ปัญหาเด็กติดเกมส์ วิธีสังเกต ป้องกันและแก้ไข


“ติดเกมส์” คือพฤติกรรมที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นและเด็กที่มีพฤติกรรมติดเกมส์จนเกิดเป็นปัญหาต่างๆตาม มา ดังข่าวต่างๆที่หลายคนเคยเห็น ซึ่งในปัจจุบันก็มีเกมส์ต่างๆมากมายที่พร้อม กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งเกมส์ออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งคงยากหากเราจะห้ามเด็กไม่ให้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้   แล้วผู้ปกครองจะมีวิธีสังเกตพฤติกรรม และแก้ปัญหาการติดเกมส์นี้ได้อย่างไร?
 
นพ. จิตริน ใจดี จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้บอกถึงพฤติกรรมการติดเกมส์ว่า จริงๆแล้วเกมส์นั้นมีทั้งข้อดีและเสีย แต่หากจะเล่นต้องรู้จักการแบ่งเวลาอย่างเหมาะสม ไม่เล่นมากเกินไป
ข้อดีของเกมส์
  1. ได้รับความสนุก เพลิดเพลิน
  2. ช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์
  3. ช่วยเรื่องการวางแผน
  4. ช่วยเรื่องภาษา
ข้อเสียของเกมส์
ต่อตนเอง
  • ร่างกาย : ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดหัว อ่อนเพลีย
  • เด็ก (พัฒนาการ) : การพัฒนาในเด็กนั้นต้องอาศัยการกระตุ้น หรือส่งเสริมพัฒนาในหลายด้าน เช่น โภชนาการ การเล่น ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกายการเล่นเกมส์อย่างเดียวทำให้ได้สิ่งเหล่านี้ไม่ครบ
  • จิตใจ: เด็กอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ มีอารมณ์หงุดหงิด พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ครอบครัว : ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้การปฏิสัมพันธ์ลดน้อยลง เกิดความเหินห่าน
สังคม  : ส่งผลต่อการเรียนและการทำงาน
การที่เด็กใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกมส์เป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ แต่ผู้ปกครองก็ต้องคอยดูแลและสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมของเด็กว่าเริ่มเล่น เกมส์มากเกินไปจนเกิดการติดแล้วหรือยัง เพื่อที่จะช่วยเหลือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดปัญหาหรือผลเสียที่กล่าว ไป
วิธีการสังเกตพฤติกรรมการติดเกมส์
  1. หมกมุ่นอยู่กับการเล่น Game มากเกินไป ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด
  2. ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ
  3. เมื่อถูกบังคับให้หยุดเล่น จะมีพฤติกรรมต่อต้าน
  4. ส่งผลต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบ การเรียน / ทำงาน
  5. แยกตัวออกจากสังคม ไม่ค่อยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
  6. ปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
วิธีช่วยเหลือ เด็กติดเกมส์
ผู้ช่วยเหลือจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีก่อน
  1. วิธีที่ดีที่สุดคือ ตกลงกติกากันให้ชัดเจนก่อนเล่น
  2. เอาจริงเอาจังกับข้อตกลงหรือกติกาที่ตั้งไว้
  3. สร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับเด็ก เช่น หากกำลังปรับลดชั่วโมงการเล่นเกมส์ ก็ควรหากิจกรรมที่น่าสนใจทดแทนการเล่น Game ให้เด็กทำ ถ้าเด็กทำได้ก็ควรชม ให้กำลังใจ
  4. ค่อยๆปรับพฤติกรรมทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ
ปัญหาเด็กติดเกมส์นั้นสามารถป้องกันและแก้ไขได้ซึ่งผู้ปกครองต้องใช้ความ เข้าใจและความอดทน โดยไม่ว่าเด็กจะใช้เทคโนโลยีอะไรก็ควรให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากเทคโลยีจะมีประโยชน์แล้ว หากใช้ไม่เหมาะสม ก็ให้โทษได้เช่นกัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘