การประเมินมูลค่าหุ้น

Model ประเมินมูลค่า
1 P/B มูลค่าทางบัญชี
2 DDM โมเดลเงินปันผล
3 P/E, EV/EBIDA อัตราส่วนกำไร
4 P/FCF, P/CFO อัตราส่วนกระแสเงินสด
5 DCF, Owner Earning ผลรวมกระแสเงินสด
6 Sum of the part กิจการมีความหลากหลาย
7 ประเมินในสถานการณ์พิเศษ

ลักษณะโมเดล มี 2 แบบ
1 Relative Value ใช้เปรียบเทียบมูลค่าระหว่าง 2 สิ่ง หรือมากกว่า, เช่น P/E, P/BV
2 Absolute Value ได้มูลค่าเป็นตัวเลข เช่น DDM DCF แต่ข้อสำคัญ อยู่ที่สมมุติฐานที่นำมาใช้ถูกต้องหรือไม่

P/B มูลค่าทางบัญชี
- เชื่อว่ากฎเกณฑ์บัญชีถูกต้อง ราคาทางบัญชีสมเหตุสมผล P/B = Price/Book value
- ราคาทางบัญชี คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล
- ต่ำกว่า 1 ถูกหรือเปล่า? ทำไมถึงมากกว่า 1 เพราะราคาบันทึกเป็นราคาในอดีต ไม่สะท้อนความจริง มูลค่าเกิดจากความสามารถทำกำไรและการเติบโต
- ทำไม P/B ต่ำแต่ยังไม่น่าซื้อ อาจจะมีเหตุผลจาก การบริหารไม่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างทางการเงินไม่เหมาะสม มีทรัพย์สินซ่อนที่ยังไม่ปลดล็อค ควรซื้อเมื่อกิจการมีโอกาสฟื้นหรือ unlock เช่น มีการเปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนนโยบาย ซื้อเมื่อมีเริ่มฟื้นตัว
- กรณี P/B สูง ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบ เช่น ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทำกำไร

DDM โมเดลเงินปันผล
- เราถือหุ้น ถ้าถือไปเรื่อยๆไม่คิดจะขาย สิ่งที่เราได้คือเงินปันผล
- ถ้าสมมติว่าเราเป็นอมตะ กิจการที่เราลงทุนเลิกก่อนที่เราจะตาย เงินที่เหลืออยู่สุดท้ายต้องปันผลออก
- เงินปันผลที่สะสมกันมาเรื่อยๆ คือ มูลค่าของหุ้น
- แต่มูลค่าของเงินปันผลในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน เลยต้อง Discount
- และความเป็นจริง คือ เราขายหุ้นก่อนที่กิจการจะเลิก
- และสมมติว่า ในตอนที่เราขายหุ้น คนที่มาซื้อหุ้นก็คิดเหมือนๆกับเรา มองว่าการถือหุ้น คือการกินเงินปันผล

P/E, EV/EBIDA โมเดลอัตราส่วนกำไร
- P/E = Market price per share/Annual earning per share
- คุณค่าความถูกแพง ขึ้นกับกำไรที่ทำได้
- ความหมาย P/E ราคาที่เราซื้อเป็นกี่เท่าของกำไรที่ทำได้ / คืนทุนกี่ปี
- มี 2 แบบ คือ Trailing P/E ใช้กำไร 12 เดือนล่าสุดคำนวณ, Forward P/E คาดการณ์กำไร 12 เดือนข้างหน้ามาคำนวณ
- ปัจจัยที่ P/E ไม่เท่ากัน เช่น คุณภาพของกำไร ธรรมชาติของธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันที่ต่างกัน
- หุ้นวัฎจักรดู P/E ไม่ได้ P/E ต่ำไม่ใช่ว่าถูก P/E สูงอาจจะไม่แพง หุ้นวัฎจักรถ้าอยู่ช่วงพีค กำไรจะสูงมากทำให้ P/E ต่ำ แต่พอเข้าสู่ขาลง กำไรจะลดเร็วถึงขั้นขาดทุน
- มูลค่าที่เหมาะสม = P/E ที่เหมาะสม x กำไรที่ประเมินได้ (มี 2 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือ การให้ P/E ที่เหมาะสม กับ การประเมินกำไร)
- E/P Ratio ถ้าเอา E หาร P เหมือนอัตราผลตอบแทนที่เราได้รับ, E สะท้อนพัฒนาการดีกว่า D (ปันผล) เพราะปันผลขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ช่วงเวลา นโยบายบริษัท
- เนื่องจากอนาคตไม่แน่นอน คาดเดายาก และ P/E ที่เหมาะสมก็ไม่แน่นอน ดังนั้นต้องประเมินหลายๆ Senerio เช่น Worst, Base, Best case
- ต้องพิจารณาว่าเป็นกำไรปกติ Recurring หรือกำไรพิเศษ Non Recurring เช่น โปรเจคพิเศษ Stock gain, Spread margin
- ต้องพิจารณาว่าเป็นกำไรเงินสด (ปันผลได้)หรือ กำไรทางบัญชี (ทำอะไรไม่ได้)
- วิธีคิด คิดจากกำไรปกติก่อน แล้วค่อยคิด Non Recurring
- มูลค่า = P/E x Recurring + Multiple x Non recurring ค่า Multiple แล้วแต่จะพิจารณา ถ้าเป็นกำไรเงินสด ที่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก อาจจะให้สัก 2 ถ้าน้อยให้ 1 ถ้ากำไรทางบัญชีอาจจะ 0.5 เท่า

EV/EBIDA
- เป็นมุมของการซื้อกิจการ EV = Market cap + หนี้สิน – เงินสด
- EBIDA Earning Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization ดอกเบี้ยสะท้อนโครงสร้างการเงิน, ค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่าย สะท้อนนโยบายทางบัญชี, ภาษี สะท้อนโครงสร้าง 2 อันก่อนหน้า+มาตรฐานทางภาษีของรัฐ 3 อย่างนี้ทำให้เราเห็นกำไรสุทธิ บิดเบี้ยว เวลาเทียบบริษัทต่อบริษัท ดังนั้นในการเทียบ Performance ของบริษัท การดูที่ EBITDA อาจสะท้อนถึงผลการดำเนินงานมากกว่า
- ใช้เมื่อ เจอกิจการที่ P/E สูงเว่อร์ๆ เห็นแล้วงงๆ แล้วราคาขึ้นเอาๆ ไหม
- เคยเจอกิจการที่ขาดทุน แต่คนว่าดีไหม
- เคยเจอกิจการที่กำไรดี NPM สูง แต่เทรดกันที่ P/E ต่ำๆ ไหม
- เมื่อโครงสร้างทางการเงิน นโยบายทางบัญชี และผลประโยชน์ทางภาษีต่างกัน
- เมื่อกิจการลงทุนอย่างหนัก ตัดค่าเสื่อมเป็นจำนวนมาก
- เมื่อกิจการมีหนี้สินที่สูงผิดปกติ
- เมื่อกิจการมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงิน นโยบาย อย่างมีนัยสำคัญ
- ข้อควรระวังในการใช้ คือ EBIDA ไม่สะท้อนกระแสเงินสด และ EBIDA ที่ได้ต้องเอากลับไปลงทุนหรือเปล่า โดยเฉพาะเรื่อง Maintenance Capex

DCF Discount Cash Flow
- มูลค่าของกิจการ = ผลรวมของกระแสเงินสด
- คล้ายๆ DDM แต่กระแสเงินสดจะสะท้อนผลการดำเนินงานได้ดีกว่าเงินปันผล
- ข้อควรระวัง คือ ข้อมูลสมมุติฐานเยอะ อาจทำให้ประเมินไม่ถูกต้อง
- Free Cash Flow คือ กระแสเงินสดอิสระที่กิจการสามารถทำได้ ซึ่งจะถูกนำมา คืนให้เจ้าของเงิน ทั้งเจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้น
- FCF = EBIT(1-T)+Depreciation & Amortization-Chang in Net Working Capital-CAPEX
- FCF = Operating Cash Flow-Capital Expenditure
- เนื่องจากเราเอา FCF มาใช้ ซึ่งเป็นเงินของทั้งเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น ดังนั้นถ้าเราจะหามูลค่าหุ้น เมื่อได้มูลค่า DCF แล้ว ต้องลบด้วย Net Debt (หนี้สินระยะสั้นและยาว-เงินสด)

Owner Earning
- กำไรของเจ้าของ = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อม – Maintenance CAPEX
- บัฟเฟตต์ มองว่าถ้าเราเข้าใจธุรกิจนั้นจริงๆและรู้ว่าธุรกิจนั้นมี DCA ปีหน้าต้องดีกว่าปีนี้ ดังนั้นกำไรของปีหน้าต้องมากกว่าปีนี้แน่นอน
- ดังนั้นกิจการนี้ คือ เครื่องสร้างเงินสดที่ปราศจากความเสี่ยง เหมือนพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่มีความเสี่ยง
- ความเสี่ยงถูกชดเชยโดยไม่ใส่ growth เข้าไปในโมเดล
- มูลค่าที่ประเมินออกมาได้ เป็นมูลค่าที่ Conservative

Sum of the Part
- เหมาะกับ Holding company
- ถ้าใช้ P/E อาจจะไม่ถูกต้อง เพราะมีหลากหลายธุรกิจ
- ในแต่ละธุรกิจใช้วิธีประเมินมูลค่าต่างกัน ตามลักษณะธุรกิจ บางธุรกิจพึ่งเริ่มต้นกิจการ ควรใช้ DCF บางธุรกิจแข็งแกร่งแล้ว ใช้ EV/EBITDA(ไม่ใช้ P/E เพราะดูหนี้ทีหลัง บางธุรกิจเราถือหุ้น ซึ่งเป็นหุ้นอยู่ในตลาด ใช้มูลค่าตลาด
- ดังนั้นประเมินมูลค่าของกิจการแต่ละอย่าง แล้วเอามารวมกัน และต้องลบทิ้งด้วยหนี้ บวกกลับด้วยเงินสด(ลบทิ้งด้วย Net Debt)

M&A : Merger & Acquisition
- การ Take Over ซื้อ/ขายกิจการกัน
- ลงทุนบริษัทฯ ที่เราเก็งว่าจะถูก Take Over
- ลงทุนในบริษัทฯ ที่ไป Take Over คนอื่น คิดว่า Take จะทำให้เกิด Synergy
- ต้องอ่านรายงานที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)
- รายงานที่ปรึกษาทางการเงินส่วนใหญ่สมเหตุสมผลสำหรับคนทำดีล แต่ในมุมมองของเราน่าสนใจหรือไม่

Tender Offer
- เมื่อมี Take Over กิจการกัน กฎตลาดบังคับให้ Tender Offer
- เพื่อความยุติธรรมของผู้ถือหุ้นรายย่อย
- ราคาหุ้นมักตอบรับ แต่ไม่ตอบรับทั้งหมด
- เป็นโอกาสในการ Arbitrage โดยซื้อในตลาดไปขายให้คน Tender
- ได้ผลตอบแทนไม่เยอะมาก ความเสี่ยงต่ำ
- ความเสี่ยงว่าดีล Tender จะล้ม ต้องประเมินให้ชัด
- Upside ถ้าประเมินมูลค่า และเดาเจตนาได้ว่าผู้ซื้ออาจเสนอซื้อในราคาสูงกว่านี้ ก็อาจจะกำไรมาก

ลักษณะของกิจการกับโมเดลที่เหมาะสม
- P/E กิจการที่รายได้ กำไร เงินสด ปกติ แต่ควรระวังเรื่อง กำไรควรสม่ำเสมอไม่ผันผวน และถ้ามีหลายธุรกิจต้องแยกคิดก่อน
- P/B Turn around, Asset play, Sunset, Commodity เหมาะกับกิจการที่มีปัญหาในการทำกำไร หรืออยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
- EV/EBIDA ลงทุนหนัก เงินสดดี หนี้เยอะ ใช้ในการหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านภาษี และโครงสร้างต้นทุน แต่ต้องระวังเรื่อง Maintenance Capex และภาษี
- DCF M&A เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ตั้งธุรกิจใหม่ หรือกิจการที่ mature แล้ว ซึ่งมูลค่ากิจการไปอยู่ที่ Terminal Value
- DDM รายได้ กำไร เงินสดเสถียร
- PE/G DCF สำหรับหุ้นเติบโต
- Sum of the Part สำหรับ Holding Company กิจการที่หลากหลาย

ถ้าใช้ Model ผิด มีผลอย่างไร
- อาจถึงตายได้ หรือเสียโอกาสลงทุน
- หุ้นคอมโม ตะวันตกดิน Asset play กำไรพิเศษ แต่ใช้ P/E อาจเห็นหุ้น under value เกินจริงเพราะกำไรไม่ยั่งยืน, อาจเห็นหุ้นแพงเกินจริงเพราะกำไรน้อย แต่กำลังจะ unlock
- หุ้น Growth ลงทุนหนัก กระแสเงินสดดี แต่ไปใช้ P/E, ราคาแพงตลอด P/E สูงมาก คุณภาพกำไรดี เติบโตสูง เสียโอกาส
- หุ้นคอมโม รับเหมา เดากิจการยาก แต่ไปใช้ DCF เดายังไงก็ผิด เพราะมองอนาคตยากมาก

แก่นของการเลือกโมเดลให้เหมาะสม
- ต้องเข้าใจที่มาที่ไปของรายได้ ต้นทุน และกิจการจะเดินไปอย่างไร
- กิจการที่รายได้ กำไรไม่ดี ผันผวน ควรเน้นความปลอดภัยโดยใช้ P/B
- กิจการทั่วไปสามารถใช้ P/E ได้ แต่ต้องติดตามพัฒนาการของกิจการต่อเนื่อง และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกิจการ เช่นมี project ใหม่ พื้นฐานการแข่งขันเปลี่ยนแปลงหรือไม่
- กิจการแข็งแกร่งดูเหมือนจะมี DCA ต้องตรวจสอบคุณภาพให้เคลียร์ และไปเน้นที่กระแสเงินสด

Valuation Check List
- เราเข้าใจกิจการขนาดไหน
- ควรประเมินด้วยวิธีใด
- ทำ projection หรือยัง
- Scenario analysis ล่ะ
- จุดไหนคือจุดสำคัญของกิจการ
- เราจะติดตามกิจการได้อย่างไร
- จุดชี้เป็นชี้ตายของกิจการ ที่เราต้องขายหุ้นทันที
- MOS มีเท่าไหร่
- Upside มีเท่าไหร่
- Downside ขนาดไหน
- อัตราผลตอบแทนระยะยาว
- เรากำลังลงทุนหรือเก็งกำไร
- ถ้าเก็งกำไร ทำไมราคาหุ้นถึงจะขึ้น ทำไมคนอื่นถึงเชื่อเหมือนเรา
- ถือนานขนาดไหน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘