(อาหารสมองเทรดเดอร์) 3 ข้อที่สำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง

ผมเองก็เป็นแฟนรายการหนึ่งที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกเดท ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาเองก็พูดถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ได้อย่างน่าสนใจ

แต่อีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้หญิงก็ไม่เข้าใจถึงการบริหาร จัดการความเสี่ยง ความจริงแล้วเทรดเดอร์เองส่วนใหญ่เองก็ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้กันมากเท่าไร นัก และหากพวกเขาเข้าใจเรื่องนี้ ก็จะช่วยให้พวกเขาฝ่าฟันการเล่นหุ้นและประสบความสำเร็จได้

เราลองมาดู 3 ข้อที่สำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง



ปกป้องเงินทุนตัวเอง

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก มันเป็นเรื่องผิวเผินก็จริง แต่มันไม่ง่ายที่จะปฏิบัติให้ได้ดั่งใจเรา

ในฐานะที่พวกเราเป็นเทรดเดอร์ พวกเราก็ต้องปกป้องเงินทุนเหมือนกับปกป้องธุรกิจของตัวเอง การที่เราไม่สนใจเรื่องพวกนี้เลยจะทำให้เราพบกับความผิดพลาดอยู่เสมอ ล้มเหลวต่อความเข้าใจในการทำกำไร ทำให้เรามองเกมผิดพลาดตลอดเวลาจนทำให้การเล่นหุ้นของเราขาดทุน

เงินทุนมันจะมีอยู่ 2 รูปแบบก็คือจิตวิทยาเงินทุนกับเงินทุนที่เราใช้เล่นหุ้น ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้เราจะต้องให้ความสำคัญและระมัดระวังให้ดีๆ

จิตวิทยาเงินทุนเป็นความรู้สึกนึกคิดในใจของเรา ทั้งความแข็งแกร่ง ความเชื่อมั่นและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงในการเล่นหุ้น ซึ่งจิตวิทยาเงินทุนเป็นตัวที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มีความผิดพลาดและก็ เห็นว่าการเล่นหุ้นไม่ใช่เรื่องง่าย เทรดเดอร์จะต้องปกป้องความเชื่อมั่นของตัวเองให้อยู่กับเกมให้ได้ เพราะว่าเทรดเดอร์จะต้องอยู่กับเกมจนกว่าจังหวะโอกาสมาหาตัวเอง

เงินทุนที่ใช้ในการเล่นหุ้นก็เป็นเงินในบัญชีโบรกเกอร์ของ เรา และแน่นอนพวกเราทุกคนก็มีเงินทุนประเภทนี้กัน เงินมันเป็นสิ่งที่จับต้องง่ายกว่าความเชื่อมั่น แต่บริหารจัดการความเสี่ยงได้ยากมาก เทรดเดอร์ที่ไม่สนใจเลยก็ต้องออกจากตลาดหุ้นไปอย่างรวดเร็ว และก็ไม่สามารถทำกำไรได้มากพอที่จะยังชีพได้แม้ว่าพวกเขาจะมาถูกทางก็ตาม ดังนั้นพวกเราจะต้องหาแนวทางที่จะทำให้เงินในบัญชีของเรางอกเงยให้ได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด



วางเงินเล่นหุ้นในจำนวนที่เหมาะสม

พวกเราแต่ละคนก็วางเงินเล่นหุ้นแตกต่างกันออกไป ความลับก็คือเราจะต้องแน่ใจว่าจะต้องวางเงินให้เหมาะสมที่สุดสำหรับเรา หมายความว่าอย่าใช้เงินเล่นมากเกินเหตุ อย่าใช้จิตวิทยาและความคิดทางการเงินแบบสุดโต่งเกินไป

จิตวิทยาความหมายในที่นี้ก็คือ ทักษะความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองจากการขาดทุน แล้วก็ทำกำไรโดยที่ไม่มีอารมณ์ผันผวน และก็ไม่ให้เข้ามาครอบงำการเล่นหุ้นของเรา ความโกรธจะทำให้เราอาฆาตแค้นกับการขาดทุนที่ผ่านมา และก็เป็นตัวชี้นำให้เราติดหลุมพรางมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะต้องปรับปรุงอารมณ์ตัวเองแล้วก็หันมาดูจังหวะโอกาสในครั้งต่อไป

ความคิดเกี่ยวกับการเงินพวกเราส่วนใหญ่มักจะชอบใช้เงินมากๆ ทำให้เราไม่สนใจในการขาดทุนเลย เราจะต้องวางเงินเยอะๆก็ต่อเมื่อเรามีความรู้สึกเชื่อมั่น แต่เราต้องตรวจสอบบัญชีของตัวเองด้วยว่าทำแบบนี้เลยสุ่มเสี่ยงมากแค่ไหน จะต้องพิจารณาให้ดีๆว่าขาดทุนมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น เราขาดทุน 20 % จากเงินในบัญชีทั้งหมด ซึ่งแล้วก็จะต้องทำกำไร 25 % จากบัญชีทั้งหมด และก็ต้องมองการขาดทุนในวันข้างหน้าด้วย จะทำให้เราเดินหน้าพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น เราจะต้องเล่นหุ้นด้วยเงินจำนวนน้อยให้มากๆแทนที่จะวางเงินก้อนโตเพียงครั้ง เดียว เพื่อที่จะทำให้บริหารจัดการความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น ซึ่งมันจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากได้



รู้ว่าจะต้องถอยหนีออกมาเมื่อไร

ฟังดูเหมือนง่ายแต่ทำจริงๆมันไม่หมูอย่างที่คิด เราจะต้องวางแผนการเล่นหุ้นเรื่องนี้ให้ดีๆ และส่วนหนึ่งก็ต้องหาแบบแผนสำรองเข้ามาช่วยค้ำจุนด้วย

กฎวินัยเรื่องนี้มีความสำคัญที่สุดและเราอย่าไปละเมิดกฎ วินัยตัวเองเป็นอันขาด เราจะต้องรู้ว่าเล่นหุ้นยังไงและเวลาไหนที่จะต้องถอยหนีออกมา พวกเราทุกคนก็รู้อยู่แล้วจะต้องถอยหนีออกมายังไง เพื่อที่จะทำให้พวกเราไม่จ่ายค่าเล่าเรียนแพงเกินเหตุ ความผิดพลาดแบบนี้พวกเราสามารถหลีกเลี่ยงได้ และก็กลับเข้ามาเล่นหุ้นใหม่ได้อย่างสง่าผ่าเผย

ความเสี่ยงที่ได้รับแต่ละครั้งพวกเราจะต้องรู้ให้ได้ว่าเป็น ยังไง การถอยหนีออกมาเราก็ต้องดูช่วงเวลาต่างๆให้ดีๆและก็หาเวลาเข้าไปเล่นให้ได้ อย่างเหมาะสม หากเราทำได้ ก็ทำให้เราเข้าออกจากตลาดหุ้นได้ถูกที่ ถูกเวลา และจากนั้นเราก็ไม่ด่วนตัดสินใจเร็วเกินไป หากเราถอยหนี เราก็ต้องทำการรักษาเยียวยาบาดแผลตัวเอง และก็บริหารจัดการความเสี่ยงให้ดีที่สุดและก็ทำตามกฎวินัยเมื่อเราทำผิดพลาด

หากเราปกป้องเงินทุนได้ เล่นหุ้นด้วยจำนวนเงินที่เหมาะสมได้ และรู้ว่าเวลาไหนควรเล่น ไม่ควรเล่น เราก็เป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว แล้วจะมีอะไรเข้ามาหยุดพวกเราได้ล่ะทีนี้?

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘