หุ้นตกเยอะต้องทำไง (Technical Analysis Edition)


หุ้นตกเยอะทำไงดี ผมเคยเขียนบทความนี้ เมื่อเดือน 6 2556

เวลานี้เหมาะจะนำมาแชร์อีกครั้ง สนใจเสพได้ตามสะดวก

-------------------




บทความนี้กระผมจึงขอแชร์ประสบการณ์ในแบบ Technical Analysis ในสภาวะหุ้นลงหนัก เพื่อประกอบการตัดสินใจของทุกท่าน


เส้น EMA : ปราการด่านของนักลงทุนรายย่อย



เส้น EMA (Exponential Moving Average) คือข้อมูลเทคนิคชนิดหนึ่งที่นักลงทุนนิยมใช้เป็น “แนวรับ”

อันหมายถึง เมื่อราคาหุ้นลดต่ำ เข้าใกล้เส้น EMA บางครั้งราคาจะดีดสูงกลับไปยืนเหนือเส้น EMAได้ นั่นคือสามารถ “รับ” ไม่ให้ราคาหุ้นต่ำไปกว่าเส้น EMA นี้



ตัวอย่างเส้น EMA



เส้น EMA เปรียบเสมือนป้อมปราการด่านในสนามรบ ถ้าเราเปรียบหุ้นของเราเป็นกองทัพ เมื่อกองทัพถูกรุกต้อนอุตลุตจนถอยหนีไปจนชนป้อมปราการด่าน ป้อมปราการนี้แหละคือจุดสวนหมัดเพื่อรุกกลับได้

ก็เหมือนหนังสงครามที่เราดูในทีวีนั่นแหละครับ หากพระเอกถูกโจมตีสามารถหนีไปเจอป้อมปราการของฝ่ายเดียวกันได้ ก็จะมีพลธนูโผล่จากกำแพง มีหอกมีก้อนหินระดมยิงใส่ศัตรูอย่างหนัก มีทหารออกจากกำแพงเป็นกองหนุนช่วยเราได้

ฉันใดก็ฉันนั้น แนวรับเส้น EMA จึงควรเป็นจุดที่เรา “รุกกลับ” มากกว่าขายตัดขาดทุน เพราะมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดกลับยืนเหนือเส้นนั้นได้



คำแนะนำจากพี่ณัฐวัฒน์ วันที่ 6/6/56


ตัวช่วยเรามีจริงหรือ เขาคือใครมาจากไหน ???

คำตอบก็คือ Trader ในไทยและทั่วโลกนั่นแหละที่ช่วยเรา ซึ่งคำอธิบายหัวข้อนี้ ขอยกข้อเขียนของอาจารย์ทาง Technical Analysis ของผม คือ Username : gumdum แหล่ง Webboard Settrad ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างครบถ้วน


“ เมื่อมันหยุดอยู่ที่ EMA300 จะมีนักลงทุนที่ใช้กราฟในการวิเคราะห์มองเส้นนี้อยู่เหมือนกัน ลองไปดูที่ทำงานของเทรดเดอร์ จะมีคอมอยู่หลายตัวมากแต่ละตัวความเร็วสูงทั้งนั้น จะทำการประมวลผล กราฟ หลายระดับ และเขาจะจับตาดูเส้นนี้ และ เขาจะเข้าซื้อ เมื่อ .....เมื่อเขาเห็นว่ามันเอาอยู่หรือถ้า เขาใหญ่พอที่จะนำร่องได้เขาจะนำมันขึ้น พร้อมด้วย เทรดเดอร์อีกหลายร้อยคนจะวิ่งตาม และแมงเม่าอีกหลายชีวิตที่ดูกราฟนี้อยู่จะพบว่า ฉันจะตกรถแล้วจะวิ่งเข้าซื้อในเชิงรุก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เขาจะมองก่อนว่า มันเอาอยู่ มันจะไม่หลุดลงไป ดู SET ดูตลาดรอบตัว มัน สนับสนุน มันส่งสัญญาณบวก เขาถึงจะลุย แต่ถ้ามันลบ ถ้ามันหลุด แน่นอน เขาจะเทขายตามกันด้วยเช่นกัน มันเป็นจิตวิทยา ”






เส้น EMA เท่าไหร่จึงจะเป็นป้อมปราการที่ดี


ในส่วนตัวต้องตอบว่า “แล้วแต่หุ้นตัวนั้นมันชอบเส้น EMA ไหน ” หรือพูดง่ายๆก็คือ หุ้นแต่ละตัวมีแนวรับไม่เหมือนกัน

บางตัว EMA15แบบDayเป็นแนวรับแข็งแกร่ง บางตัวต้องลึกถึง EMA50 แบบDayจึงรับได้เหนียวแน่น บางตัวยังหาแนวรับไม่เจอเลยก็มี

ดังนั้นเส้นEMAแนวรับของหุ้นแต่ละตัวจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากันหรือเหมือนกันแต่อย่างใด


แล้วจะหายังไงล่ะว่าเส้น EMA เท่าไหร่ วิธีการคือ เราก็เปิดกราฟในหุ้นที่เราสนใจ ลองใส่ EMA หลายๆเส้น แล้วดูย้อนหลัง 3 -5 ปี

เราจะสังเกตุเห็นเองว่าเส้น EMA ใดราคาหุ้นไม่เคยต่ำกว่าสักที หรือต่ำกว่าแล้วกลับขึ้นมายืนเหนือเส้น EMA นั้นได้อย่างรวดเร็ว

เราก็จะอนุมานได้ว่า นี่แหละคือเส้น EMA แนวรับที่แข็งแกร่งของหุ้นเรา


ป้อมปราการถูกทำลายได้ไหม ??


คำตอบคือ ได้ครับ แม้แนวรับเส้น EMA ที่แข็งแกร่งจะมีแรงซื้อจาก Trader หลายคนเข้ามามากตามรายละเอียดข้างบน

แต่ก็จะมี Trader อีกหลายคน นักลงทุนหลายท่าน หรือ ขาใหญ่ที่มีหุ้นและเงินปริมาณมหาศาลที่คิดแตกต่างและกำลังขายหุ้นตัวนี้อยู่

อุปมาเหมือนในสงคราม เมื่อ2ฝ่ายเผชิญหน้าที่ป้อมปราการ จะมีการสู้รบตะลุมบอนกันอย่างดุเดือด ถ้าข้าศึกมีมากมายมหาศาลเกินกว่าจะต้านไหว ป้อมปราการก็จะ “แตก” ครับ

หุ้นก็เหมือนกัน นั่นก็คือ เส้นEMAแนวรับก็เหมือนป้อมปราการของราคาหุ้น ถ้าหุ้นมีแรงขายมากเกินกว่าแรงซื้อ ราคาก็จะทะลุแนวรับเส้น EMA ลงไปได้(ป้อมปราการแตก)

ซึ่งวีดีโอที่อธิบายการพังทลายของแนวรับที่น่าสนใจในความคิดผมก็คือ “การถูกทำลายทาง Technical “ ของพี่ณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์


“แตกแล้ว” เป็นไงและทำไงดี


จากประสบการณ์ผม เมื่อป้อมปราการหัวเมืองแตก ข้าศึกก็จะบุกตลุยเข้ามาเพื่อยึดป้อมปราการชั้นในถัดไป

นั่นหมายถึงเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่าแนวรับเส้น EMA ก็มักจะลงต่อเพื่อมาทดสอบแนวรับเส้น EMA ถัดไปนั่นเอง นั่นหมายถึงหากพี่น้องขาดทุนแล้วยังไม่ขายออก มันมีโอกาสจะขาดทุนเพิ่มมากขึ้นอีกในวันหน้า

ส่วนแตกแล้วทำไงดี พี่น้องต้องตัดสินใจครับว่าจะ "อยู่หรือไป" แต่ถ้าเป็นผมก็ต้องใช้คำว่า “แตก...แล้วแยกทาง(ชั่วคราว)นะจ๊ะ”



ตัวอย่างหุ้นความจริง วันที่ 6/6/56


สรุป: รวบรวมข้อมูลแล้วตัดสินใจ

โดยสรุปจากข้อมูลทั้งหมดก็คือ " EMA เป็นจุดที่มีแรงซื้อจากTrader เข้ามาสู้กับกับแรงขาย หากแรงซื้อชนะราคาจะดีดสูงขึ้น แต่หากแพ้ราคาจะต่ำกว่าเส้น EMA และมีโอกาสลงไปทดสอบเส้น EMA ถัดไป "

เมื่อทราบข้อมูลแล้ว ก็ใช้มันเพื่อตัดสินใจในเวลาหุ้นตกหนัก โดยเริ่มกระบวนการดังนี้

1. ตรวจสอบว่าหุ้นเราอยู่ใกล้แนวรับเส้น EMA ที่มีสถิติรับได้อย่างแข็งแกร่งหรือไม่ ถ้าอยู่ใกล้ก็ปล่อยให้แนวรับทำงานเป็นตัวช่วยของเรา การขายหุ้นในราคาที่ใกล้เส้นแนวรับ เปรียบเสมือนแม่ทัพที่อดทนสูญเสียมาตั้งนาน แต่พอถึงป้อมปราการที่มีตัวช่วยเพียบ กลับชิงฆ่าตัวตาย (เป็นหุ้นก็คือขายขาดทุน) ซะดื้อๆ ซึ่งเป็นสิ่งน่าเสียดายอย่างยิ่ง

2. ถ้าเฝ้ามองแล้วแน่ใจว่าแนวรับนี้ “เอาอยู่” นี้แหละคือโอกาสดีในการ “รุกคืน” เพราะ ณ ราคานี้มีโอกาสเป็นจุดต้นทุนต่ำและมีแนวโน้มราคาจะสูงกว่าแนวรับในอนาคต

3. อย่างไรก็ตาม ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ถ้าแนวรับเอาไม่อยู่หรือวันต่อๆมาราคาป้วนเปี้ยนแถวแนวรับและหลุดต่ำกว่าจน ได้ ณ จุดนี้พี่น้องต้องตัดสินใจ แต่ถ้าเป็นผมก็ต้องบอกว่า “ แตกแล้วแยกทาง(ชั่วคราว)นะจ๊ะ




ตัวอย่างโรงพยาบาลหรู วันที่ 6/6/56




ตัวอย่างฺแบงค์ม่วง วันที่ 6/6/56


ทั้งหมดนี้ก็คือประสบการณ์ของกระผม พี่น้องคนใดเห็นว่ามีประโยชน์สามารถเสพได้ตามสะดวก

ขอบพระคุณครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘