ภาคที่ ๔ งานปั้นหล่อพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล

ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายฆราวาส เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราซ ๒๕๒๓ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ได้มีมติให้เร่งรัดดำเนินการจัดสร้างพระพุทธรูปพระประธาน พุทธมณฑลให้แล้วเสร็จทันการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ และได้มีมติมอบหมายให้กรมศิลปากรรับผิดชอบดำเนินการปั้นนหล่อพระพุทธรูป พระประธานพุทธมณฑล


นายเดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น พิจารณาเห็นว่างานดังกล่าว เป็นงานที่เร่งด่วนและยิ่งใหญ่กว่าที่เคยสร้างสรรค์มาในอดีต จำเป็นต้องมีวิธีดำเนินงาน ในลักษณะที่มีความคล่องตัว ทั้งระเบียบการดำเนินงานและการเงิน จึงมีคำสั่งเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ตั้งหน่วยงานระดับกองขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานดังกล่าว เรียกว่า ‘‘กองงานดำเนินการปั้นหล่อพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ประดิษฐาน ณ บริเวณพุทธมณฑล” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “กองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล” โดยมี นายสาโรช จารักษ์ รองผู้อำนวยการกองหัตถศิลป เป็นผู้อำนวยการกองงานเฉพาะกิจฯ นายบุญส่ง นุชน้อมบุญ หัวหน้างานโรงงาน กองหัตถศิลป เป็นรองผู้อำนวยการกอง งานเฉพาะกิจฯ นายปกรณ์ เล็กสน ประติมากร ๗ กองหัตถศิลป เป็นผู้,ช่วยผู้อำนวยการ กองงานเฉพาะกิจฯ และให้มีคณะผู้ปฏิบัตงานประกอบด้วย นายสุทัศน์ อู่ศิริจันทร์ เจาหน้าที่แผนงานและติดตามผล นายนเรศ อิ่มเพชร เจ้าหน้าที่พัสดุ นางเสริมศรี รัตนกุล เจ้าหน้าที่การเงิน นายอำพันธ์ บุญทับ เจ้าหน้าที่ธุรการทั่วไป กับให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาให้คำปรีกษาในงานเทคนิคของการปั้นหล่อและ วางแผนร่วมกันทุกขั้นตอน

ประกอบด้วย
นายเตโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากร ประธานกรรมการ
นายทวิศักดิ์ เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการกองการสังคีต10 กรรมการ
นายประเวศ ลิมปรังษี ผู้อำนวยการกองหัตถศิลป กรรมการ
นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ ผู้อำนวยการกองสถาปัตยกรรม กรรมการ
นายสวัสดิ์ ตันติสุข ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป กรรมการ
นายสมคิด โชติกวณิชย์ เลขานุการกรมศิลปากร กรรมการ
นอกจากนี้ นายเตโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น ยังได้มอบหมายให้ นักจดหมายเหตุของงานบันทึกเหตุการณ์ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จดบันทึก การดำเนินงานทุกขั้นตอน เพื่อจัดทำจดหมายเหตุไว้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาติสืบไปด้วย

การดำเนินงานปั้นหล่อพระพุทธรูป มีขั้นตอนที่สำคัญคือ
การวางแผนและเตรียมจัดทำโครงการ
- จัดสร้างที่ทำการปั้นหล่อ
- วางแผนเตรียมการสรรหาเทคนิคที่จะใช้
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ การเตรียมการปั้น
- จัดทำเครื่องหารูปตัดหุ่น (Contour)
- จัดทำเครื่องขยายรูปตัดหุ่น
- ขยายส่วนและทำโครง
การปั้นต้นแบบ
- ปั้นปูนปลาสเตอร์ด้วยดินเหนียว
- ปรับแต่งรูปปูนปลาสเตอร์
การหล่อหลอมโลหะ
- ทำพิมพ์ชิ้น
- บุขี้ผึ้ง
- เผาหุ่น เททองหล่อ
- ตกแต่งชิ้นโลหะ
การติดตั้งและปรับแต่ง
- ประกอบชิ้นโลหะ
- ปรับแต่งรอยต่อ

ประมาณการค่าใช้จ่ายการดำเนินงานปั้นหล่อพระพุทธรูปพระประธานพุทธ-มณฑล เป็นจำนวนเงิน ๒๐,๗๔๕,๐๐๐.๐๐ บาท (ยี่สิบล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยได้รับโอนเงินจากกรมการศาสนาในหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างประจำ ปี ๒๕๒๔ และได้ขอยืมเงินทุนจัดสร้างพุทธมณฑลอันเป็นเงินบริจาคของประชาชนมาใช้ชั่ว คราว ในระยะแรกของการปฏิบัติงานที่เร่งด่วน สำหรับสถานที่ปฏิบัติงานได้จัดสร้างที่ทำการปั้นหล่อ ณ บริเวณศูนย์กลาง พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยกองสถาปัตยกรรม



โรงปั้นหล่อ พุทธมณฑล

กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ลักษณะเป็นโรงงาน ๒ หลังต่อเนื่องกัน สร้างด้วยโครงเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ผนังขึงด้วยผ้าใบ อาคารส่วนแรกใช้เป็นที่ปฏิบัติงาน ส่วนหลังเป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์งานปั้นหล่อและที่พักชั่วคราวของผู้ปฏิบัติ งาน การสรรหาเทคนิคและกำลังคน นายเดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากร ขณะนั้น นายประเวศ ลิมปรังษี ผู้อำนวยการกองหัตถศิลป และ นายสาโรช จารักษ์ ผู้อำนวยการกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล ได้ปรึกษากันถึงผลดีผลเสียต่างๆโดยรอบคอบแล้ว มีความเห็นร่วมกันว่า ควรให้ดำเนินการขยายและปั้นเอง โดยในขั้นตอนการปั้นนั้น ประติ-มากรของกรมศิลปากรจะเป็นผู้ควบคุมงาน และจะจัดจ้างเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยประติมากร กับคนงานทั่วไปเท่านั้น สำหรับการหล่อโลหะสำริด กรมศิลปากรจะดำเนินการเองเป็นบางส่วน เนื่องจากมีแรงงานจำกัด ส่วนที่เหลือจากอัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้างที่ มีอยู่ จะจ้างเหมาเอกชนดำเนินการ โดยกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑลจะเป็นผู้ควบคุม ทุกขั้นตอน ทั้งเป็นผู้กำหนดวัสดุที่ใช้หล่อตามความด้องการด้วย ในการประชุมวางแผนเบื้องต้น ที่ประซุมได้ระดมสรรพวิธีศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ พระพุทธรูป เพื่อสรรหาเทคนิคที่จะช่วยให้งานรวดเร็วขึ้น ตั้งแต่การขยายรูป ปั้น ซึ่งจะต้องขยายให้ใด้สัดส่วนถูกต้องแม่นยำจากขนาดรูปต้นแบบ จากพระบาทถึงยอดพระเกตุมาลาซึ่งสูง ๒.๑๔ เมตร ให้ใต้ ๒,๔๐๐ กระเบียด ซึ่งจะต้องใช้อัตราการขยาย ถึง ๗. ๔ เท่า สำหรับเทคนิคการขยายรูปต้นแบบ นายชวลิต หัศพงส์ ผู้เชี่ยวชาญของกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล ได้เสนอให้ไช้วิธีขยายจากรูปตัดหุ่นต้นแบบ (Contour) แทนวิธีเดิม ซึ่งขยายโดยใช้กล่องขยายเป็นตารางทีละจุด วิธีหารูปตัดหุ่นต้นแบบนี้จะรวดเร็วกว่า ถูกต้องแม่นยำกว่า และทำให้ขึ้นงานปั้ได้ง่ายเข้า ในการนี้จะต้องจัดทำเครื่องหารูปตัดหุ่นและเครื่องขยายรูปตัดหุ่นที่มีกำลัง ขยาย ๗.๔ เท่า (สำหรับงานปั้นขยายปูนปลาสเตอร์) และจะต้องแบ่งพระพุทธรูปออกเป็นส่วนต่างๆ ๖ ส่วน คือ

๑. พระเศียร
๒. พระอุระและพระพาหาข้างข้าย
๓. พระนาภฺและพระพาหาข้างขวา
๔. พระเพลา
๕. พระบาทและฐานบัวรองพระบาท
๖. พระกรข้ายขวา

ในส่วนพระพาหาข้างขวาและพระกรข้ายขวา ได้มอบให้วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ดำเนินการปั้น ส่วนอื่นๆประติมากรของกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑลเป็นผู้ปั้น




ภายในโรงปั้นหล่อ พุทธมณฑล

ในงานขั้นปั้นนี้ กรมศิลปากรได้เชิญผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร มาเป็นผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการดำเนินงานด้านประติมากรรมแก่กอง งานเฉพาะกิจพุทธมณฑล ซึ่งผู้ช่วยศาลตราจารย์ชลูดได้ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับพุทธลักษณะ ศิลปในการปั้นพระพุทธรูป อันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานอย่างมาก สำหรับการเลือกโลหะที่ใช้หล่อ ต้องให้ใด้มาตรฐานเดียวกัน มีสูตรหรือส่วนผสมที่ แน่นอน ที่เรียกว่าโลหะสำริด ดังนี้

ทองแดง ๘๐ เปอร์เชนต์ ดีบุก ๑๐ เปอfเซนต์ ลังกะสี ๗ เปอร์เซนต์ ตะกั่วนม ๓ เปอร์เซนต์

ด้านกำลังคน กองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล มีอัตราผู้ปฏิบัตงานในระยะการปั้น ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวจำนวนหนึ่ง และได้สรรหาประติมากรผู้ เชี่ยวชาญ ช่างฝีมีอ และแรงงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากอัตรากำลังที่มีอยู่ กับทั้งได้มีการสับเปลี่ยนเพิ่มอัตรากำลังตามความเหมาะสมในขั้นตอนลำดับต่อ ไป คือ การทำพิมพ์ต่อย และการถอดพิมพ์ชิ้น การสุมหุ่นหล่อหลอมโลหะ การหล่อโลหะ การประกอบ

และติดตั้งชิ้นส่วนโลหะกับโครงเหล็กแกนในองค์พระ ที่กรมโยธาธิการได้สร้างไว้แล้ว การจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการขยายแบบและปั้น ได้แก่โต๊ะหมุนสำหรับวางรูปต้นแบบ เครื่องบันทึกหารูปตัดหุ่น (Contour) เครื่องขยายรูปตัดหุ่น มาปั้น (ฐานรองรับรูปปั้นซึ่งหมุนดูได้รอบตัว) เครื่องมือกลึงฐานบัวรองพระบาท โครงเหล็กนั่งรัานวัสดุ ในการปั้น เช่น ดินเหนียว โครงแกนเหล็ก ไม้อัด ปูนปลาสเตอร์ เครื่องมือช่างปั้นเหล็ก เสริมพิมพ์ กระสอบ กาบมะพร้าว สบู่ น้ำมันมะพร้าว และอื่นๆ

เมื่อจัดทำโครงการ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ดำเนินการคัดหาช่างปั้น เพื่อทำการจ้างเหมาด้วยวิธีพิเศษแล้ว กองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล จึงได้จัดทำแผนงานเพื่อควบคุมการดำเนินงานใหัเป็นไปตามขั้นตอนภายในระยะเวลา ที่กำหนด จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติงาน ระยะแรก ณ โรงปั้นหล่อ กองหัตถติลป กรมศิลปากรเป็นการชั่วคราว ก่อนยายไปดำเนินการต่อ ณ พุทธมณฑล

รายนามประติมากร ผู้ร่วมงานปั้นพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล

๑. นายสาโรช จารักษ์ ผู้อำนวยการกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล
๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ผู้เชี่ยวชาญงานประติมากรรมใหัคำปรึกษาแนะนำ
๓. นายปกรณ์ เล็กสน ประติมากร ๗ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล
๔. นายบุญส่ง นุชน้อมบุญ ประติมากร รองผู้อำนวยการกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล
๕. นายสุภร ติระสงเคราะห์ ประติมากร ๔
๖. นายสุนทร ศรีสุนทร ประติมากร ๔
๗. นายมงคล ขมภูทิพย์ นายช่างศิลปกรรม ๔
๘. นายมายเดียร์ วัสวัสดิ้ นายช่างศิลปกรรม ๔
๙. นายอนุขาติ จัเนประยูร นายช่างศิลปกรรม ๔
๑๐. นายกองเกต ขนะพันธ์ ประติมากร ๓
๑๑ นายนิกร คชพงศ์ ประติมากร ๓
๑๒. นายขวลิต หัศพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญงานประติมากรรม
๑๓. นายสมใจ สุประดิษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญงานประติมากรรม
๑๔. นายธวัชชัย ศรีสมเพ็ขร ผู้เชี่ยวชาญงานประติมากรรม
๑๔. นายวิชิต เชาวน์สังเกต ผู้เชี่ยวชาญงานหล่อโลหะ
๑๕ นายจำรัส ชมภูทิพย์ ผู้เชี่ยวชาญงานหล่อโลหะ
๑๗. นายสุพจน์ จันทวีระ ช่างปั้นชั้น ๑
๑๔. นายชัยชนะ เผือกใจแผ้ว ช่างปั้นชั้น ๑
๑๙. นายนาวิน สุวัณณปุระ ช่างปั้นชั้น ๑

ายนามอาจารย์ วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ผู้ร่วมงานปั้นส่วนพระพาหา
ข้างขวาและพระกรซ้ายขวา ขององค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล

๑. นายกนก บุญโพธิ้แก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป
๒. นายขวัญเมือง ยงประยูร อาจารย์ ๒ ระดับ ๔
๓. นายธงชัย รักปทุม อาจารย์ ๒ ระดับ ๔
๔. นายพงษ์ศักดิ์ ภู่อารีย์ อาจารย์ ๒ ระดับ ๔
๔. นายณรงค์ บุญโพธิ้แกว อาจารย์ ๒ ระดับ ๔
๕. นายวสันต์ ฮารีเมา อาจารย์ ๑ ระดับ ๔
๗. นายไพบูลย์ ดีสวัสดิ์ อาจารย์ ๑ ระดับ ๔

การปฏิบัติงานในระยะแรก เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ เป็น การเตรียมแบบเพื่อเตรียมการปั้น โดยใช้เครื่องหารูปตัดหุ่น หาเส้นรูปตัดจากพระพุทธรูป ต้นแบบของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ออกเป็น ๕๓ ชิ้น เพื่อเตรียมการขยายต่อไป และไดัเริ่มการปั้นส่วนพระเกตุมาลา กลึงฐานบัวรองพระบาทในโรงสันหล่อ กองหัตถศิลป พร้อมกันในระยะนี้ด้วย



หารูปตัดหุ่นจากรูปต้นแบบเพื่อเตรียมการขยาย



ขยายรูปตัดลงแผ่นไม้อัด

ฉลุแผ่นไม้อัดประกอบเป็นโครงพระพุทธรูป ส่วนองค์พระปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์


ในเดือนกันยายน พุทธศักราข ๒๕๒๓ เริ่มปฏิบัติงาน ณ โรงปั้นหล่อพุทธมณฑล โดยทำการขยายรูปตัดหุ่นทั้งหมดลงบนแผ่นไม้อัดด้วยเครื่องขยายรูปตัดหุ่นให้ มีขนาด ๗.๕ เท่าของรูปต้นแบบจริงที่จะใช้ปั้น แล้วเลื่อยฉลุไม้อัดตามแนวเส้นรอบนอกของแบบ ขยาย ให้ได้เส้นแนวที่ถูกต้องและประณีต นำไม้อัดที่ตัดเป็น Contour ซึ่งมีลักษณะเป็นแว่นๆ ประกอบกันเข้าเป็นโครงพระพุทธรูป โดยแบ่งโครงออกเป็น๖ ส่วนดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้สะดวกแก่การปั้น วางแผ่นฉลุรูปไม้อัดเหล่านี้ให้ได้ระดับและอยู่ซ้อนสูงงจากกันช่วงละประมาณ ๓๐ เซนติเมตร จากนั้นเป็นการปั้นนขยายด้วยปูนปลาสเตอร์ในส่วนขององค์พระ ส่วนพระเศียนปั้นด้วยดินเหนียว แล้วถอดแบบเป็นรูปปูนปลาสเตอร์

ในพุทธศักราช ๒๕๒๔ เมื่อกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล ได้ดำเนินการปั้นหล่อ ปูนปลาสเตอร์เสร็จสมบูรณ์และเตรียมการทำแบบหล่อองค์พระพุทธรูปพระประธาน พุทธมณฑล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบัน และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราช¬ดำเนินทรงประกอบพิธีเททองพระเกตุมาลาพระพุทธรูปพระประธานพุทธ มณฑล ณ บริเวณพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ อันตรงกับวันวิสาขบูชา หลังจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการปฏิบัติงานปั้นหล่อพระพุทธรูป พระประธานพุทธมณฑล ภายในบริเวณโรงปั้นหล่อ และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ ด้วย อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้



พิธีพุทธาภิเษกแผ่นโลหะสำหรับหล่อพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จหรพนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองพระเกตุมาลา


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จหรพนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองพระเกตุมาลา


แสดงวิธีหาเส้นรูปตัดหุ่นถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการปฏิบัติงานในโรงปั้นหล่อ


พระเกตุมาลาที่หล่อแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสายชนวนและตกแต่งให้เรียบร้อย
ในเดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๔ กองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑลได้เริ่มดำเนินการหล่อสำริด จากรูปตัดส่วนองค์พระซึ่งเป็นปูนปลาสเตอร์ และพระเศียรซึ่งเป็นรูปคน และหล่อปูนปลาสเตอร์แล้ว ดำเนินการทำพิมพ์ขึ้น ส่วนการหล่อหลอมโลหะ ได้จ้างเหมาแรงงานเอกชน ดำเนินงานตามขั้นตอนของการหล่อรูปปั้นเป็นโลหะสำริด โดยมีนายช่างผู้ชำนาญงานของกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบ เดือนสิงหาคม พุทธศักราซ ๒๕๒๔ เริ่มปฏิบัตงานขั้นติดตั้งและปรับแต่ง ในระยะนี้การหล่อชิ้นโลหะซึ่งมี ๑๓๗ ชิ้น ได้เสร็จสิ้นลง ชิ้นโลหะที่หล่อและตกแต่ง ส่วนละเอียดแล้วได้นำขึ้นไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป ชิ้นสำริดทั้งหมดนี้ เมื่อประกอบเข้าเป็นองค์พระจะมีน้ำหนัก ๑๗,๔๔๓ กิโลกรัม การประกอบเขาเป็นองค์พระใช้การเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนการรมดำ ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติงานขั้นสุดท้าย


เหล็กโครงสร้างองค์พระประธาน


ชิ้นสำริดส่วนองค์พระที่หล่อแล้วเตรียมนำชิ้นติดตั้งปรับแต่งกับโครงสร้าง

ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งและปรับแต่งนี้ ได้ประสบอุปสรรคอันสำคัญคือ เหล็กแกนโครงสร้างภายในองค์พระประธาน ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คอ เหล็กแกนพระบาท เหล็กคาน ซึ่งตั้งอยู่บนเหล็กแกนพระบาทและต่อยึดกับบัลลังก์ และกล่องเหล็กขนาด ๘๐X900 เซนติเมตร ซึ่งอยู่บนคานเหล็กนั้น ปรากฏว่ากล่องเหล็กที่ตั้งอยู่บนหลังคาน ได้ติดตั้งคลาดเคลื่อนถอยไปทางด้านหลัง (ด้านทิศตะวันตก) ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ซึ่งหากทำการประกอบชิ้นสำริดเข้ากับโครงเหล็กแล้วจะทะลุเกินผิวสำริดออกมา ทำให้ใม่สามารถปรับประกอบแผ่นสำริดเข้ากับโครงเหล็กได้ จืงได้แก้ใขปรับแต่ง เลื่อนคืนให้เข้าที่โดยตัดเฉือนบางส่วนที่ชนหรือทะลุผิวสำริดออกได้เท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เหล็กคานที่ยึดระหว่างองค์พระประธานเชื่อมกับบัลลังก์ซึ่งทะลุออกนอกผิวสำริด เกินออกมาทางด้านขวา ค่อนไปด้านหลังองค์พระพุทธรูปประมาณ ๓๐ เซนติเมตร จากตำแหน่งผิวเดิมนั้น วิศวกรได้กำหนดให้วางเหล็กคานในลักษณะดังกล่าวเพื่อความมั่นคงแห่งโครงสร้าง และไม่อนุญาตให้มีการแก้ใขตัดแต่งประติมากรจึงต้องปั้นกลีบรอยพับของจีวรเพิ่มเติมจากแบบองค์พระพุทธรูปต้นแบบ เพื่อหุ้มคลุมเหล็กคานส่วนที่ยื่นเกินออกมาให้มิดชิด การปรับแก้ในส่วนดังกล่าว ทำให้งานขั้นนี้ล่าช้าไปกว่าแผนที่วางไว้ประมาณ 4 เดือน



การประชุมแก้ไขปัญหาเหล็กแกนโครงสร้างภายในองค์พระประธาน

อนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักกราช ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลนี้ว่า ‘‘พระศรีศากยะทศพลญาณประธานทุทธมณฑลสุทรรศน์” และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) ได้เสด็จตรวจเยี่ยมทอดพระเนตรการปฏิบัตงานปั้นหล่อพระประธานพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พุทธศักกราช ๒๕๒๔


สมเด็จพระสังฆราชเสด็จตรวจเยี่ยมและทอดพระเนตรการปฏิบัติงานปั้นหล่อ


การประชุมแก้ไขปัญหาเหล็กแกนโครงสร้างภายในองค์พระประธาน

การยกพระเศียรขึ้นติดตั้งบนองค์พระพุทธรูป

สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเชื่อมประกอบพระเศียรกับองค์พระพุทธรูป


สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเชื่อมประกอบพระเศียรกับองค์พระพุทธรูป



เชื่อมพระเศียรกับองค์พระพุทธรูป


ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ เมื่อกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล ได้ดำเนินการปั้นหล่อมาถึงขั้นติดตั้งชิ้นโลหะ โดยนำส่วนต่างๆ มาเชื่อมประกอบเข้าเป็นองค์พระ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ประกอบพิธีเชื่อมประกอบพระเศียรกับองค์พระพุทธ รูปโดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระลังฆราช (วาสนมหาเถระ) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเมื่อ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔

อนึ่ง ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงเลือกจุดสร้างพระมณฑป ณ บริเวณพุทธมณฑล สำหรับเป็นที่สนทนาธรรม โดยทรงเลือกจุด ก่อสร้างด้านทิศตะวันออกหลังองค์พระประธาน ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายประเวศ ลิมปรังษี ผู้อำนวยการกองหัตถศิลป เป็นผู้ออกแบบ เมื่อเสร็จงานเชื่อมชิ้นโลหะส่วนต่างๆประกอบเป็นองค์พระแล้ว จึงได้ทำการรมดำ ทั้งองค์ สำเร็จเรียบร้อยในเดือน พฤศจกายน พุทธศักราช ๒๕๒๕


พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงเลือกจุดสร้างพระมณฑป ณ พุทธมณฑล



ทอดพระเนตรหุ่นจำลองอาคารสถานที่ในพุทธมณฑล

ทอดพระเนตรภาพการปฏิบัติงาปั้นหล่อพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล


การประชุมผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล



การประชุมผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล



ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกรทรวงศึกษาธิการเยี่ยมชมการปฏิบัติงาน ณ โรงปั้นหล่อ พุทธมณฑล เมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ และให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธ มณฑล




จอมพลประภาส จารุเสถียร เยี่ยมชมการปฏิบัติงาน เมือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๔



ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการปัจุบัน เยี่ยมชมการปฏิบัติงาน เมือวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕



สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ศิริโสภาพัณณวดี ทอดพระเนตรการปฏิบัติงาน ณ โรงปั้นหล่อ พุทธมณฑล เมี่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕



พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมการปฏิบัติงาน เมือวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕




นักศึกษา ประชาชน เยี่ยมชมการปฏิบัติงาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘