อัตชีวประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี



“หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”
                                                           วัดช้างให้  จังหวัดปัตตานี
สมเด็จ เจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดเป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระ ศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้นยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวง พ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง ๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็น ตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
ทารกอัศจรรย์
เมื่อ ประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาแห่งกรุง ศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู"  เป็นบุตรของนายหูนางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลายด้วย อยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับ อยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลยจนกระทั่ง บิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูก เราเป็นแน่แท้จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไปต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติแต่เหนือทรวงอกของทารกกลับ มีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็ จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
เมื่อกาลล่วงมานานจน เด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบบิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมากสามารถเรียนหนังสือ ขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัวต่อมาสามเณรปู ได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสีได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม"  หรือ"เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมืองและวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดิน ทางไปกรุงศรีอยุธยาขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวันทำให้เสบียงอาหาร และน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะ เจ้าสามีรามจึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีราม ลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้นท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์ น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วงเจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตัก น้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอนายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
เมื่อถึง กรุงศรีอยุธยาก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาสต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาสเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
รบด้วยปัญญา
กระทั่ง วันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่น ไปทั่วกรุงสยามจึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินีแห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้คิดแก้มือด้วยการท้าพนัน แปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทองใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็น ประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่ายจึงทรง วางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญเมื่อคิด ได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อทองคำ เหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ด ท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณและของมีค่าออกเดินทางมายัง กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์ เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราช สาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถมีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุง ลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้ เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไปถ้าทรง กระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของ พระองค์และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราช บรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
เมื่อ พระเอกาทศรถทรงทราบความดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่ว พระมหานครให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาล เวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวันยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพา กันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมดครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่งผายผันมาจาก ทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระ แท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศเสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจ ของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทมรุ่งเช้าเมื่อ พระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวาย บังคมทูลว่าเรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพ จะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวงทั้งจะมีพระภิกษุ หนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ"เจ้าสามีราม"  ที่วัดราชานุวาส และเมื่อ
ได้ ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง  (พัทลุงในปัจจุบัน)  เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า  "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่าเอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่ากุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์  พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำกี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีรามท่านรับประเคน มาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า"ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์ และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอด ถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้าน กู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวางขอให้แปลพระ ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด" ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันทีด้วยอำนาจบุญญา บารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาด หายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ดพราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ใน เวลาเย็นของวันนั้น
 พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศ รถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่งทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีราม ให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้นพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาสศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
โรคห่าเหือดหาย
ต่อจาก นั้นกรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมากประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตก กังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ทรงระลึกถึงพระราช มุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษแล้วทำ น้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่าน ขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์"  และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใดหรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี

กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า"สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยาขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทางผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้นที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
 สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อ จากนั้นท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่และได้ พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า"วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมากเนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวงคิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้ เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะ โคะอยู่หลายพรรษา
เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯจำ พรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมา เป็น3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด"ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้นได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชาย ฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสม ณเพศพวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้นคือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อนจึงได้จอดเรือนิ่ง อยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืนในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็น อย่างมากสมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้ง นี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำ ทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้นก็พากันหวาดเกรงภัย ที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
เมื่อ สมเด็จเจ้าฯขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกันต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิมกลับคดๆงอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุขได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอด มา
สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษาสมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรีชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการ ฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไรท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีสถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยังวัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรีและวัดช้างให้

คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี

คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี

คติธรรมคำสอน ธรรมประจำใจ
            พูดมาก  เสียมาก พูดน้อย  เสียน้อย  ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียโพธิสัตว์
            ละได้ย่อมสงบ
            ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้  ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา
            ทุกอย่างในโลกนี้  เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น  ไม่ยึด ไม่ทุกข์  ไม่สุข  ละได้ย่อมสงบ
            สันดาน
            “ภูเขา ถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้  แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง  ซึ่งไม่ เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก
           ชีวิตทุกข์
            การ เกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง  จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ  จะว่าไม่ประเสริฐก็ ไม่ประเสริฐ  จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้าง หน้า  ล้างปาก  ล้างฟัน ล้างมือ  เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย  นี่คือความ ทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ  ในการ งาน ในสัมมาอาชีวะ  การเลี้ยงตนชอบ  นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย
            บรรเทาทุกข์
            การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น  เราจะต้องรู้ว่า  เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม  เรา
ต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าสิ่งใดเราควรทำ  สิ่งใดไม่ควรทำ
            ยากกว่าการเกิด
            ในการที่เราเกิดมาชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย
            ไม่สิ้นสุด
            แม่น้ำทะเล  และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ  ฉันใด  กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด  ฉันนั้น
            ยึดจึงเดือดร้อน
            ทุก วันนี้เกิดความทุกข์  ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่น ยึดนี่  ยึดพวก ยึดพ้อง  ยึดหมู่ยึดคณะ ยัดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม  สากลจักรวาล โลกมนุษย์นี้  ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก  สัตว์โลกทุกคนต้องใช้กรรม ตามวาระ  ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการ ฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข  สิ่งนั้นควรทำ  นี่คือ หลักความจริงของ ธรรมะ
            อยู่ให้สบาย
            ในภาวะแห่ง การที่จะอยู่อย่างสบายนั้น  เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด  อยู่กันอย่างไม่ ยินดี  อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรม นั้นเหนืออารมณ์  เหนือคำสรรเสริญ  เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความ สำเร็จ  เหนือรัก  เหนือชัง
            ธรรมารมณ์
            การ อยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ  การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง  อยู่อย่างรู้ หน้าที่การเป็นคน  และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็น สิ่งที่เราต้องทำ  ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน  เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผล ตอบแทนต่าง ๆแล้ว  ถ้าสิ่งต่าง ๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ  เป็น ทุกข์
            กรรม
            ถ้าเรามีชีวิตอยู่ อย่างที่ว่า  เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม  ทำเพราะกรรม  ตายเพราะกรรม แล้ว  ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์  มีความรื่นเริง
            มารยาทของผู้เป็นใหญ่
            “ผู้ใหญ่ ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน  ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง” มารยาทจรรยาของการเป็น ผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก  คือ  ต้องไม่ หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ
               โลกิยะหรือโลกุตระ
            คน ที่เดินทางโลกุตระ  ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จ ทางโลกุตระได้ยาก  เพราะอะไร? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระ ง่ายแล้ว  ทำไม          องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ    โคดม ต้องสละราช บัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า         ถ้าเป็นไปได้  พระองค์ เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา  ไม่ดีหรือ?  แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะ โลกของโลกิยะและโลกุตระเดินขู่ขนานกัน  เราต้องตัดสินใจ  ต้องมีความเด็ด เดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง
            ศิษย์แท้
            พิจารณากาย ในกาย  พิจารณาธรรมในธรรม  พิจารณาวิญญาณ นั่นแหละ  คือ  สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
            รู้ซึ้ง
            ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ  เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล  ผลนั้นเกิดจากเหตุ  เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว  เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา
            ใจสำคัญ
            การทำบุญนั้น  จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์  จะต้องทำด้วยความศรัทธา  ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น  เกินความคาดหมาย
            หยุดพิจารณา
            คน เรานี้  ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว  จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะ นั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆคือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ  ศีล  สมาธิ ปัญญา  ย่อมที่จะค้นหาสัจจะใน ธรรมะได้
            บริจาค
            ทำบุญสังฆทาน เป็นจาคะ  จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก  การสวดมนต์เป็นการภาวนา  การ ภาวนาเป็นการบริจาคภายใน  เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภาย ในย่อมได้กุศลมากกว่า การบริจาคภายนอก  นี่คือเรื่องของนามธรรม
           ทำด้วยใจสงบ
            เรา จะทำบุญก็ดี  เราจะทำอะไรก็ดี  จงทำด้วยความสงบ  อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความ ร้อน  เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น  มันจะพาเราไปสู่หายนะ  เมื่อเกิด อารมณ์ร้อน  เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสีย ก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไป โดยความสะดวก
            มีสติพร้อม
            จะทำ สิ่งใดก็ตาม  เราต้องมีสติพร้อม  คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบ คุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง
            เตือนมนุษย์
            มนุษย์ผู้ใด  เห็นแก่งานส่วนตัว  มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
            มนุษย์ผู้ใด  เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว  มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
            มนุษย์ผู้ใด  เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น  จะไม่ได้นอนในไม่ช้า
            พิจารณาตัวเอง
            คืน หนึ่งก็ดี  วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก  5  นาที หรือ  10  นาที ไม่ ติดต่อกับใคร  ให้นั่งเฉย ๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวัน ๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร  คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง  คิด เอาแต่เรื่องของตัว  อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น  เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุก วันนี้  มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด  ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง
            ปัจฉิมภาค
            สมเด็จ เจ้าฯในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญา ญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถาน ที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ไม่ว่าท่านจะจาริก ไป  ณ ที่ใด  ก็จะมีคนกราบไหว้  ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลัก สำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชน         และเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลก อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า  พระธรรมและ พระสงฆ์  สมดังคำว่า “พุทธัง ธัมมัง  สังฆัง  สรณัง คัจฉามิ”  ตลอดไป
พิณสายกลาง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘