4 คำอธิบายที่บอกว่า “ธรรมกาย” คืออะไร

บทนำ

ในช่วงนี้มีข่าวเกิดขึ้นมากมายในวงการพุทธศาสนาในเมืองไทย ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวข้องหลากหลาย เช่น เรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราช ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย หลายประเด็น หลายเรื่องราว หลากหลายความเข้าใจ และความไม่เข้าใจ เพราะมีตั้งฝ่ายต้านและฝ่ายสนับสนุน เรื่องพุทธศาสนานั้น หากไม่มีหลักการ หรือไม่ทราบข้อเท็จจริง จะเป็นอันตราย เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องนั้น หลายท่านเป็นผู้มีศีลมีธรรมสูงส่ง หากเราไปวิพากษ์วิจารณ์โดยขาดข้อเท็จจริง จะเป็นบาปเป็นกรรมได้ โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม  แต่การได้ศึกษาข้อเท็จจริงในเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น
แล้วถามว่า จะเริ่มตรงไหนดี ผู้เขียนเลยคิดว่า เริ่มการเรียนรู้ จากความหมาย ของความนิยามต่างๆ ที่เป็นประเด็นกันก่อน จะเป็นการดี และลำดับความเข้าใจได้ง่าย

ธรรมกายคืออะไร

1  คำว่า ธรรมกาย ในภาษาบาลี คือ dhammakāya หรือ ภาษาสันสกฤต dharmakâya ปกติ คำนี้มีปรากฏอยู่หลายแห่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและภาษาอื่นๆ จีน ทิเบต สันสกฤต อังกฤษ และอื่นๆ อีกที่แปลออกไป ในส่วนของรากศัพท์มาจากคำว่า dhamma + kaya นั่นคือ ธรรมะ+กาย  lit. อาจแปลได้ว่า กายแห่งธรรมะ หรือการที่ประกอบด้วยธรรมะนั่นเอง
เช่นตัวอย่างในภาษาบาลี
อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีรา ปิตา มม สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม ฯ สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา ฯ มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน ปตฺตกามิตฺถิโย ยาจํ ลภนฺติ ตาทิสํ สุตํ ฯ  (ขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน เล่ม ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔)
ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว ข้าแต่พระมุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่า มิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่า สตรีทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตร บวงสรวงอยู่ ก็ย่อมจะได้ บุตรเช่นนั้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
2  คำว่า ธรรมกาย ที่ปรากฎในภาษาอื่นๆ   อย่างที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น หากค้นในคำ สันสกฤต dharmakâya ในตำราพุทธศาสนาอื่นๆ จะพบอยู่มากมายนัก
ธรรมกาย
John J. Makransky, 1997, p 208.

หรืออีกตัวอย่าง
Without any duality of perceiver and per­ceived, there is no way a normal thought can survive; it vanishes. The phrase ‘single sphere of dharmakaya’ refers simply to this original wakefulness. It is called single or sole, meaning not a duality, whereas the normal thinking mind is dualistic, and is never called single. If this holding onto duality is not dissolved from within, there is the per­petuation of subject and object, perceiver and perceived. Another fa­mous phrase goes: ‘As long as duality does not become oneness, there is no enlightenment.’ When recognising, this duality is dissolved into oneneness.
Tulku Urgyen Rinpoche, 1999, p. 96

3   คำว่า ธรรมกาย มีความหมายอย่างไร
ดังตัวอย่าง quote ที่ยกมาในข้างต้นในตำราภาษาบาลี ซึ่งทางพุทธเถรวาทใช้เป็นหลักอยู่ ความหลาย ที่สื่อต่อคำว่า ธรรมกาย คือ กายภายใน ที่ตรัสรู้แล้ว
ดังใน คำพูดของพระน้านางมหาปชาบดี บ่งชัดว่า เป็นกายภายใน ที่มีอยู่แล้ว (หลับอยู่) แต่เมื่อได้เรียนรู้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กายนี้ก็ตื่นขึ้น (คือการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์) ท่านจึงอุทานอย่างนี้ออกมา  ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่า ธรรมกาย คือ กายแห่งพุทธะ ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรม สามารถทำให้ติ่น หรือ เข้าถึงกายนี้ได้ ด้วยการปฎิบัติธรรม (ทำสมาธิ) นั่นเอง
ในส่วนของทางตำราพุทธศาสนามหายาน ทางจีน หรือ ทิเบต คำว่า  ธรรมกาย หรือ dharmakâya มัก จะเชิอมโยงกับคำว่า buddhahood หรือ buddha nature คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า (โดยธรรมชาติ) ซึ่งมีอีกคำหนึ่งที่สะท้อนความหมายนี้โดยตรงคือ Tathāgatagarbha หรือพระพุทธเจ้าที่อยู่ในตัว หรือในท้อง
ธรรมกาย

อีกส่วนหนึ่ง ก็กล่าวว่า ธรรมกาย เป็นองค์ประกอบหนึ่งใน Trikaya กายสามประการ อันประกอบด้วย Dharmakaya, Sambhogakaya, y Nirmanakaya ซึ่งอธิบายว่า กายทั้งสามนั้นเป็นอันหนึ่งเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ Dharmakaya เป็นเหมือนใจ  Sambhogakaya เป็นการแสดงออกมาทางใจ Nirmanakaya เป็นกายทางกายภาพที่แสดงเป็นตัวตน  คือ หมายความว่า เมื่อใครได้เข้าถึงธรรมแล้ว จะเกิดกายแห่งการตรัสรู้นี้ปรากฎขึ้นมา
ธรรมกาย

4 คำว่า ธรรมกาย ในประเทศไทย
แม้ว่า คำว่า ธรรมกายจะมีอยู่แล้วในพระไตรปิฎิกภาษาบาลี แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงกันมากนะ จนมาสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ หรือ หลวงพ่อสด จันทสโร (2427-2502) เมื่อท่านได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง แบบเอาชีวิตเป็นตั้งแต่เริ่มบวชเป็นพระภิกษุ จนได้เข้าถึงธรรมและได้คนพบว่า ธรรมกายนี้แหละ คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม  หากใครใด้ปฏิบัติสมาธิแล้ว ได้เข้าถึงกายนี้ แสดงว่า ได้สัมผัสธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าถึง ไปตามลำดับ สู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งก็เป็นลักษณะความหมายเดียวกับที่ได้มีบันทึกอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนาภาษา ต่างๆ
สอนธรรมกาย
เมื่อได้ค้นพบดังนี้แล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติต่อไปให้ลุ่มลึกลงไปอีก จนสามารถเข้าใจแตกฉาน ในคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างลึกซึ่ง จนเป็นที่มาของคำว่า วิชชาธรรมกาย และท่านก็ได้สอนการปฎิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย อยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา  เมื่อมีคนปฏิบัติได้ผล ลูกศิษย์ของท่านก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าเป็นพระ สามเถร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ต่างก็ได้เข้ามาเรียนรู้ปฏิบัติจำนวนมาก บางส่วน ก็ได้ไปเปิดวัด เปิดสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งในต่างประเทศ ทำให้วัดปากน้ำภาษีเจริญมีชื่อเสียงและมีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้ว่า เจ้าภาพได้จองกฐินประจำปีวัดปากน้ำล่วงหน้าไป ถึงปี พ.ศ. 3096 แล้ว นับว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดาหากพูดถึงความศรัธทาของประชาชนทีมีต่อหลวงพ่อวัดปากน้ำ
และ วัดพระธรรมกาย ก็เป็นหนึ่งในคณะลูกศิษย์ของท่านที่ได้มาเปิดวัดใหม่ เพื่อขยายวิธีการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
หากท่านสนใจคำสอนเกี่ยวกับธรรมกาย และวิชชาธรรมกาย จากหนังสือที่แต่งโดยหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งมีรายละเอียดและลึกซึ่งอย่างมาก สามารถดาวน์โหลดได้ จากด้านล่างนี้

บทสรุป

ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น คำว่า ธรรมกาย นั้นเป็นคำที่มีความหมายดีมาก เป็นคำที่สูงส่งอันหมายถึง กายแห่งการตรัสรู้ธรรม หรือกายธรรมอันเป็นธรรมชาติ ที่อยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ซึ่งทุกตำราพุทธศาสนาทุกนิกาย ทุกภาษาก็บ่งชี้ไปที่ความหมายเดียวกัน เป็นคำที่บอกว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ หากปฏิบัติธรรมและปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจังและถูกวิธี ซึ่งหลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้ค้นพบและได้พิสูจน์แล้วว่า ทำได้จริง และยังเป็นการพิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยว่า เข้าถึงได้จริง แม้เวลาจะผ่านไปยาวนานเท่าไรก็ตาม เพราะว่าเมล็ดพันธุ์แห่งการบรรลุธรรมนั่นมีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ทุกๆคน โดยไม่จำกัด เพศ วัย เชื่อชาติ สีผิว หรือความเชื่อ

อ้างอิง / Reference

1. John J. Makransky, Buddhahood Embodied: Sources of Controversy in India and Tibet, 1997,p 208
2. Tulku Urgyen Rinpoche As It Is, Vol. 1, 1999, p. 96
3. Mahamudra [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manuyogas.org/trikaya—los-tres-cuerpos-de-un-buddha-o-aprender-a-amar.html
4. Estrella del Amanecer [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://encontramesipodes.wordpress.com/2015/03/13/la-realizacion-de-los-tres-cuerpos-de-buda

ภาพประกอบจาก (4.) และ files7.webydo.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘