ทฤษฎีของเครบ (Kreb’s theory)

ดร.เครบ นักวิทยาศาสตร์ รางวัลโนเบิลชาวอังกฤษได้ค้นพบทฤษฎีนี้ตั้งแต่ คศ.1953 เขาได้อธิบายถึงทำไมการดื่มน้ำส้มสายชูช่วยขจัดความอ่อนเพลียของร่างกาย รวมถึงกระบวนการ ที่อาหารที่เรารับประทานเปลี่ยนไปเป็นพลังงานหรือการเผาผลาญอย่างละเอียดและรวมไปถึงความลับที่ทำให้ร่างกายมนุษย์รู้สึกอ่อนเพลียและวิธีการกำจัดมัน
          จากการค้นพบของ ดร.เครบ ทำให้นักวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศญี่ปุ่น ศจ.ฮิชิโร อาคิตานิ จากมหาวิทยาลัยโตเกียวได้ทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตพยายามให้คนญี่ปุ่นดื่มน้ำส้มสายชูหมักมากเท่าที่จะมากได้ จึงเป็นที่มาของวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นิยมดื่มกันทั้งเกาะและก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ “คนแก่ล้นเมือง” อายุยืนยาวเป็นร้อยปี ที่นี้เรามาดูการทำงานอันมหัศจรรย์ของร่างกายเรา
          เริ่มต้นที่เรารับประทานอาหารเข้าไปทำการย่อยเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นกลูโคส โปรตีนก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นกรด อมิโนอีก 20 ชนิด ไขมันจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกลีเซอรรีน และกรดไขมัน อาหารต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะถูกเผาผลาญและเปลี่ยนไปเป็นสารที่เราเรียกว่า ATP (Adenocine triphosphate) ซึ่งให้พลังงานออกมาในรูปความร้อน (Heat) บางส่วนก็นำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเมื่อต้องการเช่น โปรตีน
        
อาหารเกือบทั้งหมดที่เรารับประทานจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดซิตริค อะโคนิติค ไอโซซิตริค อัลฟาคีโตกลูทาริค และกรดอีก 4 ชนิดใน Mitochondria ซึ่งเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์  ในกระบวนการนี้ กรดทั้ง8 ชนิด ก็จะถูกลดปริมาณลงในรูปของการเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน (ATP) , แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะเกิดขึ้นและถูกขับออกโดยกระบวนการหายใจออก น้ำก็จะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะและเหงื่อ โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ เกิดจากเอ็นไซม์ใน Mitochondria และถ้ากรดทั้ง 8 ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ กระบวนการทั้งหมดที่ได้อธิบายมา ก็จะไม่เกิดกรด ไพโรราสมิค (Pyroracemic หรือ Pyruvic) และกรดแลคติค  ความเมื่อยล้าอ่อนเพลียและปวดตามกล้ามเนื้อก็จะไม่เกิด กล้ามเนื้อของเราก็จะนิ่มไม่แข็งเกร็ง เลือดก็จะมีภาวะเป็นด่าง ปัสสาวะก็จะเหลืองใสขึ้นและก็จะมีภาวะเป็นด่างด้วย มีความสดชื่น ตื่นตัวตลอดเวลา
       
ในทางตรงกันข้ามหากเราทำงานหนักทั้งทางกายและทางใจ หรืออาหารที่เรารับประทานเข้าไปแย่สุด ๆ หรือร่างกายไม่ได้ดื่มน้ำส้มสายชู ก็จะทำให้กระบวนการที่กล่าวมาเมื่อสักครูไม่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดกรดไพโรราสมิค และกรดแลคติค (ซึ่งเกิดโดยการรวมไฮโดรเจนเข้ากับกรดไพโรราสมิค) กรดเหล่านี้จะสะสมในกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดและเมื่อยล้า หากกรดแลคติคสะสมในกล้ามเนื้อ ประมาณ 0.24-0.40% ของของเหลวในร่างกายเรา เราจะรู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยทันที การตอบสนองของร่างกายจะช้าลง บางทีอาจทำให้การทำงานผิดพลาดหรือไม่ก็เกิดอุบัติเหตุ หากปล่อยให้มีการสะสมของกรดแลคติคมากขึ้น บางรายถึงกับเกิดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือเป็นตะคริว เนื่องจากกรดไพโรลาสมิค สามารถที่จะทำให้ประสาทชาหรืออัมพาตได้ หรือที่พบบ่อยที่สุดคืออาการ ปวดต้นคอหรือไหล่ ทำให้ต้องไปหาหมอนวด ทั้งหมดนี้เกิดจากกรดแลคติคและไพโรราสมิคที่สะสมในร่างกายทั้งสิ้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘