ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
๑. อภิสมาจาร คืออะไร ? เป็นเหตุให้ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๑. คือ ขนบธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ ฯ
๒. ข้อว่า อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
๒. มีอธิบายว่า ห้ามนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ เช่น กางเกง เสื้อผ้าโพก หมวก ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ ชนิดต่าง ๆ และห้ามอาการนุ่งห่มต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของภิกษุ ฯ
๓. บริขาร ๘ มีอะไรบ้าง ? ที่จัดเป็นบริขารบริโภคและบริขารอุปโภคมีอะไรบ้าง ?
๓. มี ไตรจีวร คือผ้านุ่งผ้าห่มและผ้าทาบ บาตร ประคดเอว เข็ม มีดโกน
และผ้ากรองน้า ฯ
ไตรจีวร บาตร ประคดเอว รวม ๕ อย่าง จัดเป็นบริขารบริโภคเข็ม มีดโกน และผ้ากรองน้า จัดเป็นบริขารอุปโภค ฯ
๔. คาว่า ถือนิสัย หมายความว่าอย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นนวกะจะต้องถือนิสัยเสมอไปหรือไม่ประการไร ?
๔. หมายความว่า ยอมตนอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้มีคุณสมบัติควรปกครองตนได้ ยอมตนให้ท่านปกครอง พึ่งพิงพานักอาศัยท่าน ฯ
ต้องถือนิสัยเสมอไป แต่มีข้อยกเว้น ภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหล่ง คือภิกษุเดินทาง ภิกษุผู้เป็นไข้ ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราว และกรณีที่ในที่ใด หาท่านผู้ให้นิสัยมิได้ และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่าเมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่ จักถือนิสัยในท่าน ก็ใช้ได้ ฯ
๕. ภิกษุเมื่อจะนั่งลงบนอาสนะ ทรงให้ปฏิบัติอย่างไรก่อน ? ที่ทรงให้ปฏิบัติอย่างนั้นเพื่อประโยชน์อะไร ?
๕. ทรงให้พิจารณาก่อน อย่าผลุนผลันนั่งลงไป ฯ
เพื่อว่าถ้ามีของอะไรวางอยู่บนนั้น จะทับหรือกระทบของนั้น ถ้าเป็นขันน้าก็จะหก เสียมารยาท พึงตรวจดูด้วยนัยน์ตา หรือด้วยมือลูบก่อน ตามแต่จะรู้ได้ด้วยอย่างไร แล้วจึงค่อยนั่งลง ฯ
๖. วันเข้าพรรษาในบาลีกล่าวไว้ ๒ วัน คือวันเข้าพรรษาต้น และวันเข้าพรรษาหลัง ในแต่ละอย่างกาหนดวันไว้อย่างไร ?
๖. วันเข้าพรรษาต้น กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววันหนึ่ง คือวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ วันเข้าพรรษาหลัง กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะนั้น
ล่วงแล้วเดือน ๑ คือ วันแรม ๑ ค่า เดือน ๙ ฯ
๗. ในวัดหนึ่ง มีภิกษุอยู่กัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
๗. มีภิกษุ ๔ รูป พึงประชุมกันในโรงอุโบสถ สวดปาติโมกข์
มีภิกษุ ๓ รูป พึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ รูปหนึ่งสวดประกาศญัตติจบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
มีภิกษุ ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
มีภิกษุ ๑ รูป พึงอธิษฐานหรือมีภิกษุต่ากว่า ๔ รูป จะไปทาสังฆอุโบสถกับสงฆ์ในอาวาสอื่น ก็ควร ฯ
๘. ภิกษุได้ชื่อว่าผู้ประทุษร้ายสกุล กับภิกษุได้ชื่อว่าผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส เพราะมีความประพฤติต่างกันอย่างไร ?
๘. ต่างกันอย่างนี้ ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล เป็นผู้ประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ให้ของกานัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทา ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก
ส่วนภิกษุผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกลุ โดยฐานเป็นคนเลวไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองาม ทาให้เขา
เลื่อมใสนับถือตน ฯ
๙. ก่อนหน้าปรินิพพาน ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายให้แสดงความเคารพด้วยการเรียกกันว่าอย่างไร ?
๙. ตรัสให้ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าเรียกผู้แก่พรรษากว่าว่า ภันเต และให้ภิกษุผู้แก่พรรษากว่าเรียกผู้อ่อนพรรษากว่าว่า อาวุโส ฯ
๑๐. อนามัฏฐบิณฑบาต ได้แก่โภชนะเช่นไร ? มีข้อห้ามตามพระวินัยไว้อย่างไร ?
๑๐. ได้แก่โภชนะที่ภิกษุได้มายังไม่ได้หยิบไว้ฉัน ฯ
มีข้อห้ามไม่ให้ภิกษุให้แก่คฤหัสถ์อื่นนอกจากมารดาและบิดา ฯ
*********

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘