NO MARRY OVER RELIGIOUS !


ห้ามแต่งงานข้ามศาสนา พม่าผ่านกฎหมายเข้ม



อา..พระพุทธศาสนากลายเป็น "ศาสนาประจำชาติ" ของพม่าอย่างเป็นทางการเป็นชาติแรกในโลกไปแล้ว เมื่อรัฐสภาพม่าได้ออกกฎหมาย "ห้ามแต่งงานข้ามศาสนา" โดยเฉพาะกับ "ศาสนาอิสลาม" ซึ่งถือว่าได้เปรียบพุทธ เพราะชายมุสลิมมีเมียได้ 4 ขณะที่ชาวพุทธมีศีล "ห้ามนอกใจเมีย หรือห้ามมีเกิน 1" สุดท้ายก็สู้อิสลามเรื่องประชากรไม่ได้ แถมอิสลามยังห้ามเปลี่ยนศาสนา (แต่ถ้าคู่สมรสเปลี่ยนมานับถืออิสลามนั้นได้) แต่พุทธส่วนใหญ่กลับมองว่า "ความรักใหญ่กว่าศาสนา" หรือแม้แต่ชาวยิวก็มีบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งงานข้ามศาสนาเอาไว้ มีชาวพุทธเท่านั้นกระมังที่อ่อนแอที่สุดในเรื่องนี้ เรื่องนี้รู้กันมานาน แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะข้ออ้างทางศาสนาถือว่าเป็นเรื่องบอบบางทางใจคน ชาวมุสลิมก็อ้างศาสนาเพื่อหาศาสนิกเพิ่ม ขณะที่พุทธก็อ้างศาสนาเพื่อทิ้งศาสนาไปอยู่กับผัวกับเมียต่างศาสนา นางวิสาขาน่าจะเป็น "ตัวอย่าง" ของชาวพุทธ ที่แต่งงานข้ามศาสนา แต่สามารถเปลี่ยนสามีและพ่อผัวให้มาเป็นพุทธได้ ถ้าได้แบบนางวิสาขาก็ดี จะได้ไม่ต้องเสียเปรียบในเรื่องประชากรทางศาสนา เอ้า ! พวกเราชาวพุทธช่วยกันด่ารัฐบาลพม่าเร๊ว !
 
 

เมื่อโลกกว้าง แต่ทางแคบ
โดยเฉพาะ "ทางใจ" ที่ไม่สามารถเปลี่ยนศาสนาได้
ในเมื่อคุณ "หัวหมอ" เล่นบัญญัติเอาเปรียบลัทธิประเพณีอื่นไว้ในศาสนา ก็จึงถูกคนศาสนาอื่นเขา "เอาคืน" บ้าง ดังนั้น ศาสนาใดที่ใจแคบ หรือไม่มีความเป็นธรรมกับลัทธิอื่นๆ ก็ย่อมจะถูกเขากระทำตอบแทนบ้าง เช่นนี้แล ไม่แน่ ต่อไปอาจจะต้องมี "ศาลศาสนา" ไว้คอยพิพากษากรณีพิพาททางศาสนา ว่าด้วยการแต่งงานต่างศาสนา เชื่อเหอะว่า ยุ่งตายห่า !




เมียนมาผ่านกฎหมายห้ามแต่งงานข้ามศาสนา
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ว่า นายฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน "ฮิวแมนไรต์วอทช์" แสดงความกังวลต่อร่างกฎหมายการแต่งงานพิเศษของหญิงชาวพุทธ ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งมันถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรการกีดกันและแบ่งแยก รวมถึงการจำกัดสิทธิในการนับถือศาสนา ซึ่งนายโรเบิร์ตสันเปรียบเทียบว่า รัฐบาลเนปิดอว์กำลัง "เล่นกับไฟ" เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในอนาคตได้
ร่างกฎหมายดังกล่าว เป็น 1 ใน 4 ฉบับที่รู้จักกันในนามกฎหมายคุ้มครองศาสนาและเผ่าพันธุ์ ซึ่งนักสิทธิมนุษยชนโจมตีว่ามีลักษณะแสดงถึงการแบ่งแยกในสังคม โดยอีก 3 ฉบับได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมประชากรที่มีการลงมติไปเมื่อเดือน พ.ค. ระบุให้มารดาต้องทิ้งช่วงระยะเวลาระหว่างการตั้งครรภ์ลูกแต่ละคนเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งรัฐบาลชี้แจงว่ามีเจตนาเพื่อควบคุมประชากร ถัดมาคือกฎหมายการเปลี่ยนศาสนา ที่บังคับให้ประชาชนเปลี่ยนศาสนาเพื่อใหได้รับการรับรองจากคณะกรรมการขึ้นทะเบียนในท้องที่ และสุดท้ายคือกฎหมายการมีคู่สมรสเพียงคนเดียว ซึ่งระบุว่าการคบชู้นับเป็นการก่ออาชญากรรม โดยร่างกฎหมายสองฉบับหลังยังคงอยู่ในขั้นตอนรอมติรับรองจากรัฐสภา โดยร่างกฎหมายที่ผ่านรัฐสภาแล้ว ยังมีเวลาอีก 14 วันเพื่อรอให้ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง พิจารณาว่าจะลงนามเห็นชอบหรือปฏิเสธ
 

ข่าว : เดลินิวส์
10 กรกฎาคม 2558
 

 
 
 
 
ประเพณีแต่งงานแบบมุสลิม

ชาวมุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ถือว่าการแต่งงาน หรือเรียกกันตามภาษามุสลิมว่า "พิธีนิกาห" เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสูงส่งเหนือสัตว์โลกอื่นๆ และเชื่อว่าความผูกพันระหว่างชายหญิงเป็นความผูกพันกันด้วยชีวิต เพราะต่างก็เปรียบเหมือนวงกลมที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนและแยกจากกัน แต่ อัลลอฮ สุบหฯ บันดาลให้มาบรรจบกันจนกลายเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ หากชายหญิงคู่ใดไม่ปฏิบัติ ก็ถือว่าผิดต่อหลักศาสนาและจะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมุสลิม

สำหรับเรื่องของการแต่งงานหรือประกอบพิธี "นิกาห" นั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ...

1. การแต่งงานตามบทบัญญัติของศาสนา
2. การแต่งงานตามประเพณีที่ปฏิบัติกัน

ที่ต้องแบ่งเพราะ 2 ประเภท มีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะการแต่งของชาวมุสลิมบางคนผสมผสานวัฒนธรรมชุมชนเข้าไป เช่น การแห่เจ้าสาวเข้ามัสยิดโดยมีต้นกล้วยต้นอ้อยนำหน้าขบวน หรือการมีขนมหวานอย่างการแต่งงานแบบไทยนั้น เป็นการแต่งงานแบบของมุสลิมที่ไม่ใช่อิสลาม เพราะการแต่งงานแบบอิสลามนั้นเป็นบทบัญญัติมากกว่า 1,400 ปี และห้ามเสริมเติมแต่งหลักการที่มีอยู่เป็นอย่างอื่น

หลักการแต่งงานของอิสลามมีเงื่อนไขหลักอยู่ 5 ข้อปฏิบัติ ซึ่งถ้าชายหญิงปฏิบัติเพียง 5 ข้อนี้ได้ ก็จะได้ชื่อว่าได้แต่งงานกันอย่างถูกต้อง เป็นสามีภรรยาตามหลักของอิสลามแล้ว ส่วนการจดทะเบียนสมรสนั้นเป็นเรื่องของสังคมและกฎหมายที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบเท่านั้น
 
 
 
เงื่อนไขหลัก 5 ข้อปฏิบัติ คือ...

1. ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องเป็นมุสลิม
2. "วะลีย์" (ผู้ปกครองของเจ้าสาว) ซึ่งต้องเป็นผู้ปกครองทางด้านเชื้อสายและเป็นผู้ที่ไม่สามารถแต่งงานกับเจ้าสาวได้ หมายถึงคุณพ่อของเจ้าสาว พี่ชายแท้ๆ ญาติสนิทแท้ๆ
3. พยาน 2 คน ต้องเป็นผู้ชายที่มีคุณธรรม คือเป็นผู้ที่เคร่งศาสนา เช่น ผู้ที่ทำละหมาดวันละ 5 ครั้ง
4. คำเสนอของ "วะลีย์" และคำสนองของเจ้าบ่าว
5. เจ้าบ่าวจะต้องมอบสินสอดให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง

คำสอนก่อนแต่งงาน


ก่อนทำพิธีนิกาห โต๊ะครู อาจารย์ บาบอ อุซตาซ ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้รู้ตามหลักศาสนาอิสลามที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ สถานที่ จะเป็นผู้ที่ทำพิธีนิกะหให้ ในหลักการของศาสนาอิสลามไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน ใครสะดวกที่ไหนก็ทำที่นั่น

ข้อห้าม


สิ่งที่อิสลามห้ามใครทำและเป็นโทษมหันต์ คือ การเชื่อถือโชคลาง เพราะเป็นเรื่องผิดหลักศาสนาอย่างไม่ควรให้อภัย คนอิสลามจะแต่งงานกันเมื่อไรก็ได้ ยิ่งแต่งงานกันในวันที่คนอื่นไม่แต่งยิ่งดีเพราะเป็นการพิสูจน์ว่าเราไม่เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม อีกประการหนึ่งที่ชาวมุสลิมบางพื้นที่อาจลืมก็คือ การแต่งงานของอิสลามจะไม่มีการแห่ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเห็นมุสลิมแต่งงานแล้วมีการแห่ นั่นคือการแต่งงานของมุสลิมที่ไม่ใช้อิสลาม

รักกันแต่ต่างศาสนา

อิสลามไม่อนุญาตให้คู่รักต่างศาสนาแต่งงานกัน แต่ถ้ารักกันจริงๆ ต้องเข้าไปเป็นอิสลามก่อน โดยการเรียนรู้ศาสนาให้เข้าใจถึงหลักของอิสลามโดยถ่องแท้จากผู้รู้ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าสู่เงื่อนไข 5 ข้อของการแต่งงานตามหลักอิสลาม และถ้าเจ้าสาวนับถือศาสนาอื่นก่อนมารับถือศาสนาอิสลาม หรือคนในครอบครัวยังคงนับถือศาสนาเดิมอยู่ ก่อนการแต่งงานจะต้องแต่งตั้งผู้อื่นให้ทำหน้าที่ผู้ปกครองแทน ผู้แทนอาจเป็นครูที่สอนศาสนาให้ก็ได้ หรือเป็นผู้รู้ที่เคารพนับถือก็ได้


ที่มา : กระปุก ดอทคอม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘