Hello world!

"Hello world" คำง่ายๆ ที่คุ้นเคยกันดีในแวดวงของเหล่าโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย ในช่วงต้นของการเรียนเขียนโปรแกรมนั้น ไม่ว่าจะใช้ภาษาไหน คำว่า Hello world ก็มักเป็นคำยอดฮิตที่ถูกใช้ให้แสดงผลขึ้นบนตัวอย่างของโปรแกรมแรกที่เริ่ม เขียนอยู่เสมอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของนักเขียนโปรแกรมเลยทีเดียว 

นอกจากนั้นแล้ว การที่จะเป็นนักเขียนโปรแกรมได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ จำเป็นต้องเรียนรู้ ก็คือภาษาต่างๆ ที่ใช้สื่อสาร ควบคุมและสั่งการกับระบบของคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า "ภาษาคอมพิวเตอร์" นั่น เอง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายภาษา ในแต่ละภาษาก็มีประวัติความเป็นมา และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราลองมาไล่ดูภาษาคอมพิวเตอร์ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันกันเลยดีกว่า ว่าจะมีวิวัฒนาการแบบไหน และมีภาษาอะไรบ้าง
  • เริ่มกันที่ ภาษา Assembly ที่ถือได้ว่าเป็นภาษาคอมตัวแรกที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลก เกิดขึ้นในปี คศ 1940 เป็นภาษาที่มีความซับซ้อนเข้าใจยาก และเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายในการใช้งาน ทำให้สามารถพัฒนาต่อไปได้ยาก
  • ปี 1957 กำเนิด ภาษา Fortran ที่เป็นภาษาระดับสูงตัวแรก ถูกพัฒนา IBM และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพื่อให้สามารถเขียนและพัฒนาต่อไปได้ง่าย ขึ้น ซึ่งในทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้งานกันในระบบของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ใช้คำนวนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ปี 1959 เริ่มมีภาษา COBOL เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางด้านธุรกิจ สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
  • ปี 1964 ภาษา Basic ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอนวิชา การเขียนโปรแกรม ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีการสอนภาษานี้อยู่
  • ปี 1969 ภาษา C นับเป็นภาษาที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการนักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ถือเป็นภาษารากสุดทรงพลัง ต่อยอดมาจาก ภาษาก่อนหน้านี้ "B" เป็นภาษาที่ทรงพลังที่สุดตลอดกาล และเป็นที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆ
  • ปี 1970 ภาษา PASCAL เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการ สอนเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (Structured programming)
  • ปี 1974 ภาษา SQL เป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อใช้จัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ SQL เรียกได้ว่าเป็น ภาษามาตรฐานบนระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเป็นระบบเปิด ที่ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดจนถึงปัจจุบัน
  • ปี 1983 ภาษา C++  เป็นการนำ ภาษา C มาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลายมากกว่าเดิม
  • ปี 1987 ภาษา Perl เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน
  • ปี 1991 ภาษา Python เรียนรู้ง่าย ความเร็วในการทำงานสูงมาก สามารถทำงานได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux, Windows หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD เป็นภาษาลักษณะ Open Source เหมือนอย่าง PHP และง่ายต่อการเรียนรู้
  • ปี 1993 ภาษา RUBY ออกแบบมาได้ธรรมชาติ ใครลองเขียนก็หลงรัก กล่าวกันว่า ภาษารูบีนั้นทำตามหลักการที่ทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุด (principle of least surprise; POLS) ซึ่งหมายความว่า เป็นภาษาที่มีลักษณะสอดคล้องกับสัญชาตญาณ หรือเป็นไปตามสมมติฐานที่โปรแกรมเมอร์ได้คาดเอาไว้      
  • ปี 1995 ภาษา PHP ทำงานได้เร็วมาก แถมยังเป็น Open source เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
  • ปี 1995 ภาษา JAVA  ทำงานได้บนอุปกรณ์เกือบทุกอย่าง ไม่ว่าเว็บ, โปรแกรม หรือบนอุปกรณ์อะไรก็ได้ คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมคล้ายกับภาษา Objective-C จุดเด่นอยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้
  • ปี 1995 ภาษา JAVASCRIPT เป็นภาษาที่เป็น Script ที่อยู่ในเว็บไซต์ (ใช่ร่วมกับ HTML) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้มากขึ้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับ JAVA          
  • ปี 2005 ภาษา Ruby on rails เป็นโอเพนซอร์ส web application framework ที่พัฒนาด้วยภาษา Ruby สนับสนุนให้แอพพลิเคชั่นในโลกถูกพัฒนาด้วยโค้ดที่น้อยลงกว่าเฟรมเวิร์คอื่น และมีการปรับแต่งน้อยที่สุด เพื่อความง่ายต่อการประยุกต์ใช้
  • ปี 2014 ภาษา iOS/Swift เป็นภาษาใหม่ที่ Apple สร้างขึ้น โดยพัฒนามาจาก C++และ Objectice-C มีบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งหันมาใช้กันแล้ว น่าจับตามองเป็นอย่างมาก                                  
ซึ่งแต่ละภาษานั้นก็มีความนิยมที่แตกต่างกัน คราวนี้ลองมาดูการ จัดอันดับของภาษาคอมยอดนิยมที่มีการจ้างงานและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปี 2016 นี้ กันบ้าง
  1. ภาษา SQL (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 50,000 งาน/ต่อปี)
  2. ภาษา Java (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 42,500 งาน/ต่อปี)
  3. ภาษา JavaScript (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 40,000 งาน/ต่อปี)
  4. ภาษา C# (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 25,000 งาน/ต่อปี)
  5. ภาษา Python (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 17,500 งาน/ต่อปี)
  6. ภาษา C++ (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 15,000 งาน/ต่อปี)
  7. ภาษา PHP (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 10,000 งาน/ต่อปี)
  8. ภาษา iOS (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 7,500 งาน/ต่อปี)
  9. ภาษา RUBY (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 2,000 งาน/ต่อปี)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘