อัตชีวประวัติ " สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี "




สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี
พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร
สม เด็จพระพุฒาจารย์ โตพรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์  พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่าเกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณวัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอดจนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตารามกรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่  ๑๙ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวดพุทธศักราช ๒๔๐๗
โดย ปกติเด็ก ๕ ขวบทั่วไปจะไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิดมีพ่อแม่พี่น้องเป็นต้นเมื่อหนังสือ เล่มนี้เขียนบอกไว้ว่าพระองค์ท่านบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษาโดยได้พบหลักฐานจากการสร้างพระเป็นรูปไก่ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อนและบันทึกข้อความไว้ว่า “ไก่ ตัวนี้ สุกไก่ เถื่อน เป็นผู้สร้าง ประสม ทอง เงิน นาน (นาก) ปลุกเสก ๓ พรรษา พ.ศ. ๒๓๓๒ พอพ.ศ. ๒๓๓๕ หัวโต วัดระฆังก็ขอไปเลี้ยง” หลักฐานชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่สำนักธรรมพรหมรังสี
           จากบันทึกของสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เป็นการยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา     และที่วัดระฆังโฆสิตาราม ด้วย แสดงว่า สามเณร โตเป็นผู้มีบุญญาธิการมาประสูติ ดุจเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อประสูติก็สามารถย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว และ อีกพระองค์หนึ่งคือ พระราหุล ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ได้บรรพชา ตอนพระชนมายุ ๕ พรรษา เช่นเดียวกัน (เมื่อพระสารีบุตรจรดมีดโกนลงบนพระเศียร เพื่อปลงพระเกศาก็บรรลุพระโสดาบันและปลงต่อไปจนหมดทั้งพระเศียรก็ทรงบรรลุ พระสกิทาคา  พระอนาคา และพระอรหันตาตามลำดับเป็นที่สุด) จากความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกย่อมแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าสม เด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี    ได้สั่งสมกุศลบารมีมาเป็นอเนกอนันตชาติดุจเดียวกัน และไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า พระราหุลและเจ้าชายสิทธัตถะน่าจะยืนยันและสรุปได้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสีไม่ได้ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ดังที่คนทั่วๆไปเข้าใจกันและยิ่งกว่านั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมดาทั่วไปอย่างแน่นอน
พระชนมายุ ๗ พรรษา เริ่มเสด็จออกธุดงค์
                       หลังจากทรงบรรพชาเมื่อพระชนมายุ๕ พรรษาแล้ว ก็เริ่มปฏิบัติธรรมทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธศึกษาค้นคว้าแตกฉานเร็วมากด้วยเหตุแห่งการสั่งสมบารมีมามาก เป็น             เอนกอนันตชาติและทรงทราบว่าพระองค์มาจุติหรืออุบัติขึ้นเพื่อเจริญพระศาสนา จึงเร่งศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานแยกแยะความถูกต้องและผิดพลาดจากการบันทึก ไว้ในพระไตรปิฎกเร่งฝึกวิปัสสนาพระกรรมฐานความรู้แจ้งเห็นจริงก็ปรากฏขึ้นใน ดวงจิตที่มุ่งมั่นสะอาดและบริสุทธิ์
                       ทำให้เกิดการรู้เห็นอดีต-ปัจจุบันและอนาคตยิ่งกว่านั้นรู้ว่าพระองค์มี หน้าที่อะไรจะต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างไรจะต้องโปรดบริวารลูกหลานอย่าง ไร จึงต้องฝึกจิตรักษาดวงจิตให้เป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดสมาธิปัญญา อย่างแก่กล้า ได้ฌาน ๔ กสิณ ๑๐ สมาบัติ ๘ สำเร็จโสฬสฌานจึงเริ่มเสด็จธุดงค์ และมุ่งมั่นไปยังแหล่งสรรพวิชา มหาวิทยาลัยตักศิลาไปอยู่ตามป่า ตามถ้ำ และในที่สุดก็ไปพบสถานที่หนึ่งซึ่งเคยบำเพ็ญภาวนามาก่อนคือถ้ำอิสีคูหา สวรรค์ เมืองกำแพงเพชรพบของเก่ามากมายและที่สำคัญคือใบลานเก่าที่ชำรุดมาก เขียนเป็นภาษาสิงหล “พระคาถาชินบัญชร” พระองค์ท่านได้นำกลับมาเรียบเรียงแก้ไขเป็นภาษามคธ-บาลี เพื่อให้อ่านง่ายและเข้าใจง่ายและได้แปลความหมายของพระคาถาที่ขลังและ ศักดิ์สิทธิ์มาเป็นร้อยแก้วเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและอานุภาพของพระคาถา ที่มีค่าท่วมหลังช้างสามารถนำไปใช้ได้ ๑๐๘ประการด้วยการสวดท่องและอธิษฐานให้ขจัดทุกข์และบำรุงสุขได้อย่าง มหัศจรรย์ผู้สวดท่องจะทราบทุกคน เพราะเป็นปัจจัตตัง และเป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้พระชนมายุ ๙ พรรษาพระอัจฉริยภาพในการเทศนา         
            หลังจากได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรก็มุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าทางด้านปริยัติ  ปฏิบัติและปฏิเวธอย่าง มุ่งมั่นอาจหาญและมั่นคง จึงทำให้ทรงแตกฉานและเพลิดเพลินในพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างรวดเร็วและลึกซึ้งมากจดจำได้แม่นยำเพราะความเป็นพระอัจฉริยะ โดยการ สั่งสมบารมีญาณอยู่ในขันธสันดานอย่างมั่นคงและแก่กล้า มาเป็นเอนกอนันตชาติทรงมีพระปัญญาคมกล้าเป็นยอดเยี่ยม จึงสามารถบรรลุมรรคผลอย่างรวดเร็ว โดยการเริ่มเทศน์จากพระคัมภีร์ใบลานจนกระทั่งเทศน์ด้วยปากเปล่าและในรูปแบบ ของปุจฉา-วิสัชนาเป็นที่ยอมรับของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ที่ได้ฟังพระสุรเสียงเป็นที่ไพเราะจับใจความชัดเจนของอักขระการเอื้อนทำนอง วรรคตอนได้ถูกต้อง ภาษาสละสลวยเนื้อหาสาระที่เทศน์ ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ หรือพระเจ้า ๑๐ ชาติ  ก็สามารถเทศน์ให้ญาติโยมได้รับฟังอย่างจับจิตจับใจและฟังอย่างมีความสุขและ จดจำเนื้อหาที่เทศน์ได้ และกอร์ปด้วยพระอัจฉริยภาพที่สง่างาม น่ารักของ “สามเณรจิ๋ว ”
พระชนมายุ ๑๙ พรรษาสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑
           สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี เมื่อ ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว  ทรงมุ่งมั่นในการศึกษาพระธรรม และฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผงวิเศษต่างๆ เช่น สร้างดินสอพองขึ้นมาเพื่อเขียนกระดานชนวนลงเลขยันต์ลบเก็บผงไว้เป็นผงวิเศษ ได้ชื่อว่าผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห มหาราช พุทธคุณผงเหล่านี้ เรียกว่าเป็นผงวิเศษ หรือผงศักดิ์สิทธิ์นอกจากจะสร้างผงขึ้นมาด้วยอำนาจจิต จากความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาด้วยพระองค์เองและผงวิเศษที่ได้ถวายมาจากพระ อาจารย์ก็ได้เก็บสะสมไว้โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเอาไว้สร้างพระ           
         พระองค์ท่านได้ตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนแตกฉานว่องไวมาก ได้รับคำชมจากพระอาจารย์ หลายพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือพระอาจารย์สังฆราช สุก ไก่ เถื่อน พระอาจารย์ เฒ่าพระอาจารย์แสง เป็นต้น นอกจากนี้ก็ได้รวบรวมพวกเกสรร้อยแปด ดินเจ็ดโป่งเจ็ดท่าดินใจกลางเมือง ดินกำฤาษี หรือผงวิเศษจากเทพยดานิมิตให้ ไปเอาจากตามป่าตามเขาตามถ้ำต่างๆ อยู่ในพระหัตถ์ของพระประธาน ไคลเสมา ไคลโบสถ์ ดินใจกลางเมืองว่านยาต่างๆ โดยออกธุดงค์ไปยังป่าเมืองต่างๆ เช่น กาญจนบุรีสุพรรณเมื่อพระองค์ท่านรวบรวมวัตถุมงคลได้มากพอสมควรก็เริ่มแกะแม่ พิมพ์ด้วยพระองค์เองแม่พิมพ์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นแม่พิมพ์เนื้อผงเกือบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ทำจากแม่พิมพ์ หินชนวน หรือ หินลับมีด หรือทองเหลือง อย่างที่บางคนเข้าใจหรือหนังสือบางเล่มเขียนไว้หรือเมื่อสร้างพระเสร็จแล้ว ก็ทุบหรือเผาแม่พิมพ์ทิ้งกลัวว่าคนอื่นจะนำไปลอกเลียนแบบ(นั่นเป็นความคิด ความเข้าใจของท่านที่คิดหรือเข้าใจว่าพระองค์ท่านเป็นพระสงฆ์ธรรมดา)พระสมเด็จที่พระองค์สร้างก็เลียนแบบศึกษามาจากพระอาจารย์คือสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อนเพราะ มีแม่พิมพ์จำนวนหลายแม่พิมพ์ที่ได้รับการถวายจากสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน และยิ่งไปกว่านั้นพระบางพิมพ์พระอาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อน ได้มอบหมายให้มหาโต สัพพัญญู สำนักวัดระฆัง กดพิมพ์แต่ผู้เดียว เป็นต้น
          สำหรับการสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑ นั้นพระองค์ ท่านมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษาเท่านั้น พระสมเด็จรุ่น ๑ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ หรือ จารึกไว้ที่หลังแม่พิมพ์ว่า ร.ศ ๒๔ การสร้างพระใน   ร.ศ ๒๔ นั้นได้สร้างพระไว้จำนวนมากและทรงจารไว้หลังแม่พิมพ์ว่า “แม่พิมพ์สมเด็จพิมพ์ทรงใหญ่” “แม่พิมพ์สมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์”“แม่พิมพ์ทรงนิยม” “แม่พิมพ์ทรงไกรเซอร์”“แม่พิมพ์ทรงปรกโพธิ์” “แม่พิมพ์สังฆาฏิ”“แม่พิมพ์เกศไชโย” “แม่พิมพ์ขุนแผน” “แม่พิมพ์ซุ้มกอ” “แม่พิมพ์พระรอด” “แม่พิมพ์ทุ่งเศรษฐี” “แม่พิมพ์นางพญา” “แม่พิมพ์ผงสุพรรณ” เป็นต้นพร้อมทั้งลงพระนามเป็นอักษรตัว “ต” ไว้ด้วย เช่น “แม่พิมพ์สมเด็จ ต  ร.ศ ๒๔”  “แม่พิมพ์ทรงไกรเซอร์ ร.ศ ๒๔ ต” เป็นต้น
          ใน การสร้างพระจำนวนมาก ๆ เหล่านี้จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านต้องใช้ความอดทนพากเพียรพยายามอย่างมากใช้ พลังจิตอย่างสูงและแกร่งกล้า เป็นธรรมดาคนที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นก็ต้องกังขาว่าพระสมเด็จรุ่น ๑ มีจริงหรือ? เห็นแต่เป็นเหรียญรุ่น ๑ที่คนพูดกันของพระเกจิอาจารย์องค์นั้นองค์นี้  พระสมเด็จรุ่น ๑ นั้นทำด้วยเนื้อผง บางองค์แกะพิมพ์สวยงามประณีตบรรจง บางองค์พิมพ์ก็โย้บางพิมพ์ก็หนา บางพิมพ์ก็บาง แต่จะเป็นพิมพ์หนา พิมพ์บาง หรือพิมพ์โย้ก็ตามมวลสารเนื้อหาที่ใช้สร้างหรือกดพิมพ์จะเหมือนๆ กันเกือบทั้งหมดเพราะพระองค์ท่านมีสูตรเฉพาะในการสร้างพระ
          ทำไมจึงเชื่อว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น ๑ เหตุที่เชื่อว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น ๑ เพราะ ทรงจารไว้ด้านหลังแม่พิมพ์และพระองค์ท่านลงพระนามไว้ด้วยได้หา ดินน้ำมันมากดพิมพ์เพื่อเทียบกับพระที่มีอยู่เป็นแสนเป็นล้านองค์ใช้เวลา เทียบแม่พิมพ์ค้นหา ๑ ปี เต็มๆ จึงแยกพระออกได้เป็นพิมพ์ต่างๆ ตั้งแต่ แม่พิมพ์รุ่น ๑ ใน ร.ศ ๒๔ หรือ พ.ศ. ๒๓๔๙ แม่พิมพ์ พ.ศ. ๒๓๗๖ ,๒๓๗๘ หรือ ร.ศ ๙๑ รุ่นสุดท้าย ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๕ สำหรับพระสมเด็จรุ่น ๑นั้นที่มีอยู่ในขณะนี้ได้มาประมาณ ๙ พิมพ์ และบางพิมพ์ก็จะมีเพียง ๒ องค์บางพิมพ์อาจจะมี ๑๐ องค์ บางพิมพ์มี เป็น ๑๐๐ องค์ แต่ละองค์แม่พิมพ์จะถูกจารไว้ว่าเป็น“แม่พิมพ์พระสมเด็จรุ่น ๑ ”  ทั้ง นั้น(หากไม่มีการจารไว้บนหลังแม่พิมพ์ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่ใช่พระ สมเด็จรุ่น ๑)  สำหรับในการสร้างพระ พ.ศ. ๒๓๔๙ หรือ ร.ศ ๒๔ที่พระองค์ท่านบันทึกจารึกไว้ในหลังแม่พิมพ์เนื้อผงที่มีอยู่ในขณะนี้ จำนวน๓๐๔แม่พิมพ์ ตรงนี้เป็นการยืนยันให้เห็นว่า พระองค์ท่านสร้างพระเมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ยังทรงเป็นสามเณร และยังไม่ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์หนังสือ หลายเล่มเขียนไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สร้างพระเมื่อมีพระชนมายุมากแล้วบางเล่มก็เขียนว่า ๓๘ บางเล่มบอกว่า ๕๐ กว่า บางเล่มบอกว่าตอนท้ายๆของพระชนมายุของท่านตอน พ.ศ. ๒๔๑๐,๒๔๑๑, ๒๔๑๒ เป็นต้นน่าจะไม่ถูกต้องไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะจากหลักฐานที่ผมมีอยู่ ในช่วง อายุมากๆนั้น ส่วนใหญ่พระองค์ท่านจะออกธุดงค์ จะโปรดบรรดาสรรพสัตว์ในป่าดงดิบไปอยู่ตามถ้ำตามเขา ไปยังลาว เขมร พม่า อินเดีย จีน แม้กระทั่งอย่างวัดเส้าหลินประเทศจีน เมืองเทียนฟง เป็นต้น         

           ขอย้ำอีกครั้งว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ หรือ ตรงกับ ร.ศ ๒๔ พระองค์ท่านยังเป็นสามเณร  พระชนมายุ ๑๙ พรรษา มี อำนาจจิตแก่กล้า พระปรีชาสามารถอย่างมาก เฉลียวฉลาด องอาจนักยากแก่การคาดคะเนหรือเดาได้ เพราะฉายแววแห่งความเป็นอัจฉริยะและบุญญาธิการมาตั้งแต่เด็ก และได้สร้างพระไว้จำนวนมากมายซึ่งผิดกับมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งผมได้ย้ำไว้ในบทนำว่า พระองค์ท่านไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมดา อย่างที่หลายคนเข้าใจ เมื่อมองว่าพระองค์ท่านเป็นพระสงฆ์ธรรมดาจึงตามพระองค์ท่านไม่ทันจะไม่มีวันเข้าใจและจะไม่รู้จักพระองค์ท่านเลย….!!!
            ผู้ รู้บางคนบอกว่าเป็นไปได้อย่างไร เรื่อง ร.ศ เพิ่งมีใช้ในรัชกาลที่ ๕ อย่างเป็นทางราชการ เรื่อง   ร.ศ ที่บันทึกไว้หลังแม่พิมพ์จึงกลายเป็นเรื่อง เหลวไหล (กลัวว่าคนอื่น จะหลอกหรือครับ) ก็นั่นแหละครับ ไปปิดกั้นทางเดินของคลื่นแม่เหล็กในสมอง เสียก่อน ใจเลยไม่เปิดกว้างมัจฉริยทิฐิจึงเข้าครอบงำ ตา หู และใจจึงทำให้ปฏิเสธสิ่งที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินว่า เหลวไหลแล้วตะโกนบอกคนทั่วไปว่า ผมเคารพเทิดทูน สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีมากได้อย่างไร อย่าว่าแต่แค่เรื่อง ร.ศ เลย สำหรับพระองค์ท่านแล้ว ภายใต้พระอาทิตย์ดวงนี้ไม่มีอะไรที่พระองค์ท่านจะทราบและกำหนดรู้ไม่ได้
          สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี เป็น พระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ทรงคุ้นเคยมาทั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาโตเป็นผู้ไม่ปรารถนาลาภ ยศสมณศักดิ์ใดๆเมื่อเรียนรู้พระปริยัติมาแล้วก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่รับเป็นฐานานุกรมเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ พระมหาโตได้ทูลขอตัวมิยอมรับตำแหน่ง หรือเลี่ยงโดยออกธุดงค์ไปตามวัดในชนบทห่างไกลทุกคราวไป จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระ มหาโตจึงยอมรับพระมหากรุณา
          สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี มี อัธยาศัยมักน้อยเป็นปกติลาภสักการะที่ได้มาในทางเทศนาก็นำไปสร้างสิ่งเกี่ยว เนื่องด้วยพระศาสนาจึงมีผู้นับถือศรัทธามาก บางคนเรียกท่านว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอย่างไรก็ทำตามความพอใจไม่ถือตาม ความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่
         ในปีพุทธศักราช 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งพระมหา โตเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในปีขาล พุทธศักราช 2397 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวีศรี นายกตรีปิฎกปรีชามหาคณฤศร บวรสังฆราชคามวาสี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน)วัดสระเกศ มรณภาพ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 10 ขึ้น 9 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๐๗
           สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้ สร้างวัดและสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาจำนวนมาก เช่น  หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหารบางขุนพรหม พระโตนั่งกลางแจ้งวัดไชโย จังหวัดอ่างทอง พระเจดีย์นอน วัดลครทำ ฯลฯนอกจากศาสนวัตถุต่างๆ แล้ว สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)ยังได้รจนาบทสวดพระคาถาหลายบทแต่ที่เป็นที่รู้จักและถือว่าเป็น พระคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง และนิยมสวดภาวนาในหมู่พุทธศานิกชนคือพระคาถาชินบัญชร ด้วย ความที่พระองค์ท่านเป็น       ปูชนียบุคคลที่พระพุทธศาสนิกชนกล่าวขวัญถึงใน ชื่อ “สมเด็จฯโตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามและเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่มีความรอบรู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติความเป็นเลิศในการเทศนา ได้รับการยกย่องสรรเสริญในสติปัญญาและปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลมเปี่ยมด้วย เมตตากรุณาแก่ผู้ตกยากมีอัธยาศัยมักน้อยสันโดษท่านถือปฏิบัติในข้อธุดงควัตร ทุกประการคือ ฉันในบาตร ถือผ้าสามผืนออกธุดงค์ เยี่ยมป่าช้า นั่งภาวนา เดินจงกรมจนวาระสุดท้ายท่านมรณภาพเมื่อวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น.ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่  ๑๙ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๑๕  สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ
สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พระราชสมภพเพื่อพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงเพราะ
พระองค์ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ๕ ชันษา และทรงอุปสมบทเป็นพระเมื่อพระ   ชนมายุ๒๐ ชันษา ปฏิบัติศาสนกิจอย่างต่อเนื่องโดยตลอดพระชนม์ชีพทรงมีผลงานทั้งเรื่องการให้ พระธรรมคำสอนโดยการเทศนาโปรด ทั้งในระเทศและต่างประเทศทรงสร้างวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมากในพระอิริยาบท ต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน และนอนและทรงสร้างพระพุทธรูปขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ไว้เป็นจำนวนมากจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ (พระชนมายุ ๘๕ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๑๕)
เมื่อพระองค์ท่านสร้างพระและวัตถุมงคลต่าง ๆไว้จำนวนมากจึงทำให้คนที่รู้และเข้าใจ ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าอันมหาศาลก็จะเก็บรักษาและหวงแหนเป็นที่สุด ทำให้เกิดอาชีพ ทำให้คนมีงานทำสร้างรายได้นำไปจุนเจือเลี้ยงครอบครัวส่วนคนที่ไม่รู้ไม่เห็น คุณค่าก็ไม่ให้ความสนใจ และไม่ไยดีและในการที่พระองค์ท่านได้สร้างพระและวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้คนบางคนเกิดความไม่แน่ใจว่าพระและวัตถุมงคลเหล่านั้นพระองค์ท่าน สร้างไว้จริงหรือไม่และสร้างไว้เป็นจำนวนมากมายอย่างนั้นจริงหรือ? เพราะเขา ได้ยินมาว่า“พระองค์ท่านสร้างพระไว้จำนวนไม่มากพระองค์ท่านจะดูฤกษ์ผานาที ฤกษ์ดีก็สร้าง ๙ องค์ ๑๐ องค์ ๒๐ องค์ หมดฤกษ์แล้วก็เลิก แล้วหาฤกษ์ใหม่สร้างพระจึงมีจำนวนน้อย” ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าพระองค์ท่าน สร้างพระและวัตถุมงคลเป็นจำนวนมากนับเป็นล้านๆ องค์ โดยเฉพาะพระเครื่องและท่านผู้ที่สนใจสามารถพิจารณาวิเคราะห์ว่าเป็นพระหรือ วัตถุมงคลที่พระองค์ท่านสร้างจริงหรือไม่โดยดูได้จากส่วนประกอบและลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเก่าของเนื้อพระรูปทรงในการความเก่าของเนื้อพระ พระ ที่สร้างโดยพระองค์ท่านนั้นเนื้อของพระจะแห้งโดยธรรมชาติไม่ใช่อบด้วยความ ร้อนมีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งของที่นำไปตากแห้ง เช่น ผ้าเปียกเมื่อบิดตากแห้งจะมีริ้วรอย ย่น ยับซึ่งเกิดจากน้ำที่ระเหยออกไปจากผ้าเพราะความร้อนหรือลมผิวของพระจะแห้ง และพระบางองค์จะเห็นรอยยุบของเนื้อพระแตกอ้าหรือเป็นร่อง พระบางองค์จะเห็นเหมือนกับเนื้องอกออกมาเป็นปุ่มทั้ง นี้เกิดจากสารที่เคลือบบนผิวหรือแป้งที่โรยพิมพ์แห้งกร่อนหลุดออกไปตาม อายุขัยของพระนั้นๆหรือบางพิมพ์เนื้อจะละเอียดเนียนเรียบแน่นคล้ายหินอ่อน บางองค์ออกแห้งแกร่งบางองค์ออกแห้งหนึกนุ่มและบางองค์อาจลงรักปิดทองล่องชาด โดยทั่วๆไปขององค์พระจะเห็นมวลสารเป็นจุดดำ จุดแดง จุดเหลือง เป็นก้อนเล็กๆหรือเป็นเม็ดคล้ายเม็ดหิน แต่ใสเหมือนแก้ว เหมือนเม็ดข้าวสาร เป็นต้น

รูปทรงในการสร้าง ส่วนมากพระองค์ท่านจะสร้างเป็น รูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมหน้าจั่วทรงกลม หรือรูปหยดน้ำ เป็นต้น สำหรับพระเครื่องรุ่นแรกๆนั้นพระองค์ท่านสร้างรูปทรงค่อนข้างจะกว้างใหญ่ และหนาบางพิมพ์มีสัญลักษณ์อยู่ด้านหลังของพระ เช่นรูปกงจักร รูปช้าง มงกุฎ ตัวอักษร“ต” พระรูป ร. ๕ฝังตะกรุด ฝังก้างปลา ฝังเพชรพลอย เป็นต้น
           สำหรับ ด้านหน้าทรงกำหนดเป็นรูปทรงเป็นพระพุทธรูปแบบต่างๆ หรือปางต่างๆ เช่น ปางขัดสมาธิปางสะดุ้งมาร พระประจำวันเกิดต่างๆ พระพุทธรูปสถิตอยู่บนฐาน ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้นและ ๙ ชั้น และสำหรับพระบางพิมพ์ก็จะมีพระประจำวันเกิดองค์เล็กๆ เป็นทองเหลืองหรือเป็นทองคำติดอยู่โดยรอบพระพุทธรูปหรือที่ฐานของพระบางองค์ ก็ฝังเพชรฝังพลอยไว้ด้วย และ        
          นอกจากนี้ยังมีพระรูปเหมือนและมีดวงพระชะตาของพระองค์ท่าน หรือ พระรูปเหมือนของรัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยดวงพระชะตาของพระองค์ท่านติดอยู่ด้วย และพระบางองค์ฝังตะกรุดทองคำตะกรุดเงิน และตะกรุดที่ทำด้วยนาก บางองค์ฝังเหล็กไหล ฝังพระธาตุและมีเส้นพระเกศาของพระองค์ท่านด้วย
          สำหรับ รูปทรงที่นักเล่นพระหรือนักสะสมพระหวงแหนรักษากำหนดราคาเช่าซื้อแลกเปลี่ยน กันด้วยเงินเป็นเรือนพัน เรือนหมื่น เรือนแสนและเรือนล้านนั้นคือ  พระ สมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์ทรงนิยม พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์เส้นด้ายพิมพ์ทรงฐานแซมพิมพ์เกศไชโย พิมพ์ทรงไกรเซอร์ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์พระประธาน  และพระสมเด็จอะระหัง เป็นต้น (เสนอตามหลักฐานที่มีอยู่ขณะนี้)
         สำหรับอิทธิวัตถุมงคลที่ใช้ในการสร้างพระนั้นพระองค์ ท่านได้สะสมรวบรวมอิทธิวัตถุมงคลสำหรับสร้างพระมาตั้งแต่พระองค์ท่านยังเป็น สามเณรโดยทรงได้มาจากพระอาจารย์บ้าง ได้จากพระฤาษีบ้างได้มาจากองค์เทพยดาเจ้านิมิตให้ตามสถานที่ต่างๆ บ้าง นำมาถวายบ้างและที่สำคัญพระองค์ท่านทรงสร้างด้วยพระองค์เองโดยใช้ความพาก เพียรวิริยะอุตสาหะอย่างมากและได้แสวงหาอิทธิวัตถุมงคลเหล่านั้นจากสถานที่ ต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย
          พระอาจารย์ของพระองค์ท่านที่มอบอิทธิวัตถุมงคลให้เช่น ได้รับจากพระอาจารย์ สังฆราช สุก ไก่เถื่อน พระอาจารย์เฒ่า อายุ ๑๑๗ ปีจังหวัดอยุธยา พระอาจารย์แสง พระอาจารย์คง พระอาจารย์คำศีร จากเชียงใหม่พระอาจารย์ขัวใหญ่ จังหวัดอยุธยา เป็นต้น
          ทรงได้รับจากพระฤาษีเช่น พระฤาษีสัตตนะ พระฤาษีพิกุล พระฤาษีพิลาลัย พระฤาษีบรรลัยโกฎิ พระฤาษีตาวัวพระฤาษีตาไฟ พระฤาษีมัตตะ จากสุโขทัย
          ทรง ได้รับนิมิตจากองค์เทพยดาเจ้าให้ไปนำอิทธิวัตถุมงคลเช่น ทอง เงิน นาก เพชร นิล ไม้แก่นจันทน์ ไม้กาหลง ว่าน เกสรในสถานที่ต่างๆ เช่นในถ้ำ มีถ้ำ ๑๒ คูหา ถ้ำป่ายางโดน ถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ ในยอดปราสาทในพระหัตถ์พระประธานโบสถ์วัดต่างๆและที่สำคัญพระองค์ท่านได้รับ อิทธิวัตถุมงคลซึ่งอัญเชิญมาจากสวรรค์ และน้ำก้อนซึ่งได้รับพระราชทานจากพระพรหม เป็นต้น
            อิทธิวัตถุมงคลที่ทรงสร้างและแสวงหาด้วยพระองค์เองนั้นทรงได้มาด้วยความพาก เพียรพยายาม ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะอย่างมากและบางครั้งยังทรงใช้อิทธิฤทธิปาฏิหารย์ ในการได้มาซึ่งอิทธิวัตถุมงคลเหล่านั้นเช่น ผงวิเศษจำนวน ๕ อย่าง มี ผงอิถิเจ๑  ผงปัถมัง๑ ผงตรีนิสิงเห๑ ผงมหาราช๑ผงพุทธคุณ๑ ส่วนที่พระองค์ท่านแสวงหาด้วยพระองค์เองด้วยความยากลำบากอย่างมากเช่นว่านยา ๑๐๘ ผงเกสร ๑๐๘ ดินเจ็ดโป่งเจ็ดท่า ไคลเสมา ไคลเจดีย์พระเก่าเมืองกำแพงเพชร ดินเจ็ดป่าช้า   ดินใจกลางเมืองเจ็ดเมืองเถ้าถ่านขุนแผนย่างกุมารทองที่วัด ป่าเลไลก์ น้ำผึ้งจากรังผึ้งโดยทรงใช้ใบตองรองน้ำพระพุทธมนต์ตามหัวเมืองต่างๆ เปลือกหอย และเปลือกมุกจากใจกลางสะดือทะเลและหินจากใต้พิภพ เป็นต้น
          สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีทรงมีเป้าหมายอย่างแท้จริงว่า ต้องการสร้างพระให้เป็นเครื่องผูกใจมนุษย์ ให้ทำดีละชั่วไม่ได้มุ่งให้มนุษย์ติดอยู่ในวัตถุ ให้มุ่งสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรม ตามมรรค ๘เพราะ พระองค์ท่านบันทึกไว้ในแผ่นจารึกที่มีอยู่ในมือผมโดยในขณะนั้นพระองค์ท่าน เสด็จธุดงค์ไปยังป่าเมืองกาญจนบุรีผมขอคัดลอกมาแสดงไว้เป็นบางส่วน ณ ที่นี้
          “วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุล ตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับ วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ ๗๐ รัชกาลที่ ๔ อาตมาได้ออกเดินธุดงค์มายังเมืองกาญจน์ เขากะโหลกอาตมาได้พักคืนที่ตีนเขา อาตมาได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นสิ้นลงก็ได้นั่งคิดอยู่ภายในใจว่า จะทำการสร้างสิ่งอันเป็นเครื่องผูกใจมนุษย์ซึ่งยังเป็นปุถุชน (ดอกบัวใต้น้ำ) อยู่มาก ได้มีไว้ติดตัวเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติครุ่นคิดว่าจะทำอย่างไรจนหลับไปราวๆยามสาม อาตมาได้นิมิตจนต้องตื่นขึ้น” แล้วพระองค์ท่านเสด็จขึ้นไปบนยอดเขา และได้พบตามที่ ท่านชินปัญชระบอกไว้จริง

                                                                   คติธรรมคำสอน
                                  “หมั่นสร้างบารมีไว้......แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง”
         “ลูกเอ๋ย...ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมา ช่วย  หากไม่เช่นนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้ หนี้เขาจนหมด  ไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่น สร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
            จงจำไว้นะ...เมื่อยัง ไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้...ครั้งถึงเวลา....ทั่วฟ้าจบ ดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน  เมื่อบุญเราไม่เคยสร้าง ไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”
                                                            เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
            ท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์  (โต) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอด ในทางธรรม คือ  จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่  และมีขันติธรรมอันมั่นคง  จึงจะ ฝ่าฟันอุปสรรค  บรรลุความสำเร็จได้  อาตมามีกฎอยู่ว่า  เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะ ตก  ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาวต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรง น้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่ง ชั่วโมง  พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต  เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า
หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
1. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
2. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
3. พยายาม ตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะ เป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา  เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง
ทางแห่งความหลุดพ้น
            เจ้า ประคุณสมเด็จฯมักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า  ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีล  สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจาก สังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า  มนุษย์อาบน้ำ  ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อ กำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย  แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้ เพียงนาที  ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่ง เครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น กัน  จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งและกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน
กรรมลิขิต
            เรา ทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว  ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้ง สิ้น  ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง  แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไป ตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้  ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต
                                                      อดีตกรรม  ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
                                                      ปัจจุบันกรรม  สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
                                                      อดีตกรรม  กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
                                                      ปัจจุบัน  สร้างกรรมดี ย่อมผดุง
 เรื่องกฎแห่งกรรม  ถ้าเป็นชาวพุทธแล้วเขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้  ต้องทำเอง  รู้เอง ถึงเอง  แล้วจึงจะเข้าใจ
นักบุญ
            การ ทำบุญก็ดี  การทำสิ่งใดก็ดี  ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ  ทำเพื่อให้จิต เบิกบาน  ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ  มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส  ดังนั้น บาง คนนึกว่าเขาสร้างโบสถ์เป็นหลัง ๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า  เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก  เพราะอะไรเล่า เพราะ ถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวย ความสุขส่วนตัวก็มี  บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อในเสือ  คือข้างหน้าเป็น นักบุญ  ข้างหลังเป็นนักปล้น
ละความตระหนี่มีสุข
            ดัง นั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า  ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม  บุญนั้น จึงมี กระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่าบุญ  นี้ดีแล้ว การ ทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่  รู้จักเสียสละ เพื่อความสุขของผู้อื่น  ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะ ทุกข์ด้วย  เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน
อย่าเอาเปรียบเทวดา
            ใน การทำบุญ  สิ่งที่จะได้ก็คือ  ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์  เรารู้ว่าสิ่งที่ เราทำนี้จะเป็นมงคล  ทำให้จิตใจเบิกบานดี  นี่คือการเสวยผลแห่งบุญใน ปัจจุบัน  ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น  มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบ เทวดา  ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้ เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ  บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล  ท่านอย่าลืมว่า  ใน โลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญ และบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตน ๆ นั้น  ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย
บุญบริสุทธิ์
            การ ที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิ์เป็นขั้น ที่หนึ่ง  จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ  แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบัน ชาติ  ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ  คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไป แล้ว ฉะนั้น  เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้าทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน  สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน
สั่งสมบารมี
            โดย เฉพาะอย่างยิ่ง  สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่ง เสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น  เป็นบารมีอย่างหนึ่ง  ในบารมี สิบทัศที่ต้องสั่งสม  เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน
เมตตาบารมี
            การ ทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า  ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และ โดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สัก แต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการ บำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน
แผ่เมตตาจิต
            ทุก สิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น  เกิดจากกรรม 3  อย่าง  คือ มโนกรรม  เป็น ใหญ่  แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม  หรือกายกรรมที่เป็นรูป  การบำเพ็ญสมาธิ จิตเป็นกุศลดีกว่า  เพราะว่าการแผ่เมตตา  1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้าง โบสถ์  1  หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้นจะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษ ภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย  ฉะนั้น  เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า
อานิสงส์การแผ่เมตตา
            ผู้ ปฏิบัติธรรมนั้น  ต้องรู้จักคำว่า  แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวก วังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและ วิญญาณกระจายออกไป  เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์  เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน  เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา  เสมือน หนึ่งเราให้เขากินอาหาร  คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา  หรืออีกนัย หนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขา ๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุก ๆ วัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวง วิญญาณทุก ๆ ดวง  ดวงวิญญาณทุก ๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจาก สังขาร  เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต  วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง ๔  นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น  ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ  จิตแน่วแน่แล้ว  โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป  ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว  คือ ไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย  หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้ มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘