----------- วอร์เร็นบัฟเฟตต์อภิมหาเศรษฐีใจบุญ #10.5 ----------

" บัฟเฟตต์ไม่ได้รู้รายละเอียดนักในเรื่องที่เขาจะมารับผิดชอบ แต่ท่าทีผ่อนคลายของเขาทำให้ผู้คนอุ่นใจ เป็นครั้งแรกในหลายสัปดาห์ที่ฝ่ายบริหารรู้สึกว่า ชีวิตนี้ยังพอมีความหวัง "

----------- วอร์เร็นบัฟเฟตต์อภิมหาเศรษฐีใจบุญ #10.5 ----------

- ซาโลมอนมีการจ่ายโบนัสก้อนโตให้ฝ่ายค้าหุ้นมากกว่าแผนกอื่น ทำให้ พอล โมเซอร์ ชายเจ้าอารมณ์ขี้โวยวายวัย 34 ปีหัวหน้าแผนกพันธบัตรรัฐบาลไม่พอใจ งานของโมเซอร์คือการเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลที่กระทรวงการคลัง แล้วจะนำมาขายในตลาด ซึ่งตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก ซื้อขายกันราวแสนล้านเหรียญต่อวันในขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กซื้อขายกันเพียง แปดพันล้านเหรียญต่อวัน

- ตลาดพันธบัตรรัฐบาลจะถูกยึดครองโดย ตัวแทนปฐมภูมิ นั่นคือกลุ่มบริษัทที่ธนาคารกลางเลือกสรรแล้ว ตัวแทนปฐมภูมิจะมีสิทธิเหนือผู้ประมูลรายอื่นที่ว่าได้สิทธิยื่นประมูลในนาม ลูกค้าตน มันจึงดูเหมือนว่าตัวแทนปฐมภูมิจะรู้ล่วงหน้าว่าตลาดจะเคลื่อนไปในทางใด ในหมู่ตัวแทนปฐมภูมิทั้ง 39 แห่ง ซาโลมอนคือผู้นำ เขาประมูลได้มากกว่าบริษัทอื่น

- ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวแทนหลักกับรัฐบาลช่วยให้ลดขั้นตอนหยุมหยิม ทุกไตรมาสกลุ่มตัวแทนและนักลงทุนจะได้รับคำเชิญจากกระทรวงการคลังให้ไปรับ ฟังคำชี้แจงเรื่องความจำเป็นการใช้เงินทุนของรัฐบาล พร้อมทั้งขอคำแนะนำจากเหล่าตัวแทนว่ารัฐบาลควรปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง ตัวแทนจะยึดถือหลักเกียรติยศไม่โทรศัพท์ไปบอกบริษัทหรือนำข่าววงในเหล่านี้ ไปใช้ในการซื้อขาย

- ในการประมูลนั้นรัฐบาลอยากได้ราคาสูงสุดแต่กลุ่มตัวแทนอยากได้ราคาต่ำสุด มีการออกกฎมาเนิ่นนาน กระทรวงการคลังไม่ต้องการให้มีการผูกขาดของตัวแทนรายใดรายหนึ่ง กฎข้อบังคับไว้ให้ผู้ประมูล ห้ามรับผลการประมูลเกิน 35% ของแต่ละบัญชี แต่โดยปรกติแล้วผู้ชนะการประมูลจะไม่ได้สัดส่วนไปมากขนาดนั้น เพราะจะแบ่งให้กันตามสัดส่วน

- พอล โมเซอร์ แห่งซาโลมอนเจ้าเล่ห์มองเห็นช่องโหว่ ห้ามรับผลการประมูลเกิน 35% แต่ไม่ได้ห้ามการยื่นประมูล ในเดือนมิถุนายน 1990 โมเซอร์ยื่นประมูลมากขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้เขาได้ผลประมูลมาก้อนโต ไมเคิล เบแซม ผู้ควบคุมการประมูลของกระทรวงการคลังทราบเรื่องเกิดความไม่พอใจ เขาติดต่อไปหาโมเซอร์ว่าอย่าได้ทำแบบนี้อีก ไม่เช่นนั้นความสัมพันธ์ของกระทรวงการคลังกับซาโลมอนจะยุติลง

- สองสัปดาห์ต่อมาการประมูลพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 5,000 ล้านเหรียญ โมเซอร์ยื่นประมูลถึง 10,000 ล้านเหรียญ เบแซมแทบไม่เชื่อสายตาว่าตัวแทนจะกล้าท้าทายอำนาจรัฐถึงเพียงนี้ เมื่อซาโลมอนทราบข่าวก็กังวลขนาดหนักต่อพฤติกรรมของโมเซอร์และแนะนำให้เขา ติดต่อเพื่อขอโทษปลัดกระทรวงการคลัง

- แต่โมเซอร์ไปไกลกว่าที่ซาโลมอนรู้ การประมูลในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม โมเซอร์คว้าผลการประมูลก้อนโตโดยใช้ชื่อลูกค้าที่ไม่ได้มอบอำนาจให้เขาทำ ต่อมาในเดือนธันวาคมเขาก็ยื่นประมูลปลอม 1,000 ล้านเหรียญกับพันธบัตรอายุสี่ปี โดยใช้ชื่อลูกค้าแล้วก็กลบเกลื่อนว่าลูกค้าของตนรายนั้นขายต่อพันธบัตรมาให้ ซาโลมอน เรื่องราวยังไม่จบสิ้น กุมภาพันธ์ 1991 เขาแอบใช้ชื่อลูกค้าสองรายประมูลเต็มเพดาน 35% รวมแล้วเขาทำให้ซาโลมอนและบริษัทลูกค้าที่ใช้กลบเกลื่อนมาได้รับผลการประมูล มาถึง 57%

- เรื่องราวเริ่มถูกตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ดูแลผลการประมูลส่งเอกสารได้รับผลการประมูลไปให้ลูกค้ารายหนึ่ง ที่โซเมอร์ใช้แอบอ้าง ลูกค้ารายนั้นของซาโลมอนปะหลาดใจเพราะไม่เคยเข้าร่วมประมูลพันธบัตร แล้วเรื่องก็ไปถึงหูกระทรวงการคลัง
จอห์นกู้ดเฟรนด์ทราบเรื่องถึงกับตกใจ ว่ากล่าวโมเซอร์ว่าทำสิ่งนี้ลงไปได้ยังไง แอบอ้างเอาชื่อลูกค้าไปใช้ ปัญหาหนักอกต่อมาของกู้ดเฟรนด์คือจะชี้แจงให้ทางการเชื่อได้อย่างไรว่าซาโลม อนไม่มีส่วนรู้เห็น

- โดยปรกติกระทรวงการคลังจะไม่ทราบว่าพันธบัตรทั้งหมดตกไปอยู่กับลูกค้ารายใด ส่วนการทำงานเรื่องคนของกู้ดเฟรนด์ก็ยังไม่เด็ดขาด ส่งผลให้โมเซอร์ยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งโต๊ะพันธบัตรรัฐบาล ในสถานการณ์ที่กำลังโดนตรวจสอบ ไม่น่าเชื่อ โมเซอร์ขาดการยั้งคิด เขาชนะการประมูลในเดือนพฤษภาคมมาถึง 87% นั่นก็เพราะเขายื่นประมูลในราคาสูงริบ ส่งให้ลูกค้ารายอื่นโดนบีบเพราะจะต้องมาซื้อต่อจากซาโลมอนในราคาที่สูงขึ้น เพื่อนำไปส่งต่อให้ลูกค้าของตน

- กู้ดเฟรนด์ละล้าละลังใจเย็น ตัวเขาทราบเรื่องตั้งแต่เมษายนแต่ไม่จัดการเด็ดขาดปล่อยให้เกิดการประมูล เสมือนผูกขาดตลาดพันธบัตรไปรายเดียว ส่งผลให้ตัวแทนรายอื่นเดือดร้อน บางแห่งถึงขั้นล้มละลาย อนาคตของซาโลมอนถูกดึงสู่หุบเหวลึก ในสายตาของคนทั่วไปความน่าเชื่อถือของซาโลมอนแทบไม่เหลือเค้าเดิม บริษัทแห่งนี้เสมือนซากศพที่ยังไม่เน่าเปื่อย

- เช้าวันหนึ่งกู้ดเฟรนด์ลงหน้าหนึ่งนิวยอร์กไทม์ส ประหนึ่งว่านั่นคือการประกาศข่าวมรณกรรมของเขา ทางการต้องการถอดซาโลมอนออกจากตัวแทนปฐมภูมิ หลายเสียงกดดันกู้ดเฟรนด์ให้ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอ เขาหมดหนทางจึงติดต่อไปหาเพื่อนเก่า มิสเตอร์บัฟเฟตต์ คนที่กู้ดเฟรนด์หวังอยากจะให้มาทำหน้าหน้าแทน

- บัฟเฟตต์ชั่งใจขอคิดดูก่อน เขาจัดเรียงชีวิตตนดีแล้วว่าไม่อยากยุ่งเรื่องงานบริหาร เขานึกทบทวนงบดุลซาโลมอน สินทรัพย์มีราว 1.5 แสนล้าน มีเพียง 4,000 ล้านที่เป็นของผู้ถือหุ้น ด้านภาระหนี้สินที่มีถือได้ว่าไม่เป็นรองใครในอเมริกา!! ในแง่ธุรกิจซาโลมอนไม่ถึงกับถังแตก วิกฤตหลักอยู่ที่ฝ่ายบริหารจะถูกไล่ออกในชั่วข้ามคืนในธุรกิจที่ซึ่งความน่า เชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ

- จริงอยู่ แม้บัฟเฟตต์มีเงินลงทุน 700 ล้านเหรียญในหุ้นบุริมสิทธิของซาโลมอน แม้บริษัทล้มละลายไปเขาและมังเกอร์ก็ไม่ได้สูญเสียเงินทุนมากนัก ราคาหุ้นซาโลมอนร่วงลงมาจากจุดสูงสุด 37 เหรียญมาที่ 27 เหรียญในเวลาเพียงครึ่งเดือน หลายเสียงกล่าวตักเตือนบัฟเฟตต์ไม่ให้เข้าไปยุ่งกับปัญหาที่ซาโลมอน แต่เขารู้สึกว่าเหมือนเป็นชะตาลิขิต เขารู้สึกว่าเป็นหน้าที่

- บัฟเฟตต์ขึ้นเครื่อง Indefensible ของเขาตรงไปยังนิวยอร์ก ในวันที่เค้ามาถึงธุรกิจของซาโลมอนกำลังชะงักงัน ราคาหุ้นหยุดนิ่ง ผู้บริหารระดับสูงต่างซุบซิบถึงอนาคตของบริษัทรอคอยการมาของซีอีโอคนใหม่ เมื่อบัฟเฟตต์เดินทางมาถึง เขามุ่งตรงไปยังห้องประชุมบอร์ด เดินเข้ามาด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พร้อมทั้งกล่าวทักทายแบบโจ๊กๆตามที่เขาถนัด “ ว่าไง.. ปัญหาเล็กน้อยของเรา ”

- บัฟเฟตต์ไม่ได้รู้รายละเอียดนักในเรื่องที่เขาจะมารับผิดชอบในครั้งนี้ แต่ท่าทีผ่อนคลายของเขาทำให้ผู้คนที่นั่นอุ่นใจ เป็นครั้งแรกในหลายสัปดาห์ที่ฝ่ายบริหารรู้สึกว่า ชีวิตนี้ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘