3 วิธี เอาเงินภาษีของตูคืนมา!!!

ช่วงนี้ ม.ค. – มี.ค. 56 ก็จะเริ่มฤดูของการยื่นภาษีปี 2555 ที่ผ่านมากันแล้วนะครับ ^^ เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนน่าจะกำลังปวดเฮดเรื่องที่ว่า ปีนี้เราต้องเสียภาษีเพิ่มหรือเปล่า? หรือจ่ายเกินไปแล้วเราจะได้เงินคืนไหม?


keepyouass, ขอคืนภาษี, ภาษี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขอเกริ่นก่อนเลยเรื่องความหมายของ “ภาษี”  ก่อน เพราะการเสียภาษี ถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ การเสียภาษี ก็คือมอบรายได้หลัก ให้กับประเทศผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งรัฐก็จะนำภาษีนี้ไปพัฒนาประเทศตามนโยบายต่างๆ ต่อไป
/ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนำไปพัฒนาประเทศกันจริงๆ นั่นแหละ แต่แทนที่จะใช้งบเต็ม 100% ก็ใช้แค่ 80% บ้าง 60% บ้าง ส่วนที่เหลือไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง อันนี้ก็สุดแล้วแต่ว่าเราจะป้องกันคอร์รัปชั่นได้แค่ไหน ^^”
แต่ทางรัฐก็ไม่ใจร้ายเสียทีเดียวครับ เพราะมีการลดหย่อนให้กับผู้เบี้ยน้อยหอยน้อย ที่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 150,000 บาท (หรือเงินเดือน 12,500 ลงไป) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียซักกะบาท /แต่ไปเก็บกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นค่ากิน ค่าอยู่ ค่าใช้บริการต่างๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันไปเรียบร้อยแล้วอยู่ดี -_-
เรียกได้ว่าแค่เราใช้ชีวิตอยู่ จะทำอะไรก็ไม่พ้นภาษีไปได้หรอกครับ ยังไงก็โดนไม่ทางตรงก็ทางอ้อมครับ
ดังนั้นเวลาเลือกใครมาใช้เงินของเรา ก็ควรเลือกที่นโยบายดีจริงๆ ไม่ใช่เลือกเพราะจะได้มาคานอำนาจกัน หรือเลือกเพราะนโยบายขายฝัน ผลาญเงินภาษีพวกเราเป็นว่าเล่นกันนะ
เอาล่ะ เข้าเรื่องดีกว่า
ถามก่อนว่า เวลาได้รับเงินค่าจ้างใดๆ มาก็ตาม ทุกคนน่าจะเคยโดนหักเงินส่วนหนึ่งไป ทำให้ได้เงินไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น เงินจำนวนนั้นเขาเรียกว่า “ภาษี ณ ที่จ่าย” นั่นเอง /ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะโดนกันคนละ 3% บ้าง 5% บ้าง เป็นเรื่องปกติ
ซึ่งส่วนนี้ก็แล้วแต่ระบบการจ่ายเงินของแต่ละบริษัทครับ เพราะส่วนใหญ่บริษัทจะมีนโยบายหักภาษี ณ ที่จ่าย กับพนักงานทุกคน แม้ว่าคนๆ นั้นจะเป็นแค่ผู้ถูกจ้าง ไปจนถึงพนักงานประจำ  ไม่ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความเซฟของตัวบริษัทเองในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการถูกตรวจสอบภาษีของบริษัทย้อนหลัง หรือเป็นการช่วยให้ผู้ถูกจ้าง และพนักงานทุกคน ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของการหลีกเลี่ยงภาษี
แต่ก็เอาเถอะ เพราะเราก็เสียภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วโดยการมัดมือชกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ตาม
ซึ่งในที่นี้ สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน ตามหลักคำนวนภาษีปกติแล้ว คนเหล่านี้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีอยู่แล้วครับ
หนทางที่เหลือก็คือการ “เอาเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืน” นั่นเอง ;) ซึ่งวิธีเอาเงินคืน ก็มีดังนี้ครับ

tax 

1) หาเงินได้ “ทั้งปี” ของเราก่อน

เพิ่งเริ่มทำงานกับที่ใหม่ในปีแรกกันหรือเปล่าครับ?
ที่ถามก็เพราะว่า ปกติแล้ว
ถ้าเป็นพนักงาน มนุษย์เงินเดือนทุกคน ก็ย่อมจะต้องได้รับสลิปเงินเดือน หรือใบแจ้งหักภาษี ณ ที่จ่าย อยู่แล้วใช่ไหมครับ? /ใครไม่ได้ก็ลองไปทวงถามทางฝ่ายบัญชีดูนะ
หรือหลายคนง่ายกว่านั้น เพราะทำงานมาตั้งแต่ต้นปีแบบเป๊ะๆ ก็เอา รายได้ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม ปี 2555 ที่โอนผ่านบัญชีนั่นแหละ
สังเกตว่าตัวเลขเงินที่โอนเข้ามาจะเป็นตัวเลขที่หักภาษี ณ ที่จ่าย +  ค่ากองทุนประกันสังคมต่างๆ แล้ว นั่นแหละ! เอามา + กันให้หมด
ยกตัวอย่าง นายเป็ด ก้าบก้าบ เป็นพนักงานสัญญาจ้างรายปี มีรายได้เดือนละ 20,000 ทำงานมาตั้งแต่ต้นปี
เท่ากับมีรายได้ทั้งหมด ปีละ 240,000 บาท (20,000 x 12 เดือน) แต่ทั้งนี้ นายเป็ด ก้าบก้าบ ก็จะต้อง
- โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายเดือนละ 3%
ส่วนนี้ งง หน่อย แต่จำเป็นต้องบอกไว้ก่อนครับ ***ตัวเลขโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายนี้ ถ้านายเป็ดเป็นพนักงานประจำ จะไม่ได้หักจากเรต 3% นะครับ แต่ทางบริษัทจะคำนวนภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย ให้จากเงินเดือนทั้งปี หักลบค่าลดหย่อน พอได้เรตภาษีแล้วจึงจะนำมา หาร 12 เดือน เพื่อหักภาษีเฉลี่ยเป็นรายเดือนให้ครับ*** ถ้ายังไม่เข้าใจก็อ่านไปเรื่อยๆ ก่อนนะครับ ^^
- โดนหักกองทุนประกันสังคม 3% (ครึ่งปีแรก) 4% (ครึ่งปีหลัง) /ยุ่งยากเนอะ – -” พอดีรัฐบาลมีนโยบายลดการหักประกันสังคมลงน่ะครับ ปีนึงก็เลยไม่เท่ากัน /แต่ตรูสับสนโครตๆ
- เท่ากับว่า นายเป็ด จะได้รับเงินเดือนละประมาณ 18,800 (6 เดือนแรก), 18,600 (6 เดือนหลัง)
รวมรายได้ทั้งปีหลังหักค่าใช้จ่าของนายเป็ด เท่ากับ
(18,800×6)+(18,600×6) = 224,400 และนี่ก็คือเงินได้สุทธิของนายเป็ดนั่นเอง
ปล. อันนี้คำนวนด้วยเงื่อนไขนายเป็ดไม่มีโบนัสนะครับ เศร้าแทน T_T ถ้ามีโบนัสก็ต้องเอามาคำนวนเป็นเงินได้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย

 2. หักค่าลดหย่อนต่างๆ ก่อนนำไปคิดภาษี

พอได้ตัวเลขรายได้สุทธิมาเรียบร้อยแล้ว ก็มาดูรูปนี้เลยครับ เป็นตารางอัตราภาษีของปี 2555 ที่ผ่านมา
ขั้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2555 (ใช้กับปี 2556 ไม่ได้นะครับ)
จะเห็นว่ารายได้ของนายเป็น มีตั้งสองแสนหน่อยๆ แบบนี้ก็ต้องเสียภาษีที่เรท 10% เลยเหรอ!!??  ยัง ยังครับไม่ต้องตกใจ เพราะเราต้องมาหักค่าลดหย่อนต่างๆ กันก่อน
สมมุติว่าคนโสดอย่างนายเป็ด ไม่มีภาระผูกพันธ์อะไร เพราะยังหาแฟนไม่ได้ พ่อแม่ก็ยังไม่อายุมาก ยังไม่ได้ผ่อนบ้าน ใช้ชีวิตชิลๆ รัฐเปิดโอกาสให้นำจำนวนเงินต่อไปนี้มาหักออกจากเงินสุทธิได้ครับ
- คนโสดลดหย่อนได้ปีละ 30,000 บาท (ดีใจมั้ย โสดกันนี่ ^^”)
- ลดประกันสังคมได้ทั้งจำนวน คือไม่เกินปีละ 9,000 บาท
- ลดเหมาค่าใช้จ่ายรายปีได้อีก 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
สรุปแล้ว นายเป็ด จะได้หักเงินได้ดังนี้ครับ
224,400 – 30,000 – 9,000 – 60,000 = 125,000 เห็นมั้ย! เท่านี้ก็ไม่ถึงเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่เสียภาษีแล้ว!

3. อ้าว แล้วที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปล่ะ?

contractorcalculator1
หลังจากคำนวนได้ความแล้วว่า เงินเดือน 20,000 ไม่ต้องจ่ายภาษีแล้ว เราจะมาดูกันว่า จะสามารถขอคืนภาษี ที่โดนหัก ณ ที่จ่ายได้มากเท่าไหร่ ซึ่งถ้าตามที่เราคำนวนไว้แล้ว การที่นายเป็ด ก้าบก้าบ โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเดือนละ 3% ก็เป็นจำนวนเงินประมาณ 600.- ต่อเดือน (ปีนึงก็ 7,200 บาทเลยนะ)
โดยวิธีกรอกรายละเอียดเพื่อขอคืนภาษีนั้น เราต้องทำเรื่องยืนแบบฟอร์มที่เรียกว่า ภงด.91 ภายในเดือน มกราคม – มีนาคม จำเพาะต้องเป็นแบบฟอร์มหมายเลข 91 ด้วยนะครับ เพราะเป็นแบบฟอร์มสำหรับผู้ที่มีรายได้ทางเดียวอย่างนายเป็ดก้าบก้าบ /ถ้านายเป็ดรับฟรีแลนซ์ หรือลงทุนได้ปันผล ก็เป็นแบบฟอร์ม ภงด.90 หรือ 94 แทนครับ /ไม่รู้จะทำให้มันยุ่งยากไปทำไมเนอะ -_-”
โดยในแบบฟอร์มนั้นจะต้องแนบเอกสารสำคัญ ที่เราจะต้องไปจากฝ่ายบัญชีของบริษัททุกเดือน นั่นคือ
“ใบแจ้งหักภาษี ณ ที่จ่าย” ไปกับการยื่นแบบฟอร์มด้วยครับ
ซึ่งในแบบฟอร์มจะมีช่อง “ชำระไว้เกิน” และช่อง “ขอคืนภาษี” เว้นว่างเอาไว้ ก็ให้เรากรอกจำนวนเงินที่ขอคืนภาษีที่หักไว้เกินใส่เข้าไป และเรายังสามารถเลือกได้ว่า จะเอาเงินคืนด้วยวิธีไหน โอนเข้าบัญชีเราเลย หรือคืนเป็นเงินสดเช็คสั่งจ่ายเข้าบัญชีเราได้อีกที
ซึ่งปัจจุบัน ทุกคนสามารถกรอกแบบฟอร์มขอคืนภาษีผ่านออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพสามิต เลยครับ โดยจะมีหัวข้อขอคืนภาษีเป็นเช็คเงินสดอยู่ ***ทุกคนที่ทำงานได้รับเงินจำเป็นต้องยื่นเรื่องนะครับ ถือเป็นระเบียบข้อบังคับ ไม่ว่าจะอยู่ในข่ายขอคืนภาษีหรือไม่ก็ตาม ถึงเป็นข้อบังคับครับ

ปิดท้าย แบบฟอร์มลดหย่อนภาษี ที่บริษัทให้เรากรอกตอนต้นปี คืออะไร?

1357219794-b9c1-o
ถ้า ใครที่ทำงานบริษัทเป็นมนุษย์เงินเดือน ในช่วงฤดูการยื่นภาษีต้นปี ทางบริษัทมักจะมีแบบฟอร์มที่เรียกว่า ล.ย. 01 มาให้พนักงานทุกคนได้กรอกกัน
ซึ่งผมแนะนำให้พนักงานประจำทุกคน กรอกรายการที่ได้รับการลดหย่อนในแต่ละปีภาษีต่างๆ ลงไปเป็นการเปิดเผยข้อมูลให้ฝ่ายบัญชีได้รับทราบ
เพราะถ้าฝ่ายบัญชีทราบ เขาก็จะทำการคำนวนเงินได้ตลอดปีของเราได้ถูก + คำนวนค่าลดหย่อนได้ถูก
และพอได้เรตภาษีคร่าวๆ ของเราในปีนั้นแล้ว ฝ่ายบัญชีก็จะเฉลี่ยภาษีของเรา หาร 12 เดือน ให้ครับ เพื่อเป็นการลดภาระภาษีก้อนใหญ่ของเราตอนปลายปีนั่นเอง
ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานทางหนึ่งครับ /และจะได้ไม่เป็นการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เกินจำนวนที่ต้องการด้วย
เราก็เอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นได้ ไม่ต้องเสียเวลาขอเงินส่วนคืน ซึ่งจมไปอยู่ที่กรมสรรพสามิตตั้งหลายเดือนแน่ะ
แต่ทั้งนี้ ถ้านายเป็ด ก้าบก้าบ ยังคงเป็นพนักงานสัญญาจ้างรายปีอยู่ล่ะก็ อาจต้องพึ่งการคำนวนภาษีด้วยตนเอง และขอยืนคืนด้วยตนเอง
ตามที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นนั่นล่ะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘