" วิกฤตปี 1973 "

วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 นอกจาก Great Depression ในช่วงปี 1929แล้ว วิกฤตที่ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่งคือวิกฤตตลาดหุ้นปี 1973 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับวิกฤตน้ำมันในปีเดียวกันซึ่งเป็นวิกฤตที่คนไทยคุ้นเคยมากกว่า

ก่อนจะเล่าเรื่องราววิกฤต 1973 ต้องเท้าความเหตุการณ์สำคัญช่วงหนึ่งของเศรษฐกิจทุนนิยม นั่นคือช่วง“ยุคทองแห่งระบบทุนนิยม” ที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วระหว่างปี 1945 – 1972 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคทองกินเวลายาวนาน และสร้างความมั่งคั่งมหาศาลแก่ประเทศตะวันตกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G7 ในยุคทองนี้ เกิดการเติบโตที่มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจมากมาย เช่นในเยอรมันตะวันตกอังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รวมถึงญี่ปุ่น สิ่งที่คล้ายคลึงกันในแต่ละประเทศคือ มีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนักจากภาครัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากถูกทำลายไปมากในช่วงสงครามโลก เกิดตลาดการค้าเสรี และลดข้อจำกัดทางการค้ามากมายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แม้ว่าอัตราการเกิดจะสูงมากในช่วงนี้ซึ่งเป็นยุค Babyboomer แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงต่อเนื่อง 5-7% เป็นระยะเวลายาวนานหลายสิบปี จนยกระดับให้ประเทศทั้งหมดที่เศรษฐกิจเติบโตสูง กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วในที่สุด

งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา เศรษฐกิจเข้าสู่วงจรขาลงอย่างรุนแรงในปี 1973 โดยตลาดหุ้นในอังกฤษปรับตัวลดลงมากที่สุดในประวัติการณ์คือ 73% ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 45% ไม่เว้นตลาดหุ้นในเอเชียอย่างฮั่งเส็งที่ปรับตัวลดลงจากกว่า 1,800 จุด ลงสู่ระดับ 300 จุด ในภาคเศรษฐกิจจริงนั้น GDP ลดลงจนติดลบ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นสภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation)

เหตุผลของสภาวะนี้เกิดขึ้นจากหลายเหตุผล เริ่มต้นจากเหตุการณ์การล่มสลายของระบบ Bretton Woods ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินร่วมระบบแรก ๆ ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบดังกล่าวขาดความยืดหยุ่นโดยเฉพาะด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด และนำไปสู่การถอนตัวของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศลอยตัวค่าเงินดอลล่าห์ และยกเลิกการผูกติดค่าเงินดอลล่าห์กับทองคำ ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงปี 1973 เกิดปัญหาความตึงเครียดทางการทหารในแถบคาบสมุทรไซไน คือเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและชาติอาหรับ สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับอิสราเอล กลุ่ม OPEC รวมถึงชาติอย่างอียิปต์ ซีเรีย จึงประกาศงดการส่งออกน้ำมันให้กับประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเด็ดขาด (Oil Embargo) ประกาศลดกำลังการผลิต และประกาศขึ้นราคาน้ำมันจึงทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้นถึงสี่ เท่าตัว จนเกิดเงินเฟ้อสูงตามมา

นอกจากนั้นกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นผ่านช่วงจุดสูง สุดไปแล้ว นั่นคือไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำมัน จนรัฐบาลต้องประกาศนโยบายการประหยัดพลังงาน เช่นจำกัดความเร็วบนทางหลวง อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงพลังงานในการผลิตอย่างมาก เช่นอุตสาหกรรมเหล็กก็เกิดวิกฤตอย่างหนัก

ในขณะที่โลกมีสภาวะยากลำบาก ก็เกิดโอกาสใหม่ ๆ มากมาย เช่นการบูมของอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิคในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากต้องการลดแรงกดดันจากอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงพลังงานอย่างน้ำมัน บริษัทญี่ปุ่นที่เราได้ยินกันในยุคปัจจุบันก็เกิดขึ้น หรือเติบโตอย่างมากในยุคนี้ หรือแม้กระทั่งเกิดการขุดเจาะน้ำมันในแหล่งใหม่ ๆ เช่นในอลาสก้า แคนาดา และอีกหลาย ๆ ประเทศ เกิดการคิดค้นและเป็นจุดกำเนิดในเกิดอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนขึ้น รวมถึงโอกาสการลดต้นทุนผลิตในหลาย ๆ ประเทศจนเกิดประเทศเศรษฐกิจใหม่อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น

ปัญหาทางเศรษฐกิจก็ถูกแก้ไขช้าเร็วขึ้นอยู่กับหลายเหตุปัจจัย อย่างประเทศเยอรมันใช้เวลาเพียงแค่ 18 เดือน แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ใช้เวลานานกว่านั้นมาก จนกว่าอัตราการว่างงานที่สูงกว่า 9% จะลดลงมาระดับปกติอย่างไรก็ดีช่วงเวลาดังกล่าวก็เป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์ สร้างวีรบุรุษโดยแท้ บุคคลอย่างหญิงเหล็กมาร์กาเรต แทตเชอร์แห่งอังกฤษ ประธานาธิปดีนิกสันของสหรัฐอเมริกา หรือนักเศรษฐศาสตร์อย่างจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ก็สร้างชื่อขึ้นมาในช่วงดังกล่าว และท้ายสุดที่จะอดกล่าวถึงไม่ได้เลยคือ วอร์เรน บัฟเฟต ที่ได้ซื้อหุ้นจำนวนมากในปี 1973 ซึ่งเป็นระยะเวลานานถึง 4 ปี ตั้งแต่เขาได้ขายหุ้นทิ้งจำนวนมากในปี 1969 และการตัดสินใจครั้งนั้นก็สร้างความมั่งคั่งให้เขาติดอันดับบุคคลที่ร่ำรวย ที่สุดในโลกหลังจากนั้นไม่อีกกี่ทศวรรษต่อมา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘