กรณีธรรมกาย : ป.อ. ปยุตฺโต บิดเบือนพระไตรปิฏก

กรณีธรรมกาย ธรรมกาย

โดยสรุป

ท่าน ป.อ.ปยุตโต กล่าวสรุปว่า “…. ผู้เป็นหัวหน้าหมู่ เป็นนักปกครอง พึงถือธรรมาธิปไตย” . . . . . . เป็นการสรุปเองที่แตกต่างจากพระไตรปิฎกอย่างสิ้นเชิง . . . . . นี่ย่อมไม่ใช่ธรรมะจากพระพุทธโอษฐ์แล้วครับ . . . . อย่างนี้ไม่อันตรายหรือครับ

ถ้าคนเข้าใจ ผิด ก็จะบอกว่าเอาธรรมาธิปไตยดีกว่า เพราะดูมีธรรมะ ดีกว่าประชาธิปไตย ทั้งที่ธรรมาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบการปกครอง ไม่ใช่การปกครองโดยใช้ธรรมะ แต่เป็นการใช้ธรรมะของพระพุทธเจ้ามาพิจารณาเพื่อการบรรลุธรรม ซึ่งการบรรลุธรรมนี้ ยังสามารถใช้การพิจารณาจากอัตตา หรือพิจารณาจากทางโลกเพื่อบรรลุธรรม เป็นการใช้มรรคที่ต่างกันเท่านั้น

 

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเรื่องการปกครองโดย ธรรมาธิปไตย คงเป็นความเข้าใจผิดแล้ว ส่วนคำว่า อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย เป็นหนทางการละอกุศลและเจริญธรรม ไม่เกี่ยวกับการปกครองเลยครับ

(1) อธิปไตยสูตรในพระไตรปิฎก http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ต่างจากที่ ป.อ.ปยุตโต อ้างอย่างสิ้นเชิง

ป.อ.ปยุตโต เขียนว่า 1. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่, ถือตนเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ — supremacy of self; self-dependence)http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=125

 

พระไตรปิฎก อธิปไตยสูตร เล่มที่ ๒๐ กลับเขียนแตกต่างไป คือความจริงเป็นดังนี้:http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 [๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย ๑ ธรรมาธิปไตย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อัตตาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มี เช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉน ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละได้แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่ปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ

คนละเรื่องกันเลยไหมครับ

==============================

(2) อธิปไตยสูตรในพระไตรปิฎก http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ต่างจากที่ ป.อ.ปยุตโต อ้างอย่างสิ้นเชิง

ป.อ.ปยุตโต เขียนว่า 2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่, ถือโลกเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภ นิยมของโลกเป็นประมาณ — supremacy of the world or public opinion) http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=125

 พระไตรปิฎก อธิปไตยสูตร เล่มที่ ๒๐ กลับเขียนแตกต่างไป คือความจริงเป็นดังนี้:http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โลกาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราออกบวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึกกามวิตกก็ดี พึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดี พึงตรึก วิหิงสาวิตกก็ดี ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โต ในโลกสันนิวาสอันใหญ่โต ย่อมจะมีสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัด ซึ่งจิตด้วยจิต สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ เธอย่อมสำเหนียกว่า ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตยดูเพิ่มเติม

คนละเรื่องกันเลยไหมครับ

==============================

(3) อธิปไตยสูตรในพระไตรปิฎก http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ต่างจากที่ ป.อ.ปยุตโต อ้างอย่างสิ้นเชิง

ป.อ.ปยุตโต เขียนว่า 3. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่, ถือธรรมเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ — supremacy of the Dharma or righteousness)http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=125

 พระไตรปิฎก อธิปไตยสูตร เล่มที่ ๒๐ กลับเขียนแตกต่างไป คือความจริงเป็นดังนี้:http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล ก็และการที่เราได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว จะพึงเป็นผู้เกียจคร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดังนี้ เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว จักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้แล ฯ

คนละเรื่องกันเลยไหมครับ

==============================

(4) อธิปไตยสูตรในพระไตรปิฎก http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ต่างจากที่ ป.อ.ปยุตโต อ้างอย่างสิ้นเชิง

ป.อ.ปยุตโต เขียนสรุปว่า ผู้เป็นอัตตาธิปก พึงใช้สติให้มาก; ผู้เป็นโลกาธิปก พึงมีปัญญาครองตนและรู้พินิจ; ผู้เป็นธรรมาธิปก พึงประพฤติให้ถูกหลักธรรม; ผู้เป็นหัวหน้าหมู่ เป็นนักปกครอง พึงถือธรรมาธิปไตย.

พระไตรปิฎก อธิปไตยสูตร เล่มที่ ๒๐ กลับเขียนแตกต่างไป คือความจริงเป็นดังนี้:http://www.tipitaka.com/atipatai.htm

 ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สำหรับผู้ทำบาปกรรม ดูกรบุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้ แน่ะผู้เจริญ ท่านสามารถที่จะทำความดีได้หนอ แต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสีย อนึ่ง ท่านได้ปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตนท่านนั้นซึ่งเป็นคนพาล ประพฤติตึงๆ หย่อนๆ อันเทวดาและพระตถาคตย่อมเห็นได้ เพราะฉะนั้นแหละ คนที่มีตนเป็นใหญ่ ควรมีสติ เที่ยวไป คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ และคนที่มีธรรมเป็นใหญ่ ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่ธรรม มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่เลวลง อนึ่ง บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุ ผู้ทำที่สุดเสียได้แล้ว ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นชาติ บุคคลผู้เช่นนั้น ย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง ฯ

คนละเรื่องกันเลยไหมครับ

กรณีธรรมกาย
กรณีธรรมกาย

การส่งเสริม ความเข้าใจผิด อาจเป็นแนวคิดแบบคริสต์เก่าในยุคกลางที่พวกบาทหลวงพยายามเป็นใหญ่เหนือ อาณาจักร เลยอ้างศาสนา อ้างธรรมะว่าดีกว่าทางโลก เป็นการปลอมปนแนวคิดต่างศาสนามาทำลายศาสนาพุทธหรือไม่ โปรดสังวรนะครับ พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกให้เราใช้ธรรมาธิปไตย ไม่เคยมีคำสอนอย่างนี้ว่าดีกว่าระบอบศักดินาในสมัยนั้นหรือระบอบประชาธิปไตย ในสมัยนี้ พระพุทธเจ้าสอนให้ตรัสรู้ ให้หลุดพ้นต่างหากครับ…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘