6 วิธีวิเคราะห์ไอเดียว่าสร้างสรรค์พอหรือยัง?


มาร์เกตเตอร์ชื่อดัง พีอาร์หรือแม้กระทั่งคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ระดับแถวหน้ามีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เหมือนคือพวกเขามีความคิด สร้างสรรค์และกระหายที่จะต่อยอดไอเดียดีๆ อยู่เสมอ
Christine Perkett ให้ทริคดีๆ ในการตรวจเช็คว่าไอเดียสร้างสรรค์ที่คุณคิดดีพอหรือยัง 6 ข้อ ลองสำรวจดูว่าไอเดียของคุณดีควรค่ากับงบประมาณของลูกค้าแล้วหรือยัง?

1. Google it

วิธีง่ายๆ ที่คุณจะทดลองคือการลองเอาคีย์เวิร์ดไอเดียของคุณไปค้นหาใน Google ไอเดียนี้เคยมีคนทำมาก่อนหรือยัง? เราจะทำให้ดีกว่าหรือให้เหมาะกับแบรนด์ได้หรือไม่? หากเคยทำไปแล้ว บริษัทที่ทำได้ value add อะไรบ้าง? แล้วคุณจะหาทางเอา value เหล่านั้นมาให้บริษัทคุณได้หรือไม่?

2. Like-improve analysis

วิธีการ like-improve analysis เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาและเสียเงินกับแคมเปญที่ไม่ น่าจะเวิร์ค วิธีทดสอบคือให้คุณหยิบกระดาษมาหนึ่งแผ่น ลากเส้นแบ่งครึ่ง ฟากซ้ายเขียนหัวข้อ “ชื่นชอบ” และใส่สิ่งที่คุณชื่นชอบเกี่ยวกับไอเดียนี้ ส่วนฟากขวาเขียนหัวข้อ “พัฒนา” และใส่สิ่งที่คุณไม่ชอบหรือคิดว่าควรปรับปรุง
เมื่อได้ครบแล้ว ให้ลองชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียและมองหาโอกาสพัฒนาข้อด้อยของแคมเปญ หรือหากมันมีแนวโน้มที่จะไม่คุ้มในการลงทุนก็อาจลองเปลี่ยนไอเดียดู

3. ตอบคำถามยากๆ

จำลองคำถามที่น่าจะถูกลูกค้าหรือบอสยิงขณะพรีเซนต์ไอเดีย ตัวอย่างคำถามเช่น ไอเดียนี้มีวัตถุประสงค์อะไร? จะสร้าง ROI ได้เท่าไหร่? และจะติดตามผลได้อย่างไร?

4. ปรึกษากัน

ธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นเราจะได้ไอเดียที่ดีขึ้นต่อเมื่อเราปรึกษากัน ไอเดียที่แตกต่างกันจะสร้างการถกเถียงแลละนำไปสู่ไอเดียที่แข็งแกร่งขึ้น

5. ลองไอเดียของคุณ

แม้จะอยู่ในขั้นดำเนินการแล้วก็ตาม คุณยังต้องพัฒนาแคมเปญต่อไป Web graphic หรือ คำบรรยายแคมเปญอาจดูสั้นกว่าที่ควรเป็นเหมือนขึ้นไปอยู่บนสไลด์ หากมีเวลาพอลองจัด focus group เพื่อมาทดลองไอเดียของคุณดู

6. เรียนรู้จากความผิดพลาดและความล้มเหลว

ประสบการณ์เป็นสิ่งล้ำค่า ในขอบข่ายของการศึกษาทางนิเทศศาสตร์การลองผิดลองถูกถือเป็นเรื่องสำคัญอย่าง ยิ่งยวด หลังจากที่คุณเริ่มแคมเปญ ลองจัดเวลาส่วนหนึ่งเพื่อเรียนรู้ว่าอะไรดีและอะไรไม่ดีเพื่อเป็นตัวอย่าง สำหรับงานแคมเปญชิ้นถัดไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘