ปัญหาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก ปริเฉทที่ ๔ - ๖ อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย

ปัญหาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั นเอก
ปริเฉทที ๔ - ๖
อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย
***********************************
๑. ๑.๑ พระศาสดาทรงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ตามลำดับแก่บุคคล ผู้มีคุณสมบัติเช่นไร ?
๒๕๔๔
๑.๒ พระศาสดาประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พระยสกุลบุตรว่าอย่างไร ? ๒๕๔๔
๒. ๒.๑ ขันธ์ ๕ คืออะไร เป็นอัตตาหรืออนัตตา ? ๒๕๔๒
๒.๒ พระบรมศาสดาทรงแสดงเร3ืองขันธ์แก่ใครเป็นครัง5 แรก ได้ผลอย่างไร ? ๒๕๔๒
๓. ๓.๑ เทศนากัณฑ์ไหนที3ทรงแสดงบ่อยยิ3งกว่าเทศนากัณฑ์อื3น ๆ ในปฐมโพธิกาล ? ๒๕๓๙
๓.๒ เทศนากัณฑ์นัน5 มีเนือ5 ความว่าอย่างไร ? ๒๕๓๙
๔. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนีพ5 อได้ความ
๔.๑ สามุกกังสิกเทศนา ? ๒๕๓๖
๔.๒ อนัตตลักขณสูตร ? ๒๕๓๖
๕. ๕.๑ ชฎิลทัง5 ๓ คนพ3ีน้องคือใครบ้าง ตัง5 อาศรมอยู่ท3ีไหน ? ๒๕๔๑
๕.๒ ชฎิลทัง5 ๓ นัน5 คนไหนท3ีนับว่าเป็นนักปกครองท3ีดีเป็นท3ีนับถือของบริษัทมาก ? ๒๕๔๑
๖. ๖.๑ ข้อท3ีว่า “ขอเราพึงรู้ทว3ั ถึงธรรมของพระอรหันต์” นัน5 เป็ นความปรารถนาของใคร ? ๒๕๔๑
๖.๒ ความปรารถนานัน5 สำเร็จบริบูรณ์ได้เม3ือใด ? ๒๕๔๑
๗. ๗.๑ ภัททวัคคีย์กุมารคือใคร มีความเกี3ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ? ๒๕๓๙
๗.๒ ภัททวัคคีย์กุมารฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าในครัง5 แรกแล้ว ได้บรรลุมรรคผลชัน5 ไหน ? ๒๕๓๙
๘. ๘.๑ พระอัครสาวก ๒ รูปมีช3ือเรียกอะไรบ้าง เหตุไรจึงเรียกอย่างนัน5 ? ๒๕๔๓
๘.๒ พระอัสสชิแสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกมีความอย่างไร และมีผลอย่างไร ? ๒๕๔๓
๙. ๙.๑ “เราจักไม่ชูงวงไปสู่สกุล” หมายความว่าอย่างไร ? ๒๕๔๐
๙.๒ ในการอนุเคราะห์สพรหมจารีเพ3ือนบรรพชิตด้วยกันนัน5 พระอัครสาวกทัง5 สองได้รับยกย่องใน
ฐานะเช่นไร ? ๒๕๓๙
๑๐. ๑๐.๑ พระอัครสาวกทัง5 สองนิพพานท3ีไหน ใครนิพพานก่อน ? ๒๕๓๙
๑๐.๒ ผลงานสำคัญครัง5 สุดท้ายของพระสารีบุตรคืออะไร ? ๒๕๓๙
-----------------------------------------
เฉลยพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั นเอก
ปริเฉทที ๔ - ๖
อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย
***********************************
๑. ๑.๑ แก่ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนีค5 ือ
๑. เป็นมนุษย์ ๒. เป็นคฤหัสถ์ ๓. มีอุปนิสัยแก่กล้า ควรบรรลุโลกุตตรคุณ ฯ
๑.๒ ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด ฯ
๒. ๒.๑ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ฯ เป็นอนัตตา มิใช่อัตตา ฯ
๒.๒ ทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ฯ ผลคือ พระปัญจวัคคีย์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พ้นจาก
อาสวกิเลส ไม่ถือมั3นด้วยอุปทาน ฯ
๓. ๓.๑ เทศนาที3ทรงแสดงบ่อยในปฐมโพธิกาล คือ อนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ ฯ
๓.๒ เนือ5 ความย่อคือ อนุปุพพิกถา ๕ คือ
๑. ทานกถา กล่าวถึงทาน
๒. สีลกถา กล่าวถึงการรักษาศีล
๓. สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์
๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษของกาม
๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการบวช
และจตุราริยสัจจ์
๑. ทุกข์ สภาวะที3ทนได้ยาก
๒. สมุทัย สาเหตุทำให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
๔. ๔.๑ สามุกกังสิกเทศนา คือเทศนาที3เปรียบเทียบเหมือนหงายของที3ควํ3าได้แก่อริยสัจ ๔ นั3นเอง
๔.๒ อนัตตลักขณสูตร คือ สูตรท3ีว่าด้วยส3ิงทัง5 ปวง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็นอนัตตา
๕. ๕.๑ คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ ตัง5 อาศรมอยู่ท3ีไกล้ฝังแม่นำ5 เนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมฯ
๕.๒ พระอุรุเวลกัสสปะ นับว่าเป็นนักปกครองที3ดี ที3สามารถควบคุมบริวารไว้ได้มาก ฯ
๖. ๖.๑ เป็นความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร ครัง5 ยังทรงเป็นพระราชกุมาร ฯ
๖.๒ ความปรารถนานัน5 สำเร็จบริบูรณ์ในวันท3ีได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ท3ีพระพุทธเจ้า
ทรงแสดงโปรด ณ สวนตาลหนุ่มจนได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ
๗. ๗.๑ ภัททวัคคีย์กุมารคือ โอรสของพระเจ้ามหาโกศล เมืองสาวัตถี จำนวน ๓๐ องค์ ได้พาชายา
ของตน ๆ ไปประพาสป่า ได้เที3ยวตามหาหญิงแพศยาคนหนึ3ง ซึ3งลักเครื3องประดับหายไปได้
พบพระพุทธเจ้าในไร่ฝ้าย และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์จนได้บรรลุมรรคผล
แล้วได้รับอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาที3เมืองปาวาแคว้นโกศล ฯ
๗.๒ องค์เล็กสุด (น้องคนสุดท้อง) ได้บรรลุโสดาปัตติผล นอกนัน5 ได้บรรลุสกทาคามิผล ฯ
๘. ๘.๑ มีชื3อเรียก อุปติสสะ หรือสารีบุตร๑ เรียก โกลิตะ หรือ โมคคัลลานะ๑ ที3เรียกว่า อุปติสสะ
เพราะเรียกตามโคตร ที3เรียกว่า สารีบุตร เพราะเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี ส่วนที3
เรียกว่า โกลิตะ เพราะเรียกตามโคตร ที3เรียกว่า โมคคัลลานะเพราะเป็นบุตรของ
นางโมคคัลลีพราหมณี ฯ
๘.๒ มีความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนัน5 และความดับแห่ง
ธรรมนัน5 พระศาสดาทรงสอนอย่างนี 5 มีผล คือ อุปติสสปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมว่า
ส3ิงใดส3ิงหนง3ึ มีความเกิดขึน5 เป็นธรรมดา ส3ิงนัน5 ทัง5 หมดมีความดับเป็นธรรมดา ฯ
๙. ๙.๑ หมายความว่า สมณะพึงเข้าไปสู่สกุลด้วยความสำรวม ไม่มีใจคอยจับผิดสกุล ชาวบ้านมี
ภาระมากมีกิจท3ีจะต้องทำมาก อาจขาดความเอาใจใส่ต่อสมณะบ้างเป็นครัง5 คราว สมณะไม่
พึงยกงวงชูงาเข้าสู่สกุล คือ ไม่พึงทะนงตน ไม่พึงกระทบศรัทธาและโภคะของเขา ไม่ทำให้
เขาเสื3อมศรัทธาและไม่เบียดเบียนโภคะของเขา ฯ
๙.๒ พระสารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด พระโมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลีย5 ง
ทารกท3ีเกิดแล้วนัน5 พระสารีบุตรย่อมแนะนำให้ตัง5 อยู่ในโสดาปัตติผล ส่วนพระโมคคัลลานะ
ย่อมแนะนำให้ตัง5 อยู่ในคุณเบือ5 งบนท3ีสูงกว่านัน5 ฯ
๑๐. ๑๐.๑ พระสารีบุตรนิพพานที3บ้านเกิดของท่านเอง เมืองนาลันทา, ส่วนพระโมคคัลลานะนิพพาน
ที3ตำบลกาฬศิลา แคว้นมคธ, โดยพระสารีบุตรนิพพานก่อนพระโมคคัลลานะ ๑๕ วัน คือ
พระสารีบุตรนิพพานวันเพ็ญเดือน ๑๒ ส่วนพระโมคคัลลานะนิพพานวันดับเดือน ๑๒ คือ
เดือนกัตติกมาส ปีเดียวกัน ฯ
๑๐.๒ ผลงานครัง5 สุดท้ายของพระสารีบุตร คือ ท่านได้แสดงธรรมโปรดมารดาของท่านซง3ึ เป็น
มิจฉาทิฏฐิให้สำเร็จเป็นสัมมาทิฏฐิพระโสดาบัน ฯ
------------------------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘