เมืองราชคฤห์ 02

รูปภาพ

สถูปบ้านพระสารีบุตร สถูปองค์นี้สร้างเป็นอนุสรณ์แก่ท่านพระสารีบุตร
เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็น บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม ในแคว้นมคธ
ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระสารีบุตรในครั้งพุทธกาล
(เมืองนาลันทา เป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ)


รูปภาพ

“นวนาลันทามหาวิหาร” มหาวิทยาลัยนาลันทา (ใหม่)

:b47: :b46: :b47:

นาลันทา ตั้งอยู่ที่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม ในแคว้นมคธ
ซึ่งเป็นเขตคามบ้านเกิดของพระอัครสาวกเบื้องขวา-ซ้าย
ของพระพุทธองค์ อันได้แก่ พระสารีบุตร ผู้เลิศด้วยปัญญา
และพระมหาโมคคัลลานะ ผู้เลิศด้วยฤทธิ์
อีกทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานที่ “ปาวาริกเศรษฐี”
ถวายสวนมะม่วงให้เป็นพระอารามที่พำนักของพระพุทธองค์
ครั้งเสด็จมาแสดงธรรม และเสด็จผ่านเพื่อไปยังเมืองไวสาลี

นาลันทา เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก
ศูนย์กลางสำคัญของการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
มหาวิทยาลัยนาลันทารุ่งเรืองมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗
หรือราว ๑,๗๐๐ ปีหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบด้วยวิธีการต่างๆ โดยกองทัพมุสลิมเติร์ก
ว่ากันว่าเฉพาะที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอันเลื่องชื่อลือนาม
มีพระสงฆ์ถูกกองทัพมุสลิมเติร์กฆ่าตายกว่า ๘,๐๐๐ รูป

ปัจจุบันคงเหลือแต่ซากปรักหักพังของความยิ่งใหญ่เกรียงไกรในอดีต
ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ ได้สร้างไว้
เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยศึกษาธรรม เมื่อประมาณปีพุทธศตวรรษที่ ๓
และเป็นอนุสรณ์สำหรับพระอัครสาวกเบื้องขวา คือท่านพระสารีบุตร
ซึ่งเกิด ณ สถานที่นี้ หรือเรียกว่า หมู่บ้านสารีจักร ในปัจจุบัน

ท่านพระสารีบุตรหลังจากออกบวชแล้ว
ได้ชักนำน้องชายคือ จุนทะ ออกบวชด้วย
เมื่อจะนิพพาน ได้มาเทศน์โปรดมารดาให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
เป็นการแสดงกตเวทิตาธรรมให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง
หลังจากท่านพระสารีบุตรนิพพานแล้ว ชาวนาลันทาได้สร้างสถูป
ณ สถานที่ที่ท่านดับขันธ์ เพื่อไว้บูชาสักการะ
และสร้างกุฏิวิหารล้อมรอบสถูปนั้นด้วย
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ทรงจาริกแสวงบุญมานมัสการสถูปพระสารีบุตรแห่งนี้
ทรงให้สร้างสถูปเพิ่มขึ้นอีก ๒ องค์ สำหรับพระสารีบุตรองค์หนึ่ง
สำหรับพระมหาโมคคัลลานะอีกองค์หนึ่ง และให้สร้างกุฏิวิหารล้อมรอบสถูปนั้น
เพื่อให้เป็นสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ และเป็นสถานที่เล่าเรียนพระพุทธศาสนา


ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียทำการขุดค้นมหาวิทยาลัยนาลันทา
บนเนื้อที่ทั้งหมด ๒๓๑ ไร่ หรือ ๙๓ เอเคอร์
ในครั้งอดีตมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้เป็นสถานศึกษาที่รุ่งเรืองยิ่ง
ประกอบด้วย ห้องเรียน ห้องสมุด หอพัก ห้องประชุม หอสวดมนต์
สถานที่ลงโทษ โรงครัว ยุ้งฉางเก็บรักษาอาหาร และบ่อน้ำขนาดใหญ่ ฯลฯ

ดังจดหมายเหตุที่พระถังซัมจั๋ง (หลวงจีนเฮียงจัง) เล่าไว้
คราวท่านจาริกมาศึกษาพระพุทธศาสนา ณ สถาบันสงฆ์แห่งนี้ว่า
“...มีนักศึกษาประมาณ ๑๐,๐๐๐ ท่าน มีครูอาจารย์ประมาณ ๑,๕๐๐ ท่าน
มีตึกสูงถึง ๖ ชั้น มีพระพุทธรูปปางสมาธิสูงถึง ๑๖ วา
มีห้องสมุดใหญ่ถึง ๓ หลัง อยู่ในมหาวิทยาลัยเดียว
โดยพระสงฆ์ผู้มาศึกษาเล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น...”


• มหาวิทยาลัยนาลันทา
มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39415

รูปภาพ

ศาสนวัตถุสำคัญของเมืองนาลันทา นอกจากซากกองอิฐสีแดง
และเศษรูปสลักหินอ่อนที่ปรักหักพังของ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลกแล้ว
ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งซึ่งประดิษฐาน
อยู่นอกเขตรั้วของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทางด้านทิศตะวันตก
นามว่า “หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ” หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ”
นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเลื่องชื่อที่สุดในประเทศอินเดีย
เพราะเป็นพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวที่หลุดรอด
จากการถูกทำลายของกองทัพมุสลิมเติร์กในปี พ.ศ. ๑๗๖๖
โดยเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแกรนิตสีดำ


• หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ แห่งเมืองนาลันทา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39407

รูปภาพ

ถ้ำพระสารีบุตร เมืองราชคฤห์

• ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41350

รูปภาพ

รูปภาพ

ถ้ำพระโมคคัลลานะ เมืองราชคฤห์

รูปภาพ

ถ้ำสัตตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์

รูปภาพ

จุดที่ปราบช้างนาฬาคิริง

รูปภาพ

รูปภาพ

ตโปทาราม สวนที่มีบ่อน้ำพุร้อนโบราณอายุกว่า ๒,๕๐๐ ปี

รูปภาพ

ในบริเวณตโปทารามยังมี “พระวิหารสีขาว”
ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่พระพุทธองค์ประทับตอนเสด็จมาสรงน้ำ


รูปภาพ

พระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา วัดไทยสิริราชคฤห์

รูปภาพ

รูปภาพ

สันติสถูป ที่พระสงฆ์ญี่ปุ่นสร้างไว้

รูปภาพ

รูปภาพ

ซากกำแพงคุก (เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ)
ที่พระเจ้าอชาตศัตรูจับพระเจ้าพิมพิสาร พระราชบิดา
มาคุมขังไว้ตรงนี้ เพื่อตนเองจะได้ครองราชย์สมบัติแทน
จนกระทั่งสุดท้ายพระเจ้าพิมพิสารก็ถึงแก่สวรรคต
เพราะแรงแห่งกรรมที่ตัวเองได้เคยทำไว้ในอดีตนั้นเอง
ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงหินหนาประมาณ ๖ ฟุตล้อมรอบบริเวณ
ณ จุดตรงนี้จะสามารถมองเห็นเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ได้
ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเคยประทับยืนทอดพระเนตร
ชายจีวรของพระพุทธองค์ พร้อมเสด็จเดินจงกรมจนสิ้นพระชนม์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘