(อริยสัจ 4) คีอานู รีฟส์

"หลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างแรกที่รู้คือ ความจริงสี่ประการ (อริยสัจ 4)

คีอานู รีฟส์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสารเกี่ยวกับการสนใจธรรมะว่า
"หลักธรรมอย่างแรกที่รู้คือ ความจริงสี่ประการ (อริยสัจ 4) เกี่ยวกับ ทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ หนทางดับทุกข์ และวิธีพ้นไปจากทุกข์ จนพบความสุข
ศาสนาพุทธ เชื่อในการปล่อยวาง
ตัวของเรา ซึ่งก็คือ อีโก ในความเชื่อทางตะวันตก
พุทธจะสอนว่า สิ่งที่เรานึกว่ามันเป็น "ตัวเรา" นั้น ที่แท้มันไม่มีอยู่จริง

และในขณะที่ผมไปเนปาลเพื่อลองชุดที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ ผมก็ได้พบท่านอาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสนาพุทธ ตำแหน่งท่านคือ ริมโพช ซึ่งทำงานกับ เบอร์นาร์โด ผมได้คุยกับท่านอยู่หลายครั้ง ท่านสอนผมให้ฝึกร่างกาย เพื่อให้เข้าถึงสมาธิ และท่านสอนผมว่าทำอย่างไรจึงจะละวางตัวตนได้หมดไป แล้วไปถึงนัยยะอื่นๆ แง่มุมอื่นๆ เพื่อให้เข้าถึงความเมตตา ความหยั่งรู้ และความสุขในที่สุด

ตอนที่ผมต้องเรียนสิ่งเหล่านี้กับท่านริมโพช มันยากมาก มันเจ็บด้วยนะ นั่งขัดสมาธินานๆ น่ะ และมันยังทำใจลำบากจริงๆ ที่จะละวางสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา ท่านจึงบอกผมว่า จงอย่าเชื่อในสิ่งที่ท่านพูด ท่านให้ผมคิดทุกอย่างที่ได้ฟังมา ทดสอบกับสิ่งที่ผมเคยรู้ และขบคิดอย่างจริงจัง เพื่อให้ผมรู้ได้ด้วยตัวเองว่า มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่
นั่นคือ ศาสนาพุทธที่แท้จริง มันไม่ใช่แค่ การศรัทธาแล้วก็เชื่อ มันเป็นความโดดเด่นของศาสนานี้ มันไม่ใช่การเกลี้ยกล่อมให้เปลี่ยนความเชื่อหรือชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา พระไม่ได้บอกคุณว่า เฮ ปาวารณาตนเข้ามาแล้วฉันจะให้รางวัลคุณนะ แต่เขาบอกคุณว่า เขาได้ชี้ทางให้คุณแล้ว ให้คุณลองคิดดู และนี่มันทำให้ผมสนใจศาสนานี้ เพราะว่าเป็นศาสนาที่ศึกษาเกี่ยวกับ "ความจริง" โดยมีพื้นฐานมาจาก ความรัก ความเห็นใจ ความเอื้อเฟื้อต่อกัน และ ความสุข"

คีอานู รีฟส์ ได้อธิบายและกล่าวถึงการถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไว้ในเทปการเผยแพร่ศาสนาของทิเบตชุดหนึ่ง ถ้าคุณอยากเรียนอะไรสักอย่างให้กระจ่าง คุณต้องค้นหาครูที่เป็นผู้รู้แจ้งในเรื่องนั้น โดยเฉพาะในเรื่องหาวิธีพ้นทุกข์ การอ่านหนังสือเอง อาจไม่สามารถตอบข้อสงสัยทุกข้อของคุณได้ทั้งหมด
ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำอย่างแรกในตอนนี้ คือการเปิดใจเข้าหาครูของคุณ Lama Tsongkhapa ที่คุณจะได้พบต่อไปนี้ ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้สอนที่อุทิศตัวให้งานและฝึกฝนวิธีการสอนมาอย่างดี เปิดใจเข้าหาท่าน แล้วคุณจะพบสิ่งนั้น

พวกเราทุกคนล้วนอยากมีความสุข หากเราคิดว่า ชีวิตเราถูกลิขิตมาตั้งแต่แรกเกิด เราก็จะคิดว่า เราไม่สามารถสร้างสิ่งดีๆ ให้ตัวเราได้ แต่ในศาสนาพุทธ ทุกอย่างไม่เป็นเช่นนั้นพุทธบอกให้เรามองสิ่งที่เกิดบนโลกนี้ในรูปแบบของความจริง (Fact) ที่เรียกว่า กรรม (Karma) ซึ่งขึ้นกับ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ( action body speech and mind) ซึ่งทั้งหมดจะรวมกันเป็น "กรรม" ที่หมายถึงการรับผิดชอบต่อชีวิตของคุณเอง

เมื่อเรามีทุกข์ เรามักหาที่พักพิง สิ่งที่เราใช้กันประจำคือ เหล้า เซ็กส์ ยา อำนาจหรือเงินตรา แต่ในที่สุด มันก็ไม่ยั่งยืนจนเราไม่รู้ว่า อะไรคือความสุขที่แท้จริงกันแน่ ในปรัชญาแห่งพุทธ ที่พึ่งที่ดีที่สุด คือ พระรัตนตรัย ซึ่งประกอบไปด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ คือองค์พระศาสดา ผู้เปรียบเหมือนนายแพทย์ที่ค้นพบวิธีพ้นทุกข์
พระธรรม คือตัวยาที่จะฆ่าเหตุแห่งทุกข์ออกไปจากเรา และ
พระสงฆ์ คือคณะแพทย์ที่รู้ว่าเราเหมาะกับยาใด
เรียนรู้พระรัตนตรัย จะทำให้เราพบกับความสุขที่ยั่งยืน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘