Technical Analysis ถ้าไม่จำเป็นอย่า (ใช้) เยอะ!!

Technical Analysis ถ้าไม่จำเป็นอย่า (ใช้) เยอะ!!

โดยปกติแล้วเรามักจะแบ่งนักลงทุนในตลาดออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะวิธีการลงทุนที่ใช้ ซึ่งก็คือ นักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์พื้นฐาน (Fundamental Analysis) และ นักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) สำหรับในบทความนี้เราจะกล่าวถึง การวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักลงทุนมือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาด (หรือ นักลงทุนที่เข้ามาแล้วสักพักแต่ยังจับทางไม่ค่อยได้) ได้มองภาพรวมของศาสตร์การวิเคราะห์ทางเทคนิคได้ดียิ่งขึ้น อย่ารอช้า ตามผมมาเลยครับ

Technical Analysis คืออะไร ?


Technical Analysis (T.A.) หรือ การวิเคราะห์ทางเทคนิค คือ การศึกษารูปแบบพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหุ้น (Stocks Market), ตลาดอนุพันธ์ (Derivatives Market), ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities Market), และรวมไปถึงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex Market) 


เหตุผลหลักที่เรานำการวิเคราะห์ทางเทคนิคมาใช้เทรด


Technical Analysis นี้ มีความเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของราคา (Price Movement) หรือ Price Action ดังนี้
  • ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดเอาไว้หมดแล้ว (Price Discount Everything)
  • ราคาจะเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนจะมีปัจจัยภายนอกมาทำให้การเคลื่อนไหวนั้น ๆ เปลี่ยนแนวโน้ม (Trend & Momentum)
  • พฤติกรรมราคาจะเคลื่อนที่ซ้ำรอยเดิม (History Repeat itself)
ดัง นั้น เราจึงสามารถนำหลักการเหล่านี้มาทำนายรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดใน อนาคตเพื่อหาจังหวะการเทรดที่เหมาะสมให้กับเราได้ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่เรา นำ การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาใช้ในการเทรด

ขยายความหลักการของ Technical Analysis

จากหลักการทั้ง 3 ข้อของ Technical Analysis
  • ราคา เป็นผลรวมที่สะท้อนปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดเอาไว้หมดแล้ว (Price Discount Everything) ถ้าหากเราเชื่อในหลักการข้อนี้ นั่นแปลว่า เราสามารถวิเคราะห์สภาวะตลาดผ่านราคาที่เคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องศึกษาปัจจัย อื่น ๆ เพราะ ราคาได้สะท้อนปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้น ออกมาหมดแล้วนั่นเอง (ทำให้เรา Focus ได้มากขึ้นอีกด้วย)
  • ราคาจะเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนจะมีปัจจัยภายนอกมาทำให้การเคลื่อนไหวนั้น ๆ เปลี่ยนแนวโน้ม (Trend & Momentum)
  • พฤติกรรม ราคาจะเคลื่อนที่ซ้ำรอยเดิม (History Repeat itself) หลักการนี้จะช่วยให้เราสามารถศึกษาโครงสร้างของตลาด (Market Structure) อย่างเช่น แนวโน้ม (Trend), แนวรับ – แนวต้าน (Support Levels & Resistance Levels) รวมไปถึงการหารูปแบบสัญญาณที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ มาใช้ในการกำหนดจังหวะการเทรดในตลาดได้อีกด้วย 

Technical Analysis ต้องใช้เส้นกราฟยุ่ง ๆ อย่างที่เห็นจริงหรือ !?

ผมเชื่อว่านักลงทุนที่เคยอ่านหนังสือหรือ ตำราการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้น เป็นธรรมดาที่เวลาเราอ่านจบเรามักจะร้อนวิชาอยากนำวิชาความรู้ที่ได้ศึกษามา ใช้อย่างแน่นอน (ที่รู้เพราะผมคนนึงแหละครับที่เคยเป็น) และหนึ่งในข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ที่พบคือ เอามันมาหมดทุกเส้น (indicators) ที่รู้มาใส่ไว้ในกราฟเดียวกันหมด (เรียกได้ว่าตาลายกันเลยล่ะครับ) ใครที่นึกไม่ออกลองดูจากภาพด้านล่างดูก็ได้นะครับ ผมเลือกเอาเฉพาะ indicator ยอดฮิตมาเท่านั้นนะครับ (ยังดูเยอะเลยครับ)
 

Indicators ในกราฟข้างบนนั้นมีอะไรบ้าง


ที่ นี้เรามาลองดูกันนะครับ หากเรา Setup Indicator ดังภาพข้างบนแล้วเราต้องการหาจังหวะเพื่อเข้าซื้อ (สมมติว่าตอนนี้ราคาอยู่บริเวณเส้นแนวตั้งสีดำในกราฟ) ไม่รู้จะเริ่มจากอะไร งั้นผมเริ่มจากแนวโน้ม (Trend) ก่อนละกันครับ ในกราฟ (ที่แทบจะมองไม่เห็นแท่งเทียน) Moving Averages บอกเราว่า เป็นขาขึ้น (เอ๊ะหรือเป็นขาลง) เพราะ เส้น MA 5 ตัด MA 20 ลง แต่ยังอยู่เหนือ MA 35 และ MA 50 อยู่ แต่ถ้ามองจากตัวแท่งเทียนเปล่า ดูเหมือนยังเป็นขาขึ้น !!? 

ต่อมาเรามาดู Indicators ที่เหลือกันดีกว่า MACD และ ADX ก็สามารถบอกแนวโน้ม (Trend) ได้เช่นเดียวกัน มาดูกันที่ MACD ก่อนตัด 0 ลงซะแล้วอย่างนี้ขาลงชัวร์!! (ตาม MACD) พอมาดูเส้น ADX > 25 (ยังถือว่าเป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่ง) เอาล่ะสิ ไปไงต่อล่ะทีนี้ 

นัก ลงทุนหลายคนเริ่มบอกไม่เป็นไรแนวโน้มช่างมัน ไปดูแนวรับ-แนวต้าน (Support & Resistance) ต่อละกัน ปรากฏว่า ราคาอยู่บริเวณแนวรับยอดฮิต 61.80% ของ Fibonacci พอดี (ผมอาจจะไม่ค่อยถนัดการใช้ Fibonacci นักนะครับ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัย) แต่ราคาหลุดเส้น MA 5, 20, และ 35 ไปเรียบร้อยแล้ว มีเส้น MA 50 อย่างเดียวที่ยังไม่หลุด วิเคราะห์มาถึงตรงนี้ดูเหมือนเราจะยังไม่ได้ข้อมูลอะไรเลยนะครับ :)

ไม่เป็นไรลองข้ามมาดู สัญญาณซื้อ (Buy Signal) กันเลย 

  • Slow Stochastic เกิดสัญญาณซื้อ (Buy Signal) จากการตัดกันของเส้น %K และ %D
  • MACD เกิดสัญญาณขาย (Sell Signal) ยังไม่เกิดสัญญาณซื้อ เพราะ MACD < 0 ยังเป็นขาลง
  • ADX เส้น +DI < -DI เป็นสัญญาณขาลง (แต่แนวโน้มยังแกร่ง เพราะ ADX > 25 เอ๊ะยังไง!!) 
มาถึงตรงนี้ สรุปดูเหมือนเราจะไม่ได้ข้อมูลอะไรมาช่วยยืนยันเพื่อให้เราตัดสินใจเลยนะ ครับ คำถามยอดฮิตที่ตามมาคือ แล้วจะเชื่ออันไหนกันแน่!!

คำแนะนำเบื้องต้นในการใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ทางเทคนิค


Indicators หลายร้อยตัวนั้น มีความสามารถและรายละเอียดในการใช้แตกต่างกันไปบ้าง แต่ประเภทและหน้าที่หลัก ๆ นั้นจะมีด้วยกัน 5 อย่าง ได้แก่

  • บอกราคา (Price) เช่น ตัวแท่งเทียน, Bar Chart เป็นต้น
  • บอกแนวโน้ม (Trend) เช่น Moving Average, Swing High/Low, MACD, Bollinger Band, ADX
  • บอกการย่อตัว (Retracement/Overbought/Oversold) เช่น Stochastic Oscillator, RSI, Fibonacci
  • บอกความผันผวน (Volatility) เช่น Bolliger Band, ATR 
  • บอกปริมาณการซื้อขาย (Volume) เช่น Volume, On Balance Volume 
ดังนั้นคำแนะนำของผมคือ เราต้องรู้ก่อนว่า Indicator ที่เราจะนำมาใช้นั้น เราต้องการให้มันบอกอะไรกันแน่ และควรเลือก Indicator ที่เราถนัดและตีความหมายเป็น ไม่งั้นอาจเกิดปัญหาการตีความเหมือนที่ผมกล่าวไปข้างต้นได้!! 

ตัวอย่างการลดจำนวน Indicator ลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน

หมายเหตุ : Chart Setup ที่นำมาให้ดูนั้นเป็นเพียงตัวอย่างในการศึกษาเท่านั้น นักลงทุนควรศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติม

ตัวอย่างที่ 1 แค่แท่งเทียนเปล่า ๆ ก็เทรดได้แล้ว (Candlestick Pattern/Price Action Strategy)


การตีความในกราฟ เราจะดูด้วยกัน 3 อย่าง
  • แนวโน้ม (Trend) : สำหรับแท่งเทียนเปล่า เราใช้ Swing High, Swing Low เป็นตัวบอกแนวโน้ม
  • แนวรับ - แนวต้าน (Support & Resistance) : เราจะใช้เส้นแนวนอน (Horizontal Line) ลากผ่าน Swing High/Low ของแนวโน้มที่เกิดขึ้นเพื่อบอกแนวรับ-แนวต้าน
  • สัญญาณซื้อ-ขาย (Signal) : ใช้สัญญาณจากรูปแบบแท่งเทียน เช่น Hammer, Doji เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 2 แค่ Indicator 2 ตัว ก็เทรดได้แล้ว (Trend & Oscillator Indicator)



การตีความในกราฟ เราจะดูด้วยกัน 3 อย่างเช่นกัน

  • แนวโน้ม (Trend) : จากกราฟเราจะใช้ Swing High/Low จากแท่งเทียน หรือจะใช้ Moving Average ก็ได้ 
  • แนวรับ - แนวต้าน (Support & Resistance) : เราจะใช้เส้น Moving Average เป็นแนวรับ
  • สัญญาณซื้อ-ขาย (Signal) : ใช้สัญญาณจาก Slow Stochastic Oscillator เป็นตัวให้สัญญาณ

สรุป

เห็นไหมครับกราฟในช่วงเวลาเดียวกัน แต่การตีความที่ได้กลับต่างกันโดยสิ้นเชิง ในภาพแรกที่ผมเอาตัวอย่างกราฟที่มี Indicator ที่ทำหน้าที่เดียวกันแต่นำมาใช้ซ้ำกันนั้น ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคกลับทำได้ยากขึ้นไปอีก สำหรับตัวอย่างทั้ง 2 ที่ผมให้ไว้ในคำแนะนำนั้น เมื่อเราลดจำนวน Indicator ลง จะเห็นได้ว่า เราสามารถมองภาพรวมของตลาดได้เพิ่มมากขึ้น (Less is more) นั่นเป็นเพราะ เราได้ใช้ความสามารถของแต่ละ Indicator อย่างเต็มที่และใช้เฉพาะตัวที่เราถนัดนั่นเองครับ บทความนี้หากสรุปให้สั้นลงผมได้พูดถึง
  • Technical Analysis คืออะไร ?
  • เหตุผลหลักที่เรานำการวิเคราะห์ทางเทคนิคมาใช้เทรด
  • ขยายความหลักการของ Technical Analysis
  • Technical Analysis ต้องใช้เส้นกราฟยุ่ง ๆ อย่างที่เห็นจริงหรือ !?
  • คำแนะนำเบื้องต้นในการใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ทางเทคนิค

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘