เอาภาษีของตูคืนมาแบบทีละขั้น! ตอน 1

สืบเนื่องจากหลายคนได้อ่านบทความเดิม “3 วิธีเอาเงินภาษีของตูคืนมา” ที่ผมเขียนขึ้นเมื่อปีที่แล้ว (ปีภาษี 2555) นั้นก็ได้มีผู้สนใจสอบถามถึงวิธียื่นภาษีของปี 2556 เพิ่มเติมเข้ามามากมายเลยทีเดียว

keepyouass, ขอคืนภาษี, ภาษี
ซึ่งผมเองก็เห็นว่าปีนี้ กรมสรรพากร เตรียมตัวมาค่อนข้างดี ทำให้การยื่นขอคืนภาษีคืนผ่าน Online ทำได้ง่ายและเร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาแอพฯ จากหน่วยงานภายนอก (itax.in.th เองก็ยังทำไม่เสร็จเลย T-T)
ดังนั้น ในครั้งนี้ผมเลยจะมาอธิบายเรื่องของการยื่นภาษีปี 56 ผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากรมาให้ชมกันอย่างละเอียดเลยครับ จะได้ยื่นก่อน ได้เงินคืน (ไปช้อปปิ้ง) ก่อน เลยนะครับทุกคน ;)

ทำไมต้องขอคืนภาษี?

ทำความเข้าใจกันซักเล็กน้อย การขอคืนภาษีเป็นการใช้สิทธิของเราครับ เราไม่ได้โกงภาษี เราไม่ได้ไม่รักประเทศชาติ แต่การขอคืนภาษีมานั้น ก็เป็นเพราะว่าเรา “จ่ายภาษีเกินตามที่ระบุไว้ตามกฏหมาย” ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะจ่ายเกินในรูปแบบของการโดน “หัก ณ ที่จ่าย” ไปล่วงหน้า ทั้งๆ ที่เกณฑ์จ่ายภาษีของเราอาจจะไม่ถึงไงครับ

ขั้นตอนการยื่นขอคืนภาษีปี 2556

0. ใช่แล้วครับ อ่านไม่ผิดหรอก ZERO! ก่อนที่เราจะเข้าไปตีฝ่าข้าศึกกับกรมสรรพากร เราก็ต้องเตรียมเสบียงให้พร้อมกันก่อน นั่นก็คือบรรดาเอกสารทั้งหลายแหล่ที่จำเป็นต้องใช้อ้างอิงในการกรอกครับ แบ่งคร่าวๆ ได้ประมาณนี้คือ
- ภ.ง.ด. ทวิ 50 ย่อมาจาก ภาคีแห่งเงินเดือน #ไม่ใช่ละ ภาษีเงินได้ นั้นแหละครับ
1. ก่อนอื่นให้คลิกที่ลิงก์ของหน้าเว็บกรมสรรพากรครับ ที่ https://epit.rd.go.th/
หน้าเว็บปีนี้มาแนวสีฟ้าดูสบายตาดี และก็ต้องชมเชยด้วยว่า ถึงกรมสรรพากรจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ แต่มีเว็บไซต์ที่ไม่ค่อยรกเท่าไหร่นัก ทำให้หาเมนูต่างๆ ไม่ยากเท่าที่คิด แค่อย่าไปเทียบกับเว็บไซต์ยุคใหม่อื่นๆ ก็พอ
1 2. มองหาหัวข้อ E-Filing ที่มุมขวาล่างได้เลยครับ แล้วให้เลือกที่เมนู “ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต” ส่วนเมนูอื่นๆ นั้นเราในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาชำระภาษี ไม่ต้องใช้ครับ (แต่ถ้าต้องการ)
2
3. จากนั้นเราจะเข้าสู่หน้าจอ E-Fling ให้เลือกที่เมนูในกรอบสีแดงครับ นั่นคือ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2556″ ซึ่งเรทภาษีก็จะเป็นของปี 2556 เช่นกัน ซึ่งหากเราไม่อยากยื่นทางเน็ต (เพราะเอกสารเยอะและละเอียดจัดๆ) เราก็สามารถเลือกเมนู พิมพ์แบบฯ และใบเสร็จ ภ.ง.ด. ไปใช้กรอกมือ และยื่นด้วยตัวเองที่กรมสรรพากรใกล้บ้านได้เลย
แต่สำหรับคนยุคดิจิตอลอย่างเราๆ ก็ต้องยื่นออนไลน์นี่แหละ สะดวกสุดๆ แล้ว
34. พอคลิกเข้ามาก็จะเจอกับหน้า “ยื่นแบบ…” สำหรับบุคคลธรรมดา เพลนๆ อย่างเรา ก็ให้คลิกที่วงกลมได้เลยครับ ไม่ต้องใส่ใจความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด 90/91 (รายได้ทางเดียว/รายได้หลายทาง) อีกแล้ว ว่าแต่ยังรองรับ ie8 อีกเรอะ!!!
4

5. พอคลิกเข้ามา เราก็จะมาจ๊ะเอ๋กับหน้า Login แล้วครับ ให้เราใส่ Username เป็นหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเข้าไปได้เลย ส่วน Password นั้น ก็ตามแต่ที่เราตั้งไว้ได้เลยครับ /เชื่อว่าหลายคนต้องคลิก “ลืมรหัสผ่าน” ก่อนแน่ๆ ผมเข้าใจหัวอกของการเข้ามาล็อกอิน 1 ครั้งต่อปีดีครับ T-T /ตบบ่า
5

6. ในที่สุดเราก็ได้มายืนที่จุดเริ่มต้นกันเสียที! (ขอข้ามขั้นตอนที่ 1 ไปนะครับ เพราะเป็นแค่การตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราว่าถูกไหม – แต่แนะนำให้ตรวจสอบที่อยู่ปัจจุบันของเราดีๆ ไม่งั้นเช็คคืนภาษีไม่มาถึงบ้านนะ จะบอกให้!)
สำหรับขั้นตอนที่ 2 นี้ สำคัญครับ นั่นก็คือการเลือกรายการ เงินได้ (เงินเดือน / รายได้อื่นๆ) และ ค่าลดหย่อน ที่เราได้รับสิทธินั้นๆ
ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว สำหรับมนุษย์ปุถุชนทั่วไปที่รับประทานเงินรายเดือนอย่างเรา ก็จะเลือกตามนี้ครับ
ช่องเงินได้พึงประเมิน
- มาตรา 40 (1) เงินค่าจ้างแรงงาน ทำเอกสาร ประชุม หาลูกค้า กวาดบ้าน ล้างส้วม แบกปูน ฯลฯ อยู่ในหมวดนี้ทั้งหมด ติ๊กโลด
- มาตรา 40 (2) อันนี้ใครได้ค่าตำแหน่ง หรือไปรับงานนอก แนะนำให้ติ๊กไว้นะครับ *ไม่ต้องห่วง ถ้าติ๊กเกินหรือขาด ก็ย้อนมาติ๊กใหม่ได้ครับ
- มาตรา 40 (4)(ข) ตัวนี้ใครมีเงินฝากแบ๊งค์ ฝากประจำ ฝากสหกรณ์ ฯลฯ ที่ได้รับดอกเบี้ย ก็ให้ติ๊กเอาไว้กรอกเป็นเงินได้นะครับ
- มาตรา 40 (4) อันนี้ เนื่องจากผมได้ไปเที่ยวดอยหุ้นมาหลายตัวในปีที่แล้ว แต่ฟ้าก็ยังไม่ใจร้ายเกินไปนัก เลยยังโปรยปรายเงินปันผลลงมาให้พอได้กินหนมบ้างอะไรบ้าง ก็เลยต้องติ๊กไว้ครับ ถือเป็นเงินได้ของเราเช่นกัน
ช่องเงินได้ที่ได้รับยกเว้น / ค่าลดหย่อน
ในส่วนนี้ก็คือสิทธิสำหรับค่าลดหย่อนที่เราได้รับนั่นเองครับ ใครมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุเกิน 60 ที่ต้องดูแล มีลูกน้อยๆ มีผ่อนบ้าน มีประกันชีวิต หรือบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใครรับราชการมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือซื้อ LTF, RMF เอาไว้ ก็จับติ๊กให้หมดไปเล้ย ลดเยอะๆ ชอบ!
อ้อ! สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ต้องห้ามพลาดติ๊กช่อง “เงินสมทบกองทุนประกันสังคม” ด้วยนะครับ ถือเป็นการลดหย่อนภาคบังคับ
จากนั้นก็คลิก Next (ทำรายการต่อไป) ได้เลย
6
7. มาถึงหน้า “บันทึกเงินได้” ให้เรากรอกเงินได้เข้าไปเลยครับ เอาตัวเลขจากใบ 50 ทวิ ที่เตรียมไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกนั่นแหละ มากรอกเข้าไป พร้อมทั้งกรอกจำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย เข้าไปที่ช่องขวามือ และ *สำคัญมาก* ให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของบริษัทที่จ่ายเงินให้เราลงไปด้วยครับ! (อยู่ใน 50 ทวี มุมขวาบนๆ)
เมื่อกรอกไปแล้วระบบก็จะแสดงได้ที่นำไปคำนวนภาษีออกมาเป็นตัวเลขให้โดยอัตโนมัติครับ แถมหักค่าลดหย่อน 60,000.- ให้โดยเสร็จสรรพครับ
นอกจากนั้น ถ้าเพื่อนๆ ติ๊กช่อง  มาตรา 40 (2) ไว้ มันจะมีช่องให้กรอกเงินได้ + ภาษีที่โดนหัก ของ “งานนอก” เอาไว้ให้เพิ่มอีกช่องด้วย แต่ถ้าเพื่อนๆ รับงานนอกหลายงาน (ขยันเนอะ) ก็ให้ทำการรวมเงินได้ทั้งหมดของงานนอก + ภาษีที่โดนหักทั้งหมดของงานนอก กรอกไปเลยในช่องเดียวกันครับ ส่วนในช่องเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ก็ให้กรอกไปแค่บริษัทเดียวที่จ่ายเงินงานนอกให้เรามากที่สุด แทน
78. หากกรอกเงินได้ในมาตรา 40(1)(2) เรียบร้อยแล้ว ถ้าคลิกที่แท๊บ เงินได้ 40(4) เราก็จะพบกับหน้านี้ครับ จำได้มั้ยว่ามันคืออะไร? ใช่แล้ว มันคือรายได้จาก “ดอกเบี้ย” ฝากแบ๊งค์ ฝากประจำ ฝากสหกรณ์ ฯลฯ รวมถึงเงินปันผลที่ได้จาก “กองทุนรวม” ด้วย
อย่างผมซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนภาษี [ติดตามอ่านได้ในบทความ 3 วิธีเอาเงินภาษีของตูคืนมา ] แล้วได้ปันผล ก็ต้องมากรอกช่องนี้ให้เรียบร้อยครับ  /เก็ทมั้ยครับ กองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี แต่มีปันผลมาให้เรา ก็ต้องโดนหักภาษีด้วยเป็นเรื่องปกติครับ
ก็จัดการกรอกตามปกติไปแล้ว อย่าลืมกรอก เลขประจำตัวของผู้จ่ายเงินได้ ที่อยู่มุมขวาบนของใบ 50 ทวิ ด้วยนะครับ
15

9. สำหรับข้อ “เงินได้ 40(4)ข” ค่อนข้างจะมีวิธีการยุ่งยากหน่อย เพราะเป็นรายได้จากเงินปันผลหุ้นที่เราเป็นเจ้าของ ขอแตกรายละเอียดไปที่บทความ [เอาภาษีของตูคืนมา ภาค เงินปันผลหุ้น] นะครับ
เท่านี้เราก็พร้อมแล้วที่ก้าวสู่ขั้นต่อไป! นั่นก็คือการกรอกข้อมูลลสิทธิในการลดหย่อนภาษีนั่นเอง!

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘