" ความน่าฉงน??? " ในพระพุทธอุบัติภูมิ มิใช่ที่อินเดียหรือเนปาล (3)




มีฝรั่ง 3 คนในเมืองไทยที่ได้สร้างความสับสนเกี่ยวกับภาษา ศาสนา และประวัติศาสตร์ไทย คือ หมอบลัดเลย์ ที่บอกว่า อักษรไทย มาจากอินเดีย อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮมที่เขียนประวัติพระพุทธศาสนาและทำให้พระพุทธเจ้ากลายเป็นชาว อินเดีย และยอร์ช เซเดย์คนหลังสุดนี่ทำให้บรรพบุรุษไทยหนีหัวซุกหัวซุนมาจากทางใต้ของจีนและ บอกว่าชาวไทยเป็นเผ่ามองโกล
หลังจากที่ได้ทราบที่มาที่ไปกันมา 2 ตอนแล้ว ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายที่เรียกได้ว่าอาจทำให้ตาสว่างและเข้าใจได้อย่างลึก ซึ้งว่าที่จริงแล้วพระพุทธอุบัติอยู่ ณ ที่ใด จากหลักฐานที่ทำการศึกษาค้นคว้ากันมาใหม่แล้วนี้
5. พุทธสถาปัตยกรรม
รูปร่างวัด โบสถ์ เจดีย์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในดินแดนสุวรรณภูมิ มีลักษณะเด่น แตกต่างจากของอินเดียอย่างสิ้นเชิง
5.1 รูปร่างวัดในดินแดนสุวรรณภูมิ มีวัด วิหาร และโบสถ์เป็นจำนวนหลายหมื่นแห่ง บางวัดมีอายุกว่าสองพันปี ซึ่งมีรูปร่าง
ลักษณะเฉพาะ เช่น ช่อฟ้า ใบระกา ฯลฯ ลักษณะเด่นเหล่านี้ถ่ายทอดมาถึงวัดไทยในปัจจุบัน แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาค แต่องค์ประกอบใหญ่ๆก็ยังคงเหมือนกัน ส่วนวัดในอินเดียหรือเนปาล มีลักษณะออกไปทางฮินดู
5.2 พุทธศิลปะมีความละเอียดอ่อนมาก ต้อง ใช้ช่างศิลป์ที่มีจิตศรัทธาในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเลื่อมใสศรัทธา จึงจะสามารถสร้างผลงานพุทธสถาปัตยกรรมที่ประณีต โดดเด่น ดังที่พบเห็นในวัดโบราณทั้งในต่างจังหวัดและในเมืองกรุง หากพุทธสถาปัตยกรรมมาจากอินเดียก็ควรมีอะไรหลงเหลือไว้ให้เห็นแม้แต่สถูปที่ พุทธคยาก็มีรูปร่างแปลก ฝีมือการก่อสร้างก็ไม่ประณีต หากเทียบกับพระเจดีย์ในประเทศไทยก็ห่างไกลกันมาก

5.3 สถานที่สร้างครอบพระพุทธรูปปางไสยยาสน์จำลองในอินเดีย ก็ไม่ตรงกับที่บรรยายไว้ในพระไตรปิฎก ณ เมืองซึ่งอินเดียอ้างว่า เป็นกุสินาราย ก็สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่พระเศียรหนุนหมอน แต่ในพระคัมภีร์บรรยายว่า ซึ่งประทับนอนโดยใช้พระหัตถ์ขวาหนุนพระเศียร เพียงเพราะทีมของ Cunningham ขุดพบพระนอนที่ตำบลกูเซีย ก็ประกาศว่า เป็นกุสินารา โดยไม่ดูบริบทระหว่างเมืองต่างๆว่าสอดคล้องกับพระไตรปิฏกหรือไม่
ส่วน ในเมืองไทย ที่ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน ก็มีพระพุทธไสยาสน์สร้างจากหินทรายที่มีลักษณะตรงตามพระไตรปิฏก ก็ไม่มีใคร “ตู่” ว่าเป็นที่ปรินิพพานเหมือนฝรั่งทีมนั้น อนึ่งสถูป เจดีย์ หรือซากวัด เช่น ที่เชตวัน ก็สร้างจากก้อนอิฐที่มีลักษณะและขนาดไม่แต่ต่างจากอิฐในสมัยปัจจุบัน หากเป็นสิ่งปลูกสร้างในสมัยพุทธกาล แล้วจะเป็นก้อนดิน เผาที่มีขนาดใหญ่ 16 X 32 ซ.ม. ขึ้นไปดังที่พบเห็น ณ สถูปองค์แรกของพระธาตุพนมที่พังลงมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เพราะคนในสมัยพุทธกาลมีขนาดสูงใหญ่กว่าคนในปัจจุบัน

6. ภาษามคธหรือภาษาบาลี
ภาษามคธ เป็นภาษาของชนชาติไทยโบราณ เนื่องจากเป็นภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่าบาลี ซึ่งแปลว่า คำสอน ภาษามคธจึงนิยมเรียกว่า ภาษาบาลี

ภาษาบาลี เป็น ของชาวสุวรรณภูมิ แต่กลายเป็นของอินเดีย เพราะฝรั่ง เช่นกัน หนึ่งใจจำนวนนั้นคือ หมอบลัดเลย์ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชและผู้ก่อตั้งโรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี และเป็นผู้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศสยาม หมอบลัดเลย์เป็นผู้บอกว่าอักษรไทยมาจากอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๓
ภาษามคธ มีอักษรที่ใช้จารึก เรียกว่า อักษรธรรม ซึ่งออกแบบให้เขียนตามหลักไวยากรณ์และหลักการสังโยค ภาษาบาลี เช่น ตำแหน่งพยัญชนะและสระจม สระลอย ใบลานส่วนใหญ่ที่พบเห็นที่อิสานหรือทางเหนือ ล้วนเป็นพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาหรือเกี่ยวเนื่องกันทั้งนั้นหากภาษาบาลี ไม่ใช่ภาษาของชาวเหนือและอิสานแล้ว เหตุใดการประดิษฐ์อักษร จึงสอดคล้องความต้องการใช้ในภาษาบาลี
อักษรขอมก็เช่นเดียวกัน เป็นอักษรไทยที่ขุนขอมไทยประดิษฐ์ขึ้น 15 ปีหลังจากน้องชายของท่าน คือขุนสือไทย คติลายสือไทยขึ้นเมื่อ ปีอิน 1235 (6,765 ปีมาแล้ว ) ลายสือไทยและลายขอมไทยจึงเป็นอักษรไทยไม่ใช่ของเขมร และไม่คำว่า “ภาษาขอม” มีเฉพาะ “อักษรขอม” นักภาษาไทยควรใช้คำให้ถูกต้อง ดังนั้นภาษาธรรมที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ตั้งแต่เริ่มต้นซึ่งมี หลักฐานว่ามีภาษาเขียนแล้วเพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสคำว่า “ใบลานเปล่า” “มา ปิฎก…ไม่ให้เชื่อตำรา….” มาตั้งแต่ครั้งที่ทรงพระชนม์อยู่ การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 ต้องมีการบันทึกลงใบลานแล้ว มิใช่จดจำหรือเป็น “มุขปาฐะ” ดังที่สั่งสอนกันว่า มีการบันทึกลงใบลานครั้งแรกในสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ลังกา ต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าภาษาบาลีอยู่ในสุวรรณภูมิ
6.1 ชื่อเมือง แม่น้ำ ป่า คนฯลฯ ในสุวรรณภูมิส่วนมากใช้ภาษาบาลี เช่นแม่น้ำกุกกนที(แม่น้ำกก) แม่น้ำขรนที หรือ แม่น้ำธนนที (แม่น้ำโขง) ธนมูลนที (แม่น้ำมูล) ชีวายนที (แม่น้ำชี) ลัมภคารีวัลย์ (ลำปางหลวง) ฯลฯ จึงมั่นใจว่า ภาษามคธหรือภาษาบาลี เป็นภาษาดั้งเดิมที่ชาวไทยลาวใช้ในแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นแคว้นมคธ จึงน่าจะอยู่ในแดนสุวรรณภูมิมากกว่าอยู่ในอินเดีย แม้แต่คำว่า “ของลับ” ที่ใช้กันในภาษาไทยและลาว ก็เป็นภาษาบาลี คือ “คุยห” ที่มีก ารแผลงสระอุ เป็น ว(ภาษากลาง) หรือตัดไปเลย(ภาษาอิสาน) ส่วน “ห” เสียงหายไป อีกคำหนึ่งคือ กาลามะ ที่มาของ “กาลามสูตร” ก็มาจากพวก “กุลา” แผลง อุ เป็น อะ และเป็นอา ชาวกุลาเป็นชนเผ่าหนึ่งทางภาคอิสาน อาศัยอยู่แถวทุ่งกุลาร้องไห้
หลักฐานเอกสารหนึ่งที่แสดงว่า ภาษาบาลีเกิดขึ้นในดินแดนไทย คือ หนังสือ Seleced Papers on PaliStudies ของ O. von Hinuber สำนักพิมพ์ The Pali Text Socity , Oxford, 1994. ที่มีเนี้อหาบางตอนได้กล่าวถึง คำว่า “บาลี” ว่า ชาวตะวันตกได้รู้จักคำว่า “บาลี” หรือ “ภาษาบาลี” เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 โดย M. Simon dela Loubere ซึ่งเป็นเอกอัครราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ได้ถูกส่งมาประจำที่ไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ ค.ศ.1687 (พ.ศ. 2230) โดยกล่าว ว่า บาลีเป็นภาษาที่คณะสงฆ์ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย หลักฐานนี้สนับสนุนว่า ภาษาบาลีเกิดในประเทศไทย และแสดงให้เห็นว่า ชาวตะวันตกได้รู้จักภาษาบาลีครั้งแรกจากประเทศไทย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมฝรั่งไม่ได้รู้จักชื่อ “บาลี” นี้ จากที่อื่น ทั้งๆ ที่ในสมัยนั้นฝรั่งตะวันตกจากประเทศต่าง ๆ ได้ออกไปล่าอาณานิคมในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศรีลังกาและอินเดีย ฯลฯ แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงภาษาบาลีเลย มีที่กล่าวถึงก็เฉพาะภาษาสันสกฤต (ที่ชาวอังกฤษบางคนชื่อ James Prinsep ป็น ผู้เชียวชาญ) อาจเป็นไปได้ว่า ภาษาบาลีที่คณะสงฆ์ในแถบประเทศอื่น ๆ ใช้นั้น ไม่ได้มีการใช้กันอย่ากว้างขวาง หรือเด่นชัดเท่ากับที่ใช้ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นต้นฉบับของภาษาบาลี จึงมีการใช้ภาษาบาลีกันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าเวลาจะห่างจากสมัยพุทธกาลตั้ง สองพันปีมาแล้ว (ข้อมูลจาก คุณกฤตกิตติศักดิ์ ไพตรีจิตต์ นักศึกษาประวัติพุทธศาสนา-ไต้หวัน)
6.2 วัฒนธรรมของสุวรรณภูมิมีมายาวนาน ตามการศึกษาจากกระเบื้องยางที่คูบัวของพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) แห่งวัดโสมนัสวิหาร ถ้าเทียบกับภาพยนตร์ก็คล้ายกับว่า Episode 1 2 3 หรือหนังม้วนแรกๆ ที่บอกว่า อินเดียนำวัฒนธรรมไปจากดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อหลายพันปีมาแล้วเกิดสูญหายไป เหลือแต่ Episode 4, 5, 6 หรือหนังม้วนหลังๆที่ฉายให้เห็นว่าวัฒนธรรมอินเดียแผ่ซ่านมาถึงดินแดน สุวรรณภูมิ อะไรต่ออะไรจึงกลายเป็นของอินเดียหมด แม้แต่ศาสนาพราหมณ์ ภาษาบาลี เป็นต้น
7. หลักฐาน/ตำนานไทย
พงศาวดารเหนือและใบจารลาวได้อ้างอิงหลักฐานการเกิดพระธาตุและเจดีย์ต่างๆไว้ มากมายในพงศาวดารเหนือ มีการระบุเรื่องราวที่เกี่ยวโยงกับพุทธประวัติและการเกิดเมืองต่างๆ เช่นโยนกเชียงแสนและการที่พระพุทธองค์ พร้อมกับพระยาอโศกกับพระอานนท์ หรือพระเถระองค์อื่นเสด็จไป ณ ที่ต่างๆ ได้ประทานพระเกศาให้เจ้าเมือง หรือชาวบ้านเก็บไว้บูชาพร้อมกับพยากรณ์ว่า ที่แห่งนั้นในอนาคต จะเกิดอะไรขั้นมีใครมาครอง แล้วจะเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ หรือวิหารชื่ออะไร ดัง ปรากฏในตำนานพระเจดีย์ แต่ละแห่ง

ส่วนในใบลาน จารของลาว ก็มีการเอ่ยชื่อ เมืองที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่นเมืองคันธาง, เมืองสาเกต, เมืองปาวายและเชื่อกันต่อเนื่องกันมาว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพระเวสสันดร เป็นต้น
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มีการกล่าวถึงชมพูทวีปในพระราชสาสน์ของพระมหาจักรพรรดิถึงพระเจ้ากรุงหง สาวดีเพื่อสงบศึกษาเนื่องจากพระเจ้ากรุงหงสาวดีจับพระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ และกล่าวถึง “กรุรุาฐ”, “อินทปัตถ์” เมื่อคราวพระนเรศวรยกกองทัพไปทำปฐมกรรมพระยาละแวก
ในสังคีติยวงศ์ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขไทยปุระ ณ สยามประเทศ ตั้งอยู่ในชมพูทวีป ในหน้า 282 และในที่อื่นๆอีกหลายแห่ง
ในประกาศเทวดา เมื่อครั้งสังคายนาพระไตรปิฏกในรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2331 ระบุไว้ชัดเจนหลายแห่งว่าพระพุทธโฆษาจารย์ไปแปลพระไตรปิฏกจากสิงหลภาษาเป็น มคธภาษามาไว้ในชมพูทวีป หากชมพูทวีปเป็นอินเดียก็ต้องเขียนว่า “…นำไปยัง” ชมพูทวีป


8. ข้อสังเกตเพิ่มเติม
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น มีข้อสังเกตอื่นๆ บางประการเกี่ยวกับปรากฏการณ์ในทางพระพุทธศาสนา อาทิ

  • หากพระภิกษุอยู่ในเนปาล ซึ่งอยู่เชิงเขาหิมาลัย อากาศคงหนาวมาก พระภิกษุจะอยู่ได้อย่างไร

  • หาก พระภิกษุอยู่ในเนปาล ซึ่งอยู่เชิงเขาหิมาลัย อากาศคงหนาวมาก พระภิกษุจะอยู่ได้อย่างไรโดยครองจีวรบางๆ ไม่กี่ชิ้น และไม่สวมรองเท้า ยิ่งในช่วงสองพันปีมาแล้วคงหนาวเยือกเย็นกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก (แค่ 30 ปี กรุงเทพก็มีอากาศเย็นกว่าในปัจจุบัน)
  • ไม่มีการเอ่ยถึง หิมะ ในความหมายของ Snow ในพระไตรปิฎกแต่ใช้เฉพาะหิมะในความหมายว่า มีความเย็นจนกลายเป็นน้ำค้าง ป่าหิมพานต์ (หิมะ + วนต) คือป่าที่มีความเย็นหรือป่าน้ำค้าง จึงหมายถึงป่าดงดิบทางเหนือหรืออิสาน ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีหมอกเป็นน้ำค้างฝอยเม็ดโตๆพรั่งรูลงมาให้เห็นกันอยู่ป่า หิมพานต์ก็เสียงสั้นหายไปเป็นภูพาน
  • ฤาษีที่ห่มหนังเสือไม่ปรากฏในอินเดีย พบเห็นแต่ในเมืองไทย เพราะอากาศเมืองไทยเอื้อที่จะให้ฤาษีห่มหนังเสือได้
  • คำ ว่า “คงคา” น่าจะหมายถึงแม่น้ำมากกว่าเป็นชื่อแม่น้ำ ในความหมายเดียวกับคำว่านที เช่นในจารึกวัดศรีชุมที่ว่า “…ชาวสิงหลห้าบ้าน ข้ามน้ำคงคาพายมาสาธุการ เสียงร้องมี่โกลาหลหนักหนา เขาอาราธนาพระบารมีเสด็จ ลงมา เขาให้กูอาราธนาพระจึงลงมาประทักษิณรอบพระเจดีย์ทอง แล้วผยองขึ้นเมื้อเลา กูมีศรัทธาหนักหนากูจึงทอดตน กูโอยทานให้ชีวิตขาดว่าจักทำศาสนาในลังกาทวีป จักฟังคำพระเป็นเจ้าทุกประการ แล พระเป็นเจ้าจึงมาวัดรอบสุวรรณเจดีย์ รัศมีกระเลียกงามหนักหนา….ดังกงเกวียนแก้ว แล้วพระคีวาธาตุจึงเสด็จเข้าในโกศทองฝูงพระธาตุ….จึงเข้ามาสู่พระเจดีย์ ดังผึ้งพา..เข้ามาสู่รังนั้นแล กูจึงลุกขึ้นอัญชุลี…ลองมา….มาพระศรีรัตนมหาธาตุเจ้ากู ลูกหนึ่งมีพรรณงามดังทองรัศมีเท่าลูกหมาก….เสด็จ มาแต่กลางหาวลงมาฉวัดเฉวียนรอบตนท่านแลจึงเสด็จขึ้นอยู่เหนือหัว และพระรัตนธาตุจึงเสด็จมาอยู่กึ่งหน้าผากพระศรีสรัทธาราชจุฬามุณีศรีรัตน ลังกาทวีป จึงยอสองมือรับเอาและไหว้พระเกศธาตุ เส้นหนึ่งเลื่อมงามคว้างแต่บนสพัดเหนือหัวพระศรีสรัทธาราชจุฬามุณี ญีนศรัทธาน้ำตาถั่งตกหนักหนาบูชาทั้งตนอกเข่าซองทั้งหลายบ่มีว่าถีเลย “ชาวสิงหลทั้งหลายเห็นอัศจรรย์ดังอันเขาจึงชันทอดตนไหว้ สนนทพัดเบญจางค์นอนพกชัง ตีนพระศรีสรัธาราชจุฬามุณี คนทั้งหลายไหว้……เต็มแผ่นดิน อุปมาดังเรียงท่อนอ้อยไว้มากดามดาสเต็มที่สถานนั้นแล เขาจึงขึ้นบังคม ลางคนว่าราชกุมารมหาสามีหน่อพุทธางจริงแลนะ เขาจึงเอาน้ำมาล้างตีนพระมหาสามีสุมเอาน้ำกนิขุดเอาดินที่พระมหาสามีศรีสรัท ธาราชจุฬามุณี เหยียบที่ใดย่อตีนที่นั้น ขุดเอาดินที่นั้นอันคันเอาไปไหว้บูชา “รุ่งนั้นพระมหาธาตุสองลูกเรือง…ดังดาวคอยเสด็จไปกลางหาวก่อน พระศรีสรัทธาราชจุฬามุณี จึงข้ามน้ำคงคาไป …..ชั่วคืนหนึ่ง พระเจ้าเสด็จเข้าในโกศ ส่งแล้วเมื่อรุ่งจึงเสด็จออกอยู่บัดแมง ให้คนทั้งหลายเห็นศรัทธาสาธุการแลจึงเสด็จคืน เรืองเท่ากงจักรกลิ้งไปกลางหาวสู่…เจดีย์ทองที่เก่า รัศมีถูกซ่านต้องพรายเรืองงามซึ่งแสงพระอาทิตย์ เมื่อพุ่งขึ้น พระเป็นเจ้าที่นั้นปาฏิหาริย์ได้สามสิบเอ็ดวัน ดังอันเพื่อจักให้สำแดงแก่คนทั้งหลาย ให้ไปช่วยธรรมในลังกาทวีป เป็นมหากุศลใหญ่ ให้ปรากฏแก่พุทธศาสนา บางแห่ง ไปถึงอรัญญิกนอกเมืองกำพไล ชาวสิงหล จึงประดับธชปฏากทีปธูปคนธมาลา…” จากคำอ่านจารึกข้างต้น ทำให้สงสัยว่า ลังกาทวีปของชาวสิงหลอยู่ที่ไหนกันแน่ เพราะมีช่วงหลังที่ประเทศศรีลังกาอาจไร้ศาสนาพุทธแล้ว เพราะถูกฝรั่งปอตุเกตทำลาย ฆ่าพระสงฆ์จนหมดสิ้น รวมทั้งบดพระเขี้ยวแก้วโปรยลงทะเล
  • ที่เมืองแคนดี้ ในศรีลังกา และกลับมีพระพุทธศานาอีกครั้งเมื่อพระอุบาลีและคณะเดินทางไปฟื้นฟูใน พ.ศ. 2396 ในดินแดนสุวรรณภูมิมีสถานที่เรียกว่า ลังกา อยู่หลายแห่ง เช่น ลังกาวี ลังกาคาม ภูลังกา ลังกาพะโค และเกาะลังกา (วัดเขาสาริกา) ซึ่งเป็นที่อยู่ของทศกรรณ ตามที่ปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งก็ได้กลายเป็นของอินเดียไปแล้ว โปรดสังเกตว่า หลวงพ่อ พระมหาเถรศรีสรัทธาราชจุฬามุณีศรีรัตนลังกาทวีป เดินทางข้ามแม่คงคาหนึ่งคืน จึงไปถึงดินแดนที่เรียกว่า ลังกา หากเป็นลังกาในประเทศลังกา หลวงพ่อและชาวสิงหลจะไปถึงได้อย่างไรโดยใช้เวลาเพียงคืนเดียว?
  • ชาว ศรีลังกาเองก็เชื่อว่า ประเทศสยามอยู่ในชมพูทวีป ดังปรากฏในพระสมณสันเทศ (จดหมาย)ของพระศิรินิวาศราชครู ตำแหน่งทุติยสังฆนายก เมืองศิริวัฒณราชธานี(แคนดี) ศรีลังกา ถึงเจ้าฟ้ามงกุฎเมื่อยังทรงผนวชความว่า “…ได้ ส่งสมณสันเทศนี้ ถวายมายังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้งมงกุฏ ทรงพระนามวชิรญาณเถระ อันทรงสถิตคณะวัดบวรนิเวศวิหาร ณ กรุงรัตนโกสินทรเทพมหานครในชมพูทวีป…” แสดงว่าทางศรีลังกาก็ถือว่าไทยอยูในชมพูทวีป ดังภาพจากหนังสือ “ประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สำนักพิมพ์มติชน 2546) หน้า 467
  • พระ พุทธบาทที่ยอดเขาสมกูฎที่เชื่อว่าอยู่ที่ศรีลังกา ก็พบหลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ 8 หน้า ๔4 ว่า อยู่ที่เมืองสองแคว คือพิษณุโลก ตามที่ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้แปลไว้ ดังภาพในหน้าก่อนนี้
สรุป
จาก การศึกษาในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการศึกษาเอกสาร เป็นที่ยืนยันแน่นอนว่า ชมพูทวีป คือ ดินแดนที่เป็นที่ตั้งของ ไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ เป็นเวลาประมาณ 125 ปีนับตั้งแต่ปีที่ Sir Alexander Cunningham ได้เผยแพร่แนวคิดไปประมาณ พ.ศ. 2420 จนเกิดกระแสความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในอินเดีย เผยแพร่ไปทั่วโลก ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราชาวชมพูทวีปตัวจริง จะกระทำความจริงให้ปรากฏมิ ใช่เพื่ออวดความยิ่งใหญ่แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ แต่เพื่อความถูกต้อง และทวงสิทธิ์อันชอบธรรม เพื่อมิให้ผู้มีอำนาจ สามารถบิดเบือนได้อย่างลอยนวล

Credit : ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Emai l: Chaiyong@iname.com
Website :  www.chaiyongvision.com
Website : www.buddhabirthplace.com

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.hiclasssociety.com/?p=40650

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘