ทึ่ง !!! ชีวิตที่ดี ขึ้นอยู่กับอะไร ? ผลงานวิจัยที่นานที่สุดในโลก กว่า 75 ปี




ทึ่ง !!! ชีวิตที่ดี ขึ้นอยู่กับอะไร ? ผลงานวิจัยที่นานที่สุดในโลก กว่า 75 ปี ของศาสตราจารย์ นายแพทย์โรเบิร์ด วาลดินเจอร์ 
ใน วัย 75 ปี ศาสตราจาาย์นายแพทย์โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ รับบทบาทหลายเป็น จิตแพทย์ นักจิตวิเคราะห์ หรือ พระนิกายเซน ทว่า บทบาทที่สวมขึ้นมาพูดปาถกฐา บนเวที  TEDTalk  นั้น คือ บทบาทผู้อำนวยการ "โครงการศึกษาการพัฒนาในผู้ใหญ่ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด" หรือDirector of Harvard Study of Adult Development
โดยหัวข้อที่พูดคือ “What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness”หรือ“ชีวิตที่ดีเกิดจากอะไร บทเรียนจากงานวิจัย เกี่ยวกับความสุขที่ยาวที่สุดในโลก”โรเบิร์ตเริ่มต้น ด้วยการเล่าถึงผลจากงานวิจัยในช่วงหลัง ๆ ที่ เด็ก หรือ คนสมัยนี้กว่า 80%บอกว่าเป้าหมายในชีวิตของพวกเขา คือ “ความร่ำรวย”และอีกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ บอกว่า “ต้องการมีชื่อเสียง”นั่น ทำให้คนจำนวนมากต้องทำงานหนัก หรือทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง “ความร่ำรวย ” และ “ความโด่งดัง”ซึ่งถือเป็นนิยามของ “ชีวิตที่ดี” ในมุมมองของคนในยุค Millennial นั่นเพราะสื่อต่าง ๆ ชอบนำเสนอแต่เรื่องของคนรวย คนที่ประสบความสำเร็จ คนดัง จนคนส่วนใหญ่เชื่อว่านั่นคือหนทางเดียวที่จะมีความสุข แต่คำถามก็คือ  “ความร่ำรวย”  “ความโด่งดัง” ใช่คำตอบจริง ๆ หรือไม่?
สำหรับ โรเบิร์ต สิ่งที่จะตอบคำถามข้อนี้ได้ดีที่สุด คือ โครงการ วิจัยที่เขาเป็นผู้อำนวยการอยู่ Harvard Study of Adult Development ที่ถือว่าเป็นโครงการศึกษาวิจัย ชีวิตของผู้ใหญ่ที่ยาวที่สุดใน ประวัติศาสตร์โลกโครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1938 โดยผู้ริเริ่มโครงการวิจัยได้ติดตามศึกษา ชีวิตของวัยรุ่นชายสองกลุ่ม
กลุ่มแรก; เป็นนักศึกษาชายปีที่สอง ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดจำนวน 268 คน ซึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษาจากสถาบันที่มีชื่อเสียง
กลุ่มที่สอง; เป็นเด็กวัยรุ่นอายุราว 12 – 16 ปี ที่ เติบโตขึ้นมาในเมืองบอสตันจำนวน 456 คนที่เติบโตขึ้นมาด้วยความยากลำบาก และ ยากจนค่นแค้นแสนสาหัส ทุก ๆ 2 ปี ทีมนักวิจัยจะขอให้ผู้ถูกวิจัยจำนวน  724 คนนี้ ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความพอใจในชีวิตพวกเขาไม่ว่าจะเป็นความพอใจใน ชีวิต ในชีวิตแต่งงาน ความพอใจในหน้าที่การงานหรือ แม้แต่ความพอใจทางสังคม และ หลายครั้งที่ทีมนักวิจัยได้ขอไปสัมภาษณ์พวกเขาถึงที่ห้องรับแขกเพื่อถือ โอกาสพูดคุยกับภรรยา หรือ ลูก ๆ หลาน ๆ ของพวกเขาด้วย
นอกจากนี้ทุก ๆ 5 ปี จะมีการตรวจสอบสุขภาพของพวกเขาเหล่านี้ ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ หรือ แม้แต่ผลการ X-ray หรือ แสกนสมองโดยตลอดเวลาที่ทำการติดตามพวกเขาเหล่านี้ ทีมนักวิจัยได้เห็นพวกเขา เติบโตขึ้นไปประกอบอาชีพต่าง ๆ บ้างเป็นคนงานในโรงงาน บ้างเป็นทนายบ้างเป็นช่างปูน บ้างเป็นหมอ และ มีหนึ่งคนเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐบางคนในจำนวนนั้นกลายเป็นคนติด เหล้า และสามสี่คนมีอาการทางประสาทจำนวนไม่น้อยที่สร้างเนื้อสร้างตัวจน สามารถไต่ระดับทางสังคมขึ้นมาได้ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่เลือกทาง เดินที่ตรงข้ามซึ่ง
ความมหัศจรรย์ของการวิจัยแบบนี้คือเป็นงานวิจัยระยะยาวซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักส่วนใหญ่มักจะเลิกไปภายใน 10-20 ปีเพราะผู้ถูกวิจัยไม่ยอมให้วิจัยต่อบ้าง เงินทุนวิจัยหมดบ้าง คนทำวิจัยหันไปทำเรื่องอื่น หรือ แม้แต่เสียชีวิตแต่ Harvard Study of Adult Development กลับดำเนินมากว่า 75 ปีแล้ว
โดย ผู้ถูกวิจัยจำนวน 724 คนนั้นเหลือชีวิตรอดเพียงแค่ 60 คนเท่านั้นซึ่งผู้เหลือรอดเกือบทั้งหมดอยู่ในวัย 90 ปีขึ้นไปมากกว่า โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์  ผู้อำนวยการวิจัยรุ่นที่ 4 (ซึ่งยังไม่เกิดด้วยซ้ำเมื่องานวิจัยชิ้นนี้เริ่มต้น)แล้วอะไร ที่บรรดานักวิจัยหลายรุ่นเรียนรู้จากเรื่องราวกว่า 70 ปีของกว่า 700 ชีวิตผ่านทางเอกสาร และ ข้อมูลเป็นหมื่น ๆ หน้าพวกเขาเรียนรู้ว่า “ความร่ำรวย” “ความโด่งดัง” หรือ “แม้แต่การทำงานอย่างหนักหน่วง” ไม่ใช่คำตอบของการมีชีวิตที่ดี หรือ สุขภาพที่ดีแม้แต่นิดเดียวแต่เป็น “ความสัมพันธ์ที่ดี” ต่างหากที่นำมาซึ่งสิ่งเหล่านั้น“Good relationships keep us happier and healthier.”ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรเบิร์ต บอกต่อว่าพวกเขาได้เรียนรู้อีก 3 บทเรียนล้ำค่าที่มีผลกับความสัมพันธ์(Relationship) นั่นก็คือ
         1. Connection is really good for us, loneliness kills คุณจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง เพื่อน ครอบครัว หรือ สังคมก็ตามซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้แหล่ะจะทำให้คุณมีความสุขกว่า แข็งแรงกว่า และ มีอายุที่ยืนยาวกว่า ในทางกลับกันความเหงา และ โดดเดี่ยวนั้นเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะมันจะทำให้คุณมีความสุขน้อยลง ทำให้ร่างกายคุณเริ่มแย่ลงตั้งแต่วัยกลางคน  สมองเสื่อมเร็วขึ้น และ มีชีวิตสั้นกว่า
         2. Quality Not Quantity มันไม่สำคัญที่ปริมาณ  หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ เช่น ต้องแต่งงานเท่านั้นแต่เป็น “คุณภาพของความสัมพันธ์” ต่าง หากที่จะเป็นตัวบ่งชี้งานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่าหากว่าคุณอยู่ในความ สัมพันธ์แบบสามีภรรยาที่แย่ มันก็ส่งผลลบกับคุณมากกว่าการหย่าร้างที่เข้าใจกันเสียอีก
         3. Good relationships don’t just protect our bodies they protect our brains หากคุณมีความสัมพันธ์อบอุ่น และมั่นคงกับใครซักคนที่คุณสามารถไว้ใจและพึ่งพาได้ ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีสุขภาพกายที่ดีเท่านั้น แต่ยังดีต่อสมองของคุณด้วยความสัมพันธ์จะทำให้ความจำของคุณยังดีอยู่ สมองของคุณยังทำงานได้ดีอยู่ซึ่ง ความสัมพันธ์ที่ดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความสัมพันธ์ที่ราบรื่นสุด ๆไม่ทะเลาะกันเลย แต่เป็นความสัมพันธ์ที่คุณรู้ว่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ จริง ๆ คุณจะมีคนที่พึ่งพาได้นั่นคือสิ่งที่ โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ และทีมงานวิจัยของ ฮาวาร์ด ค้นพบ ซึ่งโรเบิร์ต บอกว่าจริง ๆ แล้ว ผู้ถูกวิจัยเหล่านี้ในช่วงที่ยังเป็นวัยรุ่น หรือ เริ่มเป็นผู้ใหญ่ใหม่ ๆ นั้นก็เชื่อเหมือนกับที่คนในยุคนี้เชื่อว่า เงินทอง และ ชื่อเสียง จะทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ และ มีชีวิตที่ดีแต่ความ จริงที่พบจากการศึกษากว่า 75 ปี กลับกลายเป็นว่า คนที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ และคนรอบข้างของพวกเขา ต่างหาก คือ คนที่มีชีวิตที่ดีที่สุดโรเบิร์ต ชวนคิดว่า...สิ่งที่ทำให้คนเรามองข้ามความสำคัญของ “ความสัมพันธ์ที่ดี”แล้วหันไปใส่ใจกับ ชื่อเสียง เงินทอง หรือ หน้าที่การงานมากกว่าอาจเพราะจริง ๆ แล้ว การมีความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ยาก และ ไม่รู้จบแถมยังต้องได้รับการใส่ใจตลอดเวลาจนหลายคนเลือกจะทำงาน หรือ หาเงินมากกว่า
 การใส่ใจ และทำความสัมพันธ์ให้ดีก็อาจไม่ได้ยากขนาดนั้น
         แค่เงยหน้าจากจอมือถือ แล้วสบตาคนรอบตัวคุณมากขึ้นหาอะไรใหม่ ๆ ทำร่วมกันเพื่อให้ความสัมพันธ์ที่จืดจางกลับมามีสีสันอีกครั้ง อะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเงินอย่างชวนคนที่คุณรักไปเดินเล่นตอนกลางคืน หรือ ติดต่อหาสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้คุยกันมานานแล้ว
         จริง ๆ แล้วชีวิตเราก็เหมือนที่ "มาร์ก เทวน" บอกว่า...
         "มันช่างสั้น และก็สั้นเหลือเกิน สั้นเกินกว่าที่จะ โกรธกัน ทะเลาะกัน หรืออิจฉาริษยากันควรจะมีแต่เวลาที่ใช้รักกันเท่านั้นซึ่งแค่นั้น...มันก็ แทบจะไม่พออยู่แล้ว"
        นั่นคือสิ่งที่ โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ พูดในสไตล์ของเขา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘