เปาบุ้นจิ้น ละครเก่าเล่าใหม่ ความเอาแต่ใจของก๊กกู๋และพ่อผู้ให้ท้าย

เปาบุ้นจิ้น เป็นซีรี่ย์ที่ชื่นชอบตั้งแต่วัยเด็กของผมที่ถูกฉายวนหลายต่อหลายรอบบนหน้า จอทีวี แต่วันนี้อยากจะนำมาเล่าตอนสนุกตอนหนึ่งกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้นึกถึงเหตุการณ์ปัจจุบันขึ้นมา ตอนที่ว่าคือ ตอน ก๊กกู๋จอมโหด และขอเล่าแบบรวบรัดซักหน่อยให้เห็นละครในชีวิตจริง(ขออภัยFCท่านเปา)
วันหนึ่งผังอี้ลูกชายขุนนางชั้นผู้ใหญ่(ราชครู)รับราชองการไปแจงเสบียและไป ปิ๊งเมียหมอเข้า เริ่มแผนฆ่าผัวเขาเสียแล้วเอาเมียมา ใส่ร้ายคนอื่น ฉุดฆ่าผู้คน เบียดเบียนชาวบ้าน

คนใช้หมอไปแจ้งนายอำเภอแต่ก็ไม่ได้รับความเป็นธรรม

หลังจากโดนข่มขู่ทำร้ายก็ไปร้องเรียนกับท่านเปา

เปาบุ้นจิ้นเข้าเฝ้าฮ่องเต้ - ราชครูผังก็มาพบเจ้าจอม

ขอข้ามขั้นปัญหาต่างๆมาถึงช่วงที่จับกุมผังอี้ ลูกชายสุดที่รักของราชครูได้ แต่มีการเปิดศาลไต่สวนกันขึ้น

ราชครูก็วิ่งเต้นทุกวิถีทาง เพราะเลือดเนื้อเชื้อไข ลูกชาย ใครๆก็รัก(เฮียแกมีป้ายทองอภัยโทษด้วยสิ) จนฮ่องเต้ใจอ่อนหวังอภัยโทษ

ท่านเปาก็ยังรั้งยืนยันในหลักธรรมาภิบาล ด้วยประโยค "ภาษิตว่าให้ท้ายคนพาลคือหายนะ" และได้รับบัญชาให้ไปจัดการได้เลย (อย่าแหย)
ครั้นผังอี้ที่ถูกคุมขังพบหลวงจีนที่มาขอเข้าคุกทั้งที่ในทางกฎหมายไม่ได้ ผิดอะไร แต่ท่านผิดทางจิตสำนึก จริยธรรมจากเหตุการณ์ไปเห็นผู้หญิงเปลื้องผ้าอาบน้ำโดยไม่ตั้งใจนางเลยฆ่า ตัวตายด้วยความอับอาย หลวงจีนจึงมาจึงมารับโทษ

ผังอี้เองมีความสงสัยเป็นอย่างมาก และได้สนทธนากับหลวงจีนจึงได้รู้ถึงความจึงว่าตนนั้น ไม่รู้แม้กระทำอะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรเลว ที่ผ่านมาเพราะพ่อคอยเอ็นดูให้ท้าย ด้วยความรักที่ผิด จึงเป็นทุกข์และสำนึกผิดได้นการกระทำของตน

เมื่อเปิดศาลตัดสินผังอี้เองก็นิ่งเงียบไม่ได้โต้แย้งความผิดใดๆ ราชครูผู้เป็นพ่อก็เข้ามาขัดขวางห้ามการประหารทุกวิธีการแม้นกระทั้งเอา ชีวิตตนเองต่อรองกับเปาบุ้นจิ้น แต่เหตุการณ์กับผลิกผันเมื่อลูกที่ตนปกป้อง ยอมรับในบาทผิดสำนึกได้ และเตือนสติพ่อของตนเองว่าถ้าจะผิดก็ผิดที่ท่านไม่อบรมสั่งสอนลูกให้ดี ในเมื่อไ่มีใครลงโทษท่านได้จะขอใช้ชีวิตตนเองลงโทษความผิดของพ่อ(ที่รังแก ฉัน) ที่แม้จะสำนึกได้ก็สายไปแล้ว

---- เปิดมีดดดด  --- ประหาร.../

ละครตอนดังกล่าวที่ยกความหลักมานั้นก็พอสะท้อนย้อนดูให้เห็นถึงการเติบโตของ เด็กที่มาจากสังคมแวดล้อมถูกกล่อมเกลา แม้จะโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะติดนิสัยฝังรากกันมา เหตุการณ์ที่ผู้กระทำผิดใดๆ มักถูกมุ่งหมายต้นเหตุไปที่ตัวผู้กระทำ100% ซึ่งมิติอื่นจะโดนเพิกเฉย นั่นคือสถาบันครอบครัว หากแต่พ่อแม่ผู้ปกครองออกมาปกป้องลูกด้วยความเห็นอกเห็นใจจากขั้วหัวใจนั้น แล้วไซ้ ย่อมเป็นสิ่งที่พึงกระทำแต่พึงมองไปยังความรักความห่วงใยของผู้เสียหายด้วย เฉกเช่นกัน ผมเองคงแค่บ่นไปเรื่อยว่าวิธีการปกป้องลูกนั้นถูกต้อง แต่ต้องแสดงออกต่อความรับผิดชอบด้วย หลายต่อหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนในละครก็วนฉายซ้ำเช่นกัน ผมเองหวังไว้ให้ผู้กระทำผิดเกิดความละอายและสำนึกรับผิดชอบ คงไม่ต้องประหัดประหารกันขอเพียงกลไกลการจับแยกออกจากสังคม และฟื้นพฤติกรรมให้ปลอดภัยต่อสังคมในภายภาคหน้าก็น่าจะดีครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘