ดนตรีคลาสสิค


ดนตรีคลาสสิค เป็นดนตรีที่มีความอมตะ มีความไพเราะ ได้รับการยอมรับจากหมู่ชนทั่วโลกอีกทั้งสืบทอดมายาวนานกว่า 600 ปีแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากดนตรีเหล่านี้ได้รับการสร้างสรรค์จากบุคคลซึ่งมีความ "อัจฉริยะ" .... ทำให้ท่วงทำนอง อารมณ์ และทุกอย่างที่ได้จากดนตรีเหล่านี้มีความพิเศษจากดนตรียุคปัจจุบัน ,ดังนั้น เราจึงควรเปิดใจรับดนตรีประเภทนี้ให้เข้ามาสร้างประสบการณ์ดี ๆ แก่เราบ้าง ... ท่านอาจจะเป็นผู้หนึ่งที่หลงรักดนตรีคลาสสิคไปตลอดชีวิตเลยก็ได้นะครับ

    แวดวงดนตรีคลาสสิคในประเทศไทยยังไม่กว้างมากนัก ทั้งการศึกษา การแสดงต่าง ๆ ก็ยังไม่มีแพร่หลาย และหากจะทดลองฟังหลายท่านอาจไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เนื่องจากมีรายชื่อเพลงจำนวนมาก ... ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในการหาฟังเพลงคลาสสิคได้อย่างง่าย ๆ ผมจึงขอนำตัวอย่างดนตรีคลาสสิคแท้ ๆ เลือกสรรค์มาอย่างดีบรรเลงตาม Score ดั้งเดิมที่ผู้ประพันธ์ได้กำหนดไว้ ด้วยเครื่องดนตรี acoustic ล้วน ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ผมได้เตรียมมาให้แบบเต็มบทประพันธ์ครบทุก movement ... ในทุกเพลง ผมจะเขียนคำอธิบายสั้น ๆ ว่าลักษณะเพลงช้า เร็ว อย่างไร สื่อความหมายอย่างไร....เพื่อท่านจะได้เลือก download ตามที่ท่านชอบ ,ทุกเพลง RIP มาจาก CD เพลงคลาสสิคค่ายมาตรฐาน โดย Windows Media Player V 11.06 ,Bit rate 128Kbps รับประกันเสียงคมชัดทุกเพลงครับ นอกเหนือจากเพลงคลาสสิค ในเวปนี้ยังมีเพลงสากล และ Soundtrack จากภาพยนต์ระดับตำนาน ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงเก่าที่หาฟังได้ยาก และเป็น Original ทั้งสิ้นครับ ,,Link ไฟล์เพลงทั้งหมดในเวบนี้เป็นแบบ direct HTML ธรรมดา ไม่มีการรอ ไม่มีโฆษณา ... เมื่อ click แล้วก็จะ download หรือฟังได้ทันทีครับ รับรองว่าง่ายที่สุดกว่าทุกเวบที่ท่านเจอมา


ข้อมูลทั่วไปของดนตรีคลาสสิค
(ข้อมูลจาก Wikipedia)

    ยุคของดนตรีคลาสสิค

1.ยุคกลาง (Medieval or Middle Age) พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943)
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ

2. ยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143)
นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น

3. ยุคบาโรค (Baroque) พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293)
ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดี เป็นต้น

4. ยุคคลาสสิก (Classical) พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363)
เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศูนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์ (Mannheim) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น

5. ยุคโรแมนติค (Romantic) พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังความเบา และจังหวะ ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโทเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ไชคอฟสกี้ เป็นต้น

6. ยุคศตวรรษที่ 20 (20th Century Music พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน)
นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อน จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น (Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่าแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี้ เป็นต้น


    ประเภทของเพลงคลาสสิค

ซิมโฟนี่ (Symphony)

"ซิมโฟนี่" คือ บทเพลงบรรเลงโดยวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีครบทั้งสี่ประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี ซิมโฟนีถือกำเนิดมาในยุคคลาสสิกและเป็นบทเพลงที่ผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ และมีชื่อเสียงทั้งหลายนิยมประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น ไฮเดิน (Haydn) โมซาร์ท (Mozart) เบโธเฟน(Beethoven) ไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ซิมโฟนีเป็นบทเพลงที่บรรเลงโดยวงดุริยางค์ รูปแบบที่เห็นกันทุกวันนี้คือซิมโฟนีในยุคคลาสสิก ซึ่งได้พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดยกำเนิดมาจากรูปแบบอิตาเลียน โอเวอร์เจอร์ ที่เรียกว่า ซินโฟเนีย (sinfonia) ซึ่งเดิมเป็นบทเพลงที่มีสามท่อน (ท่อน = Movement) คือ เร็ว-ช้า-เร็ว ต่อมาได้มีการพัฒนาบทเพลงโอเวอร์เจอร์เพื่อใช้บรรเลงนำก่อนการแสดงอุปรากร ซึ่งเป็นบทเพลงที่บรรเลงด้วยวงดุริยางค์แต่เพียงอย่างเดียว แยกออกจากการแสดงอุปรากร จึงกลายเป็นบทเพลงประเภทใหม่ขึ้นมา ภายหลังได้มีการเพิ่มท่อนมินูเอ็ท (Minuet = ท่อนที่มีจังหวะคล้ายการเต้นรำ) เป็นท่อนที่สามขึ้นมาทำให้บทเพลงประเภทนี้มีสี่ท่อน รูปแบบซิมโฟนีที่สร้างขึ้นนี้ไฮเดินเป็นผู้มีส่วนพัฒนาอยู่มาก บางครั้งจึงมีผู้ขนานนามไฮเดินว่าเป็นบิดาแห่งซิมโฟนี ทั้งที่ซิมโฟนีมีมาก่อนหน้าไฮเดินแล้ว ไฮเดินประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีไว้เป็นจำนวนเกินกว่า ๑๐๔ บท ผู้ประพันธ์ในยุคคลาสสิกคือโมซาร์ทได้ประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีไว้เกินกว่า ๔๑ บท เบโธเฟนประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีไว้ 9 บท หลังจากนั้นได้มีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบจนทำให้ซิมโฟนีเป็นบทเพลงที่มีขนาดยาวมากขึ้น ใช้วงดุริยางค์ขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ประพันธ์เพลงในยุคต่อมา ล้วนนิยมประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีไว้เสมอ

ออร์เคสตรา (Orchestra)

"ออร์เคสตร้า" เป็นภาษาเยอรมัน ตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึงสถานที่เต้นรำ ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าของโรงละครสมัยกรีกโบราณ ที่ใช้เป็นที่เต้นรำและร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียงสำหรับดนตรีตะวันตก ,ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนี ออร์เคสตรา คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี ... ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงแสดงคอนเสิร์ต ,ระยะต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสาย (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10-25 คน โดยบางครั้งอาจจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในออร์เคสตราราวกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุคคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐาน เพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้ อุปรากร และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้นแม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดวงออร์เคสตรา หรือแนวทางการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตรา แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราของผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใด

อุปรากร (Opera)

หรือ โอเปร่า (Opera) เป็นการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด ถึงแม้ว่าอุปรากรจะมีความใกล้เคียงกับละครเวทีชนิดอื่นๆในเรื่องของฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ จะให้ความสำคัญของเพลง และ ดนตรีที่ประกอบการร้องเป็นอันดับหนึ่ง วงดนตรีที่ใช้นั้น อาจเป็นได้ตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดเต็ม อุปรากรถือกำเนิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 16 ในประเทศอิตาลี โดยอุปรากรมักจะมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีคลาสสิกของตะวันตก นอกจากอุปรากรตะวันตกแล้ว มีการแสดงหลายชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน บางครั้งก็ใช้คำว่าอุปรากรด้วย เช่น อุปรากรจีน (งิ้ว) เป็นต้น

คอนแชร์โต (Concerto)

คือ การเดี่ยวเครื่องดนตรีโดยใช้เทคนิคขั้นสูงประกอบกับวงดนตรี วงออร์เคสตร้าหรือวงดุริยางค์ โดยมีทั้งแบบคอนแชร์โตเดี่ยวและคอนแชร์โตกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น ไวโอลินคอนแชร์โต หรือ เปียโนคอนแชร์โต เป็นต้น ,ผู้แสดงเดี่ยวเครื่องดนตรีนั้น ๆ จะเป็นผู้ที่มีความสามารถในเครื่องนั้นอย่างพิเศษ ส่วนมากจะได้รับการฝึกฝนตั้งแต่อายุน้อย ๆ ต่ำกว่า 10 ขวบ บุคคลเหล่านี้อาจจะเรียกได้ว่ามีพรสวรรค์ทางดนตรี เนื่องจากส่วนมากจะมีความเชี่ยวชาญจนสามารถบรรเลง Concerto ได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 15 16 เท่านั้น

โซนาตา (Sonata)

โซนาตา เป็นเพลงที่แสดงการเดี่ยวเครื่องดนตรีชนิดใด ๆ ส่วนมากจะเป็นการบรรเลงไม่เกิน 3 ชิ้นดนตรี เช่น Piano sonata , Violin sonata , Sonata for Piano and Violin เป็นต้น ซึ่งชื่อของโซนาตาเพลงนั้นจะบอกถึงจำนวนชิ้นเครื่องดนตรี และจำนวนเครื่องดนตรีที่บรรเลง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘