ปาฐกถา ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในงาน “สนทนาเป็นการส่วนตัวกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร” (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ณ สถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) 9 มี.ค. 2559, มหานครนิวยอร์ก

ผมต้องขอขอบคุณสถาบันนโยบายโลก (World Policy
Institute) ที่ให้โอกาสผมได้มาร่วมบอกเล่าหลักคิดของผม
และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องความท้าทายต่างๆ ซึ่งเกิดมาจาก
คำถามที่ว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าและผ่านพ้นช่วงแห่งความ
เปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร โดยเฉพาะในแง่
มุมที่เชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคและโลกในบริบทปัจจุบัน
พวกเราทุกคนคงทราบกันดีว่า ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21
ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ประชาชน
ได้อย่างต่อเนื่อง หากสังคมคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการ
ประการที่หนึ่ง ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง
ประการที่สอง ได้แก่ ศักยภาพในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ซึ่งนำไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์ให้กลายเป็นความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง
พวกเราทุกคนคงทราบกันดีว่า ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21 ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดี
ให้แก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง หากสังคมคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการนี้


ผมขออนุญาตเล่าถึง “เรื่องของสองนคร” ที่ไม่ได้ถูกเขียนขึ้น
โดยชาร์ลส์ ดิกคินส์ เรื่องเล่านี้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่ขนานของ
กรุงวอชิงตัน ดีซี และปักกิ่ง ซึ่งแต่ละนครมีประวัติศาสตร์
ความทุกข์ และความชิงชังของตนเอง เมื่อระยะเวลาผ่านไปนานปี
ทั้งสองนครถูกมองว่าเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันนำเสนอโมเดลการ
พัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
โมเดลที่หนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมตลาดเสรีซึ่งมีระบอบ
“ประชาธิปไตยแบบเปิด” เป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ
อีกโมเดลหนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมซึ่งนำโดยรัฐ (รูปแบบของ
สาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่กำกับด้วยอำนาจศูนย์กลาง
จากพรรคเดียว


ทั้งสองโมเดลได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถนำไปปรับใช้จนประสบ
ความสำเร็จจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยโมเดลของสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติของ
คณะผู้นำในประเทศ ณ เวลาขณะ นั้น ทั้งนี้
ความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ
กับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลกตะวันตกที่
“การค้าเสรี”ได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนที่กำลัง
ปรับตัวจากระบบตลาดปิด สู่ระบบตลาดเปิดครึ่งใบ


อย่างไรก็ตาม เราคงต้องยอมรับว่าทั้งสองโมเดลจะต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลง
อันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรมจากรูปแบบ “การผลิตสินค้าในประเทศเดียว” สู่ “ระบบเครือข่ายการออกแบบ
การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ เพื่อที่จะนำสินค้าชิ้นหนึ่งๆ ออกสู่ตลาด” ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้กลับตาลปัตร
โครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจภายในประเทศต่างๆ และส่งผลให้การปรับตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในอดีต
พวกเรายังต้องทราบอีกว่าความก้าวหน้าของเทคนิคและเทคโนโลยีการบริหารความมั่งคั่งได้กลับตาลปัตรความสัมพันธ์ระหว่างทุน
และวิธีการผลิต ทั้งนี้ พวกเราทั้งหลายคงต่างเห็นพ้องกันว่า “สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน” (New Normal) จะเป็นภัยคุกคาม
ต่อความอยู่รอดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณพร้อมและมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
อีกเรื่องราวหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึง คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับครูสอนภาษาอังกฤษในสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้เคยยากจน แต่ปัจจุบัน
ติดอันดับผู้รํ่ารวยที่สุดของโลก ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้สร้างโรงงานหรือลงทุนในปัจจัยการผลิตใด แต่ผู้คนทั่วไปกลับยินดีจ่ายเพื่อใช้บริการของเขา
เพื่อเข้าถึงโครงข่ายอุปทานและอุปสงค์ขนาดใหญ่ ผมเชื่อว่าชาวจีนคนนี้คงต้องรู้สึกขอบคุณระบบอินเทอร์เน็ตเป็นแน่


ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ คุณูปการจากการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็น
กลจักรใหม่ที่คอยส่งเสริมให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้างทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
จากรายงานของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่าการค้าอีคอมเมิร์ซ
ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ของโลกในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจ
กับผู้บริโภคของโลกยังคงอยู่ที่ระดับราว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบการค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ซึ่งมีการประมาณการว่าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคจะขยายตัวจากระดับร้อยละ 20
สู่ระดับร้อยละ 37 ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2561 นอกจากนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซข้ามแดนที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้น ยังส่งผลให้ปริมาณ
การขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กระหว่างประเทศของโลกเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 48 ระหว่างปี พ.ศ. 2554 ถึง 2557
สำหรับภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก ผมเชื่อว่าข้อมูลความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวคือเค้าลางของ
โอกาสการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ที่ “การเข้าถึงเครือข่าย” (Access to Network)
คือหัวใจของความสำเร็จ โดยในที่นี้หมายถึงเครือข่ายผู้บริโภคและปัจจัยการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ
แตกต่างออกไปจากรูปแบบเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง “การเข้าถึงศูนย์กลาง” (Access to
Center) คือเงื่อนไขของความสำเร็จ
ในปัจจุบัน นักธุรกิจผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่หรือบรรษัทข้ามชาติ สามารถเข้าถึงลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลกและตอบสนองความ
ต้องการบริโภคสินค้าของพวกเขาได้ โดยการเข้าถึงเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่
เศรษฐกิจในวันนี้กระจายตัวออกจากศูนย์กลางอำนาจเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับการกระจายตัวของ
การบริโภคและการผลิต พวกเราคงสามารถจินตนาการได้ง่ายๆ ถึงสถานการณ์ที่นักธุรกิจชาวอเมริกันสามารถขายสินค้าผ่านระบบ
ออนไลน์โดยตรงให้แก่ผู้บริโภคในฝั่งตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทำธุรกรรม
ที่นครปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ผลิตชาวจีนสามารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในแถบนิวอิงแลนด์และมิดแอตแลนติก
ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องผ่านนครนิวยอร์ก


“เศรษฐกิจเครือข่าย” ได้ส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีศักยภาพในการผลิตและเข้าถึงลูกค้า
ได้ด้วยต้นทุนที่ตํ่าลง พวกเราในฐานะประชาคมโลกต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่การสรรหาวิถีทางให้ประเทศต่างๆ
สามารถร่วมลงทุนและร่วมเสี่ยงกับประชาชน เพื่อสร้างแนวร่วมการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
อีกหนึ่งเรื่องเล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ของถนนสายหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสนใจมานานนับตั้งแต่โปรตุเกสได้ค้นพบเส้นทางเดินเรือ
จากทวีปยุโรปสู่เอเชีย โปรตุเกสเคยได้นำเสนอเส้นทางการค้าใหม่ซึ่งสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำจากกิจกรรมการเดินเรือขนสินค้า
แม้บางครั้งสินค้าอาจเสียหายไปกว่าครึ่ง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ใครขาดทุนจนล้มละลาย เพราะด้วยเหตุที่ว่าอุปสงค์ความต้องการเครื่องเทศ
ในยุคดังกล่าวมีมาก จึงทำให้พ่อค้าเดินเรือสามารถตั้งราคาขายที่สูงลิบได้
การขนส่งสินค้าหนักทางเรือเป็นสิ่งที่พวกเราคุ้นชินจนถึงยุคปัจจุบัน ในขณะที่เส้นทางการค้าทางบกจากทวีปเอเชียไปยังยุโรปกลับ
ถูกลืมเลือนไปเป็นเวลานาน หากเศรษฐกิจโลกยังคงเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับในอดีตที่อ้างว่าหอมหวน คนส่วนใหญ่คงไม่จำเป็น
ต้องคิดที่จะสรรหาทางเลือกในชีวิต แต่ด้วยเหตุที่สถานการณ์โลกปัจจุบันดูไม่สู้ดีนัก ผมจึงเชื่อว่าแต่ละประเทศควรที่จะพิจารณาถึงทุกๆ
ความเป็นไปได้
ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามียุทธศาสตร์ 2 ประการที่มีศักยภาพในการเร่งการเติบโตและยกระดับ “คุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ”
ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเครือข่ายประการที่หนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” (OBOR) หรือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหม
ใหม่ที่นำโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ ซึ่งมีรายได้ประชาชาติ
รวมกันคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของรายประชาชาติของโลก


และยุทธศาสตร์อีกประการหนึ่ง คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership, TPP)
ที่นำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว 12 ประเทศ มีรายได้ประชาชาติรวมกันมากกว่าร้อยละ 40
ของรายได้ประชาชาติของโลก ทั้งนี้ ผมไม่ได้มองว่ายุทธศาสตร์ทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง
จะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก
พวกเราคงต้องก้าวข้ามมุมมองแบบเหมารวมที่ว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงมหาอำนาจ
ทางการเมืองซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ในสภาพความเป็นจริง พัฒนาการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาน่าจะทำให้พวกเราได้เห็นถึงการพึ่งพา
กันทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ถือครองพันบัตรรัฐบาลสหรัฐรายใหญ่ที่สุดคิดเป็นมูลค่า 1.24
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม (Total Trade)
ที่ระดับ 5.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรง (FDI) ของสหรัฐอเมริกาในสาธารณรัฐประชาชนจีนคิดเป็นมูลค่า 6.58
หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับมูลค่า 1.19 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ


เมื่อพิจารณาถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจดังกล่าว ผมเชื่อว่าภูมิภาคเอเชียซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาอันสำคัญ
ของสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสำคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ
ภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคเอเชียแห่งศตวรรษที่ 21 ควรเป็นเรื่องของการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชน
แบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค
ในขณะที่หลายคนอาจเน้นยํ้าถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไปของประเทศไทยในแง่มุมทางประวัติศาสตร์และทิศทางการพัฒนา
ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ ตลอดช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยง
เข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ
ในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็นอย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก
เมื่อพิจารณาถึงบริบทดังกล่าว พวกเราควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทยด้วยคำถามง่ายๆที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับล่าสุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศสามารถเติบโตและแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในภาวะโลกปัจจุบันหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐานเชิงสถาบันที่เพียงพอเพื่อการลงทุน การผลิต การสร้างความร่วมมือ
และธุรกิจให้แก่ประเทศไทยได้หรือไม่


เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
และความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย
“ผู้เชี่ยวชาญ” วุฒิสภาจะมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้ง การออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอำนาจ
ในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดำเนินการร้องเรียน
โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดังกล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดำเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ


หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย คือรากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของประเทศ หัวข้อสำคัญ
ที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่าอำนาจตุลาการจะล่วงลํ้าอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารหรือไม่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถ
บริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ผมหวังว่าคงจะไม่มีการใช้อำนาจตุลาการที่เกินกว่าความจำเป็น
อีกในอนาคต กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่าการใช้อำนาจพิจารณาทบทวนโดยศาล (Judicial Review)
โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อาจกลายเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสมและเป็น “ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน” จนสุดท้ายก่อให้เกิด
อุปสรรคในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ


ผมเชื่อว่ารากฐานของประเทศในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรือง คือการสร้างความเชื่อถือในประชาคมโลก
รัฐธรรมนูญควรยึดหลักนิติธรรมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานขั้นตํ่า เพื่ออำนวย
ความสะดวกและเกื้อหนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนในประเทศกับประชาคมโลก การค้าและการลงทุน
จะไม่สามารถเจริญงอกงามได้หากไม่มีหลักนิติธรรม เพราะหลักนิติธรรมคือรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่นในช่วงแห่งความ
เปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านนี้ ประเทศไทยต้องประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองเสียใหม่ และสรรหาวิถีทางที่สมเหตุสมผล
เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและพลวัตรทางเศรษฐกิจ ผมเพียงแค่นำเสนอถึงวิธีคิดและพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘