฺโตหํ โมเจเยปเร
                                                                ติณฺโณหํ ตาริยิสฺสามิ
                                                               สํสาโรฆา มหาพฺภยาติ.
                                                  "เราตรัสรู้แล้ว จะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย
                                              เราพ้นจากกิเลสแล้ว จะให้ผู้อื่นพ้นด้วย
                                            เราข้ามโลกได้แล้ว จะให้ผู้อื่นข้ามได้ด้วย
                                                     มหาสมุทรคือวัฏสงสารมีภัยมาก"
          แสดงว่า น้ำพระทัยที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ นี้เอง ต่อมากลายมาเป็นคำ "สังฆะ" แปลว่า "หมู่คณะ" หรือ "ทีมเวิร์ค" นั่นเอง พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็น "เรือลำใหญ่" ที่ใช้รื้อสัตว์ขนสัตว์ข้ามห้วงทุกข์ในวัฏสงสาร โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกัปตันเรือและมีบรรพชนชาวพุทธเป็นผู้สืบทอด รักษาเรือพระพุทธทธศาสนาลำนี้เรื่อยมาถึงพวกเราในวันนี้
          เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่กำเนิดขึ้นมาจากน้ำพระทัยบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงนี้เองที่เป็นหลักการอยู่รอดของพระพุทธศาสนา ว่า หากชาวพุทธขาดน้ำใจปรารถนาดีต่อกันเมื่อไหร่ อายุพระพุทธศาสนาจะสั้นลงทันที
          พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ท่านมีความซาบซึ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง เพราะถ้าพระพุทธองค์ไม่มีมโนปณิธานเผื่อแผ่มาถึงชาวโลก โอกาสที่ชาวโลกจะได้สร้างบุญใหญ่เหมือนในวันนี้คงหมดไป
          ท่านจึงมีความห่วงใยว่า ถ้าหากไม่เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก วันหนึ่งพระพุทธศาสนาก็อาจจะสูญหายไปจากโลกนี้ได้ ท่านจึงอุทิศชีวิตชักชวนหมู่คณะมาร่วมกันสร้างวัดพระธรรมกาย ให้มีเนื้อที่ 2 พันกว่าไร่ พร้อมที่จะรองรับคนนับล้านที่มาปฏิบัติธรรม
          การชักชวนหมู่คณะให้ทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพันเช่นนี้ เพราะท่านตระหนักดีว่า ยิ่ง มีคนมาปฏิบัติธรรมร่วมกันมากเท่าไร ยิ่งรวมน้ำใจคนมาช่วยกันค้ำจุนพระพุทธศาสนาได้มากเท่านั้น แล้วพระพุทธศาสนาก็จะมีอายุยืนยาวออกไปอีกนานแสนนาน และนั่นคือบุญกุศลใหญ่ของพวกเรา
           จาก ความตระหนักในน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้านี้เอง จึงกลายมาเป็น "จิตวิทยาการสร้างวัดพระธรรมกาย" หรือก็คือ "ความมีน้ำใจเผื่อแผ่ต่อการพ้นทุกข์ของชาวโลก" นั่นเอง
หลักการสร้างวัดพระธรรมกาย
           1.สร้างวัดด้วยกัน อิ่มด้วยกัน อดด้วยกัน
           2.เจ็บป่วยเมื่อใด ให้หาหมอดีที่สุดมารักษา
          3.ทำงานเป็นทีม ทะเลาะกันได้ แต่ห้ามผูกโกรธกัน
3. การสร้างทีมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
        หลังจากที่หลวงพ่อกธัมมชโยและหมู่คณะรุ่นบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกกาย บนเนื้อที่ 196 ไร่เสร็จแล้ว คนมามาก จึงต้องสร้างให้ใหญ่ขึ้น เป็นพื้นที่ 2 พันกว่าไร่ นั่นหมายความว่า ความก้าวหน้าของวัดพระธรรมกาย จากอดีตสู่ปัจจุบัน เกิดจากความสามารถของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยในการฝึกฝนอบรมหมู่คณะให้ รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะถ้าฐานไม่ดีแล้ว การกระทบกระทั่งกันเองจะมีมาก และจำทำให้งานเผยแผ่ไม่ก้าวหน้า
หลักการสร้างทีมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกาย 5 ข้อ 
         1. สอนให้ศึกษาธรรมะตามหลัก "วุฒิธรรม 4 ประการ"
         2. สอนให้เข้าใจคำว่า "บารมี"
         3. สอนให้แก้ไข "นิสัย" จากการใช้ "ปัจจัย 4"
         4. สอนให้ฝึกสมาธิตากหลัก "มรรคมีองค์ 8 ประการ"
         5. สอนให้ช่วยกันดูแลวัดตามหลัก "สัปปายะ 4 ประการ
          ความรู้ทั้ง 5 ประการนี้ เป็นความรู้พื้นฐานของการสร้างทีมงานของวัดพระธรรมกายที่ได้ปฏิบัติมา ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดถึงทุกวันนี้

อ้างอิงจาก หนังสือ ชีวิตนี้มีไว้ทุ่มเดิมพัน พระราชภาวนาจารย์ (ทัตตชีโว)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘