จุดจบ " พระนางมาคันทิยา " ผู้ผูกความอาฆาตแค้นพระพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาล



          ครั้งหนึ่ง ณ แคว้นปัญจาละที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศล มีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง เมื่อพระพุทธองค์เข้าไปในเมือง ทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าว่าเยาะเย้ยด้วยประการต่าง ๆ จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสีย แต่พระพุทธองค์ไม่ ทรงเห็นด้วย ทรงตรัสว่า เรื่องเกิดขึ้นที่ไหนก็ควรทำให้สงบ ณ ที่นั้นเสียก่อน จึงค่อยไปที่อื่น

          มูลเหตุที่นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระ พุทธเจ้า เกิดจากเมื่อตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดแสดงธรรมแก่บิดาและมารดาของนางมาคันทิยา(ตอนนั้น ยังเป็นเด็กรุ่น) เมื่อบิดามารดาของนางคันทิยาเห็นรูปลักษณะของพระพุทธเจ้า จึงประสงค์จะยกลูกสาวที่ใคร ๆ ก็ชมว่าสวยงามมาก ให้เป็นภรรยาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสทำนองว่า อย่าประสงค์ยกลูกสาวให้พระองค์เลย เพราะแม้แต่ปลายเล็บ พระองค์ก็ไม่พึ่งประสงค์ที่จะมองเลย นางคันทิยาได้ ฟังจึงโกรธแค้นและผูกอาฆาตมาตั้งแต่นั้น แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้บิดานางคันทิยาบรรลุเป็นพระอนาคามี ส่วนมารดาบรรลุเป็นพระโสดาบัน
          หลังจากนั้นนางคันทิยาก็ ได้มาอาศัยอยู่กับน้า ในกรุงโกสัมพีนี้ แล้วน้าของนางเห็นว่านางมีรูปสดสวยสมควรแก่พระราชา จึงยกนางคันทิยาให้กับพระเจ้าอุเทน และด้วยความหลงในรูป พระเจ้าอุเทนจึงแต่งตั้งให้เป็นมเหสีองค์หนึ่ง และเมื่อนางทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองโกสัมพี นางจึงเริ่มระบายความอาฆาตดังที่กล่าวข้างต้น ถึงแม้ในเมืองนี้ จะมีปัญหาดังที่กล่าวมา แต่พระพุทธองค์ ก็ทรงแสดงพระสัทธรรมต่อไป พระเจ้าอุเทน ยังมีมเหสีอีกองค์ คือพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีมีข้าทาสอยู่คนหนึ่งชื่อ นางขุธชุตตรา เป็นคนที่ต้องไปจัดซื้อดอกมะลิให้กับพระนาง และก็จะแอบยักยอกเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้ คือซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวนเป็นประจำ

          วันหนึ่งคนขายดอกมะลิกล่าวชวนนางขุธชุตตราให้ ทำบุญกับพระพุทธเจ้า นางขุธชุตตราจึงอยู่ถวายทานแก่พระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแจกแจงอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมนั้นนางก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน และเมื่อนางจะกลับไปในวัง นางก็ต้องซื้อดอกมะลิกลับไปด้วย แต่คราวนี้นางละอายใจที่จะซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวนเพราะเป็นพระโสดาบันแล้ว นางจึงซื้อดอกมะลิเต็มจำนวน แล้วเอาไปให้กับพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีก็เห็นวันนี้มีดอกมะลิมากกว่าปกติ จึงถามนางขุธชุตตราว่า ทำไม่วันนี้มีดอกมะลิมากกว่าปกติ นางขุธชุตตราก็บอกตามความเป็นจริงว่า วันนี้นางมีความละอายตัวเองที่แอบยักยอกเงิน โดยซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวน แต่วันนี้ซื้อมาเต็มจำนวนเงิน พระนางสามาวดีจึงถามว่า ทำไมจึงมีความละอายละ นางขุธชุตตราตอบว่า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ด้วยธรรมนั้นนางจึงเกิดความละอายต่อบาป และไม่ก็ทำบาปอีก พระนางสามาวดีมีความสนใจจึงกล่าวว่า อย่างนั้นท่านจงบอกธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงให้เราทราบสิ นางขุธชุตตรากล่าวว่า อย่างนั้นขอให้พระนางจัดสถานที่ให้เหมาะกับการกล่าวธรรม ส่วนข้าทาสบริวารถ้าประสงค์ฟังธรรมก็ให้มาประชุมรวมกัน แล้วระหว่างที่จัดที่และรวมคนกันอยู่ นางขุธชุตตราก็ขอไปอาบน้ำแต่งตัวเพื่อให้เหมาะกับการแสดงธรรม พระนางสามาวดีได้เรียกให้บริวารของพระนางมาฟังธรรมทั้งหมด 500 คน หลังจากนั้นนางขุธชุตตราก็แสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว เมื่อจบการแสดงธรรมนั้น พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารทั้งหลายก็บรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด

          หลังจากนั้นเหล่าบริวารทั้งหลายของพระนางสามาวดี จึง ตั้งให้นางขุธชุตตราไม่ต้องทำหน้าที่อะไร เพียงแต่ให้ไปเข้าเฝ้าพุทธเจ้าหรือมหาสาวกเป็นประจำ แล้วฟังพระธรรมที่แสดงทั้งหมด แล้วกลับมาถ่ายทอดกับพวกเขาเหล่านั้น ต่อมาภายหลังนางขุธชุตตราจึงได้เป็นเอคคทัตคะฝ่ายอุบาสิกาที่จดจำพระธรรมได้ เป็นเลิศ หลังจากนั้นพระนางสามาวดีและเหล่าข้าทาสบริวารยิ่งศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงทำให้พระนางมาคันทิยาพุ่งความอาฆาตต่อพระนางสามาวดีมากยิ่งขึ้น เพราะไปศรัทธาและบูชากับบุคคลที่นางเกลียด และแถมยังมีสวามีคนเดียวกัน ส่วนมเหสีอีกคนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน(พระเจ้าอุเทน มีมเหสีถึง 3 คน) คือพระนางวาสุลทัตตา ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้าปัทโชต แห่งกรุงอุเชนี แคว้นอวันตี ซึ่งอยู่ติดกับแคว้นวังสะทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระนางวาสุลทัตตาเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็บรรลุเป็นโสดาบัน แต่หาได้มีบทบาทที่นางคันทิยาต้องชิงดีชิงเด่นกับพระนางวาสุลทัตตามากมาย ไม่

         พระนางมาคันทียาใส่ร้ายพระนางสามาวดีโดยเอางูเห่าใส่ตะกร้า(หรือพิณ) ของพระเจ้าอุเทน เมื่อพระเจ้าอุเทนไปประทับอยู่กับพระนางสามาวดี เมื่อพระเจ้าอุเทนเห็นงูออกมาจากตะกร้าก็ตกใจกลัว พระนางมาคันทิยาจึงทูลยุว่า พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารของพระนางสามาวดี หวังจะปรงพระชนม์พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนจึงสั่งจับพระนางสามาวดีและเหล่าบริวารไปประหาร โดยใช้ลูกธนูอาบยาพิษเพื่อประหาร พระนางสามาวดีจึงบอกกับเหล่าบริวารให้แผ่เมตตาแก่พระเจ้าอุเทนและทหารเหล่า นั้น เมื่อพระเจ้าอุเทนยกศรขึ้นง้างเพื่อยิงลูกธนูไปยังพระนาสามาวดี แต่ไม่สามารถง้างหรือปล่อยธนูไปได้ ค้างเกร็งสั่นอยู่อย่างนั้น จนพระเจ้าอุเทนเกิดความกลัวขึ้นมาอย่างสุดกำลัง ต้องเอ่ยปากขอให้พระนางสามาวดียกโทษให้กับพระองค์ด้วย พระนางสามาวดีจึงเข้ามาใกล้พระเจ้าอุเทน แล้วจึงกล่าวยกโทษให้ พระเจ้าอุเทนจึงขยับตัวเองและลดธนูลงได้ และในตอนหลัง พระนางสามาวดีได้พาพระเจ้าอุเทนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าอุเทนเมื่อได้ฟังธรรม ก็มีความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าแสดงตนเป็นอุบาสก(ยังเป็นปุถุชน) ต่อมาในภายหลังพระนางสามาวดีเป็นเอคคทัคคะฝ่ายอุบาสิกาผู้มีปกติอยู่ด้วย เมตตาเป็นเลิศ
         เป็นอันว่าพระนางมาคันทิยาไม่สามารถปลงพระชนม์พระนางสามาวดีได้ แต่ก็จ้องหาโอกาสที่จะทำเพราะความอาฆาต (ความอาฆาต ความพยาบาท ความผูกโกรธ เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับผู้ประสงค์สร้างบุญบารมีทั้งหลาย เพราะจะนำความทุกข์มาสู่ตนเองอย่างมากและพลาดโอกาสในการบรรลุธรรม เมื่อพยาบาทต่อผู้มีคุณใหญ่) พระนางมาคันทิยาได้เห็นโอกาสเมื่อ พระนางสามาวดีสร้างปราสาทหลังใหม่ ซึ่งพระนางสามาวดีและบริวารไปอยู่ยังปราสาทนั้น พระนางมาคันทิยาจึงให้น้าและเหล่าญาติพร้อมทั้งนักเลงที่จ้างมา ทำการปิดประตูปราสาทไม่ให้ออกมาได้ แล้วทำการวางเพลิงเผาปราสาทนั้นในเวลากลางคืน พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารจึงถูกไฟเผาจนสิ้นชีพ เมื่อพระเจ้าอุเทนได้ทราบก็บังเกิดความเสียใจและเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์เห็นคุณของพระนางสามาวดีและศรัทธาในพระพุทธเจ้า แต่ต้องข่มใจไว้เพราะประสงค์หาผู้ที่วางเพลิง พระเจ้าอุเทนจึงประกาศออกไปว่า ผู้ใดที่วางเพลิงปลงพระชนม์พระนางสามาวดี จะได้รับรางวัล เพราะพระนางสามาวดีประสงค์จะปลงพระชนม์พระองค์หลายครั้ง พระนางคันทียาพอได้ทราบดังนั้นจึงกล่าวว่า พระนางเองพร้อมทั้งญาติช่วยกันวางเพลิง พระเจ้าอุเทนจึงให้พระนางมาคันทิยารวบรวมญาติและนักเลงทั้งที่ช่วยกันวาง เพลิงมาเฝ้าพระองค์ แล้วพระเจ้าอุเทนก็จับทั้งหมดไว้ แล้วสั่งประหารจนหมดสิ้นอย่าทารุณโหดร้ายที่สุด ด้วยการแร่เนื้อ ออกเป็นชิ้น ๆ ก่อนที่จะเผาให้ตายทั้งเป็น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=90

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘