วิธีทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด ทำความรู้จักกับกากน้ำตาล

หัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด
หัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด
บทความครั้งที่แล้วเราได้แนะนำเรื่องการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากลูกแป้งข้าวหมากไปแล้ว คราวนี้จะมาแนะนำเรื่องการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรดกันนะคะ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น ต้องบอกก่อนว่าที่ออกมาแชร์ การทำปุ๋ยชีวภาพ เพราะส่วนหนึ่งต้องการแชร์ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษา และนำกลับไปต่อยอดได้ และอีกส่วนหนึ่งเหมือนเป็นการเตือนความจำตัวเองเพราะบั้นปลายอ้อมอยากทำเก ษรตรผสมผสานที่บ้านเกิดเลยเอาข้อมูล ที่ศึกษามาเผยแพร่ เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ และเป็นการเตือนความจำตัวเองอีกด้วยค่ะ เอาล่ะ มาเข้าเรื่องกันเลย มาถึงตอนนี้จะมาแนะนำเรื่องการทำปุ๋ยจุลินทรีย์จากสับปะรด ซึ่งวัตถุดิบจะมีดังนี้ค่ะ

หัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด

วัตถุดิบในหารทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด

  1. สับปะรด 1 ผล
  2. น้ำฝน 5 ลิตร 
  3. น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  4. นมสด 1 แก้ว
  5. ลูกแป้งข้าวหมาก(อันนี้ต่อยอดจากบทความแรก วิธีการทำลูกแป้งข้าวหมาก)

ขั้นตอนการทำ

สับหรือบดสับปะรดทั้งหัวแบบไม่ต้องปลอก เปลือกเลยนะคะ ผสมทุกอย่างให้เข้ากันทั้งไว้ 3 วัน จึงนำไปใช้ได้ เพื่อนำไปต่อยอดการทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นในอัตราส่วนการใช้คือหัวเชื้อ 2% ของสัดส่วนที่จะใช้งาน ซึ่งปุ๋ยชีวภาพ 100 ลิตรจะใส่หัวเชื้อ 2 ลิตร เป็นต้น
สำหรับขั้นตอนการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรดมีเพียงเท่านี้ค่ะ

ส่วนขั้นตอนการทำปุ๋ยไว้จะมาแชร์หลังจากเนื้อหาเรื่องการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ สำหรับใครที่ใจร้อนอยากทำก่อน อันนี้เป็นคำแนะนำนะคะ

ข้อแนะนำในการทำน้ำหมักชีวภาพ
ช่วงแรกๆ ต้องหมั่นเปิดฝาตรวจเช็คน้ำหมักของเราอยู่เรื่อยๆ ระยะ ช่วง 2 อาทิตย์แรก ควรเปิดฝาดู 2-3 วันต่อครั้งเพื่อตรวจดูว่าน้ำหมักของเรามีกลิ่นบูดเสียหรือไม่ หากมีควรมีการเติมน้ำตาลลงไปเพิ่มแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นก็ปล่อยทั้งไว้ อีก 2-3 วันกลับมาดูใหม่ จนไม่มีกลิ่นบูดเหม็นเปรี้ยวแล้วให้รู้เลยว่าไปได้ครึ่งทางแล้วจ้า หมักทั้งไว้ 6-12 เดือนเป็นอันใช้ได้แล้วค่ะ 

ควรใช้น้ำหมักชีวภาพจากสับปะรด 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ้นสับปะรดที่ออกลูกแล้วประมาณ 2-3 เดือน
หัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด
กากน้ำตาล
สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า กากน้ำตาลคืออะไรแล้วมาจากไหน คราวนี้มาไขข้อสงสัยกันค่ะ
กากน้ำตาล เป็นของเหลวสีดำที่เหนียวข้น ซึ่งไม่สามารถตกผลึกเป็นน้ำตาลได้อีก มีส่วนประกอบหลักประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท และสารเคมีอื่นๆ เช่นปูนขาว เป็นต้น เมื่อสมัยก่อนดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์
หัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด
ที่มาของกากน้ำตาล กดที่รูปเพื่อขยายภาพใหญ่ขึ้น
ในสมัยก่อนชาวบ้านที่อยู่ใกล้โรงงานผลิตน้ำตาลจะนำกากน้ำตาลไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นลาดไปบนถนนลูกรังเพื่อไม่ให้ฝุ่นคลุ้งกระจาย 
แต่ปัจจุบันใช้เป็นส่วนผสมของอาหารเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นแหล่งพลังงานที่เหมาะสมและราคาไม่แพง 
ใช้เป็นปุ๋ย เนื่องจากกากน้ำตาลมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
กากน้ำตาลยังใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการ หมักหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมการหมักแอลกอฮอล์ สุรา กรดมะนาว กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก ผงชูรส ยีสต์ ขนมปัง และยีสต์ผมอาหารสัตว์ เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘