จุดประเด็น!!ทำไมวัดพระธรรมกาย เป็นภัยศาสนาหรือ???

ใครๆ ก็บอก...วัดพระธรรมกาย ไม่ใช่วัด เป็น"ลัทธิ"
ใครๆ ก็ว่า....วัดนี้รวย สอนให้คนหลง งมงาย ..
เสียเงินทำบุญเยอะๆ ขายบ้าน...ขายที่จน"หมดตัว"
เอ้า!!? ยังไม่หมดนะ...วัดนี้นะ หลวงพ่อเจ้าอาวาส 
โดนเรียก ตำรวจจะจับท่านสึก เอาเข้าคุกตั้งแต่ปี 2542 
แล้วไงต่อ นี่ปี 2559 ผ่านไปหลายสิบปี 
อ่อ...ยังไม่จบสักที
น่าสงสัยนะ????!!!!!




เรื่องเด็ด เผ็ดร้อนมากที่สุด...ก็คือกลุ่มคนที่เคลื่อนไหว
อย่างรุนแรง...ดุดัน...ไม่ชนะ พระอีกรูปไม่สึกไม่เลิก
เป็นมวยที่ดูกี่ครั้งๆ ก็ตาลาย...เพราะอีกฝ่ายสู้ด้วยการทำดีไม่เลิก

เขาว่า "วัดพระธรรมกายสอนผิด ไม่เคารพพระพุทธเจ้า"
แต่คนที่เข้าวัดนี้ หลวงพ่อ หลวงพี่ ...ทุกคนกราบและสวดมนต์
รักษาศีล...เจริญสมาธิภาวนา ด้วยความเคารพพระพุทธองค์สุดใจ

เขาว่า "วัดพระธรรมกายหลอกคนทำบุญ รวยๆๆ ขายค้อน..."
แต่คนที่มาร่วมงานทุกคน ..ทิ้งตำแหน่งวางนอกวัด
พอเข้ามา ก็ทำบุญตามกำลัง ตามศรัทธา 10 บาท 20 บาท ทำไป
ไม่มีใครว่า "หูยยย....เธอทำน้อยจังต้อง ร้อยล้านนะ"
"ค้อนราคาเป็นแสน ต้องทำ" จริงหรือไม่ ทำไมคนที่มาร่วมงาน
ไม่ได้นึกถึงค้อน แต่เขานึกว่า เขาจะสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม
สถานที่ทำความดี... 
ยังไม่พอนะ วัดนี้น่ะสอนว่า "ใครทำบุญมาก...รวยมาก"
แต่คนที่มาวัดนี้ เขากลับบอกว่า หลวงพ่อสอนว่า 
 "ใครปลื้มมาก..ได้บุญมาก รวยมาก" ต่างหาก!!!!
ทำมากได้มาก...ไม่ใช่เงินน่ะ
แต่ถ้าใครทำเต็มที่ด้วย ไม่เดือดร้อนใคร ปลื้มสุดหัวใจ 
ใช่เลย รวย!!! รวยน้ำใจ รวยสุนทาน ใช่บ้านโต

ยกตัวอย่าง
เศรษฐีท่านหนึ่งมีทรัพย์มาก..ให้ทานด้วยเงิน 10,000 บาท
ย่อมได้บุญมากกว่า...เศรษฐีที่มีทรัพย์มาก ...แต่ให้ทาน 10 บาท

คนยากเข็ญคนหนึ่ง...ทำทานด้วยเงิน 1 บาท
แต่เป็น 1 บาทสุดท้ายของชีวิต ทำด้วยจิตเลื่อมใส
1 บาทเดียวของเขา ที่ตัดสินใจแล้วว่า ..จะถวายทาน
นั่นคือบุญมหาศาล 

ตัวอย่างเช่นเรื่องราวของ มหาทุคตะ...ผู้เอาชนะความจน
วันหนึ่งนายมหาทุคตะก็ได้รับการชักชวนจากบัณฑิตผู้หนึ่ง
ให้ทำบุญกับพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้าบ้าง
จะได้เป็นบุญวาสนาติดตัวไปไม่ทำให้ยากจนอีก
ในภายภาคหน้า มหาทุคตะได้ยินการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
แล้วก็เกิดความรู้สึกยินดีมาก คิดจะทำทานกับพระสาวก
ของพระพุทธองค์สักรูปหนึ่งก็เลยไปทำการจองพระไว้รูปหนึ่ง
กับบัณฑิตที่มาชักชวน

บัณฑิตก็เห็นว่าจองแค่รูปเดียวจึงไม่ได้จดบันทึกเอาไว้ 
แล้วก็ไปชักชวนบุคคลอื่นๆ ในหมู่บ้านให้มาร่วมทำบุญกันต่อไป
ฝ่ายนายทุคตะกับภรรยาเมื่อจองพระได้แล้วก็ไปรับจ้าง
เขาทำงานด้วยจิตเบิกบานอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าวันนั้นทั้งวัน
แทบจะร้องรำทำเพลงทำงานเลยทีเดียว โดยหวังว่าพรุ่งนี้
จะได้ถวายข้าวปลาอาหารกับพระดีๆ สักรูปหนึ่ง เมื่อทำงาน
ได้เงินมาก็เอาเงินไปเตรียมซื้อของทำกับข้าวไว้เสร็จสรรพ
วันรุ่งขึ้นพอไปหาบัณฑิตเพื่อจะรับพระที่จองไว้ 
แต่เพราะบัณฑิตหนุ่มไม่ได้จดบันทึกเอาไว้ก็เลย
ไม่มีพระให้คนอื่นนิมนต์กันไปหมดแล้ว ทำให้นายทุคตะ
เสียใจมาก บัณฑิตหนุ่มก็เลยแนะนำว่าเหลือ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่อีกรูปหนึ่งท่านไปนิมนต์เถอะ
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีพระเมตตา
และหยั่งรู้แล้วว่าวันนี้จะสงเคราะห์ใคร แม้วันนั้นจะมี
มหาเศรษฐีพ่อค้าวานิชที่ร่ำรวยหรือบุคคลระดับกษัตริย์
จะมารอนิมนต์อยู่ข้างนอกพระคันธกุฎี พระพุทธองค์
ก็ยังไม่ออกมาจากที่พำนัก รอจนกว่านายมหาทุคตะ
มานิมนต์จึงทรงเสด็จออกมา แล้วประทานบาตรให้
ทำให้คนอื่นผิดหวังกันไปตามระเบียบ
นายทุคตะกับภรรยาได้ถวายอาหารรสเลิศชั้นดี
กับพระพุทธเจ้าด้วยความช่วยเหลือของพระอินทร์
ที่แปลงกายมาช่วยทำอาหารให้ อาหารที่ได้ถวายจึง
เป็นของดีระดับอาหารทิพย์ เมื่อพระพุทธเจ้าฉันเสร็จ
ก็ตรัสอนุโมทนาและแสดงธรรมเรื่องอานิสงส์การถวายทาน
ด้วยจิตที่ยินดีทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังทำทาน 
ให้ถูกคนถูกกาลแล้วจะมีอานิสงส์มากมายมหาศาล 
เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จกลับ
นายมหาทุคตะเดินไปส่งพระพุทธเจ้าที่พระคันธกุฎี 
เมื่อกลับมาถึงบ้านของตนเองก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นที่บ้าน
คือแก้วรัตนมณีนั้นไหลท่วมบ้านของนายทุคตะ
ชนิดที่ลูกเมียไม่มีที่อยู่กันเลยทีเดียว หากจะเปรียบเทียบ
ในสมัยนี้ก็คือ จู่ๆ เขาก็ถูกหวยระดับร้อยล้านพันล้านบาท
ในงวดเดียวนั่นเอง

.....นี่อย่างไรเล่า...การทำทานที่ถูก และครบทั้ง 3 วาระ 
......ไม่ต้องรวยล้นฟ้าก้ทำทานได้ ยิ่งปลื้มมากยิ่งได้บุญมากเช่นนั้น

.....ถามว่าวัดพระธรรมกายสอนผิดตรงไหน?????

.....ไม่เคารพพระพุทธเจ้าตรงไหน?????
.....แล้วคุณจะเชื่อหรือ คนพูดไม่จบ...คนพูดไม่ครบ...คนพูดใส่ไข่
.....คนพูดล้อเลียน....เสี้ยมให้คนเข้าใจผิดๆ ...
.....โปรดพิจารณา....



อย่าด่า...คนทำบุญเลยนะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘