การบริจาคพลาสมา

พลาสมา (Plasma) หรือ น้ำเหลือง คือ ส่วนประกอบของโลหิตที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใส ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำประมาณ 92 % รองลงมาเป็นสารโปรตีน 8 % สารโปรตีนเหล่านี้ ได้แก่ แอลบูมิน อิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งมีความสำคัญเป็นภูมิต้านทานต่อโรคติดต่อและเชื้อโรค นอกจากนี้ ยังมีโปรตีนที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด การแยกพลาสมาออกจากโลหิตบริจาคได้ปริมาณเพียง 100-150 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) เท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการใช้ในผู้ป่วย จึงได้มีการรับบริจาคเฉพาะพลาสมาขึ้น

การบริจาคพลาสมา (Single Donor Plasma)
 
    การบริจาคพลาสมา หมายถึง การบริจาคเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมาเท่านั้น ปัจจุบันนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รับบริจาคพลาสมาด้วยเครื่องมือ ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาในการบริจาคประมาณ 30-45 นาที
    วิธีการคือ เจาะโลหิตออกจากร่างกายผ่านตัวกรอง หรือตัวปั่น เพื่อทำการแยกพลาสมาออกจากเม็ดโลหิต จากนั้นส่วนที่เป็นพลาสมาจะถูกแยกส่งไปยังถุงบรรจุ ที่รองรับอยู่ ส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตแดงไหลกลับเข้าสู่ร่างกายผู้บริจาค
    การบริจาคพลาสมา สามารถทำได้ทุก 14 วัน บริจาคครั้งละ 500 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) พลาสมาที่ได้รับบริจาค นอกจากจะใช้ในรูปของส่วนประกอบโลหิตที่นำไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเฉพาะโรคแล้ว ยังนำไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต เช่น แอลบูมิน (Albumin) แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แฟคเตอร์ 9 เข้มข้น อิมมูโนโกลบูลิน ชนิดฉีดเข้าเส้นป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ป้องกันพิษสุนัขบ้า

คุณสมบัติผู้บริจาคพลาสมา

    1. อายุ 18-60 ปี
    2. มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป
    3. มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดเชื้อใด ๆ

หมายเหตุ


สำหรับผู้ที่เคยบริจาคโลหิตอยู่แล้วสามารถเปลี่ยนเป็นบริจาคพลาสมาได้โดยเว้นระยะ เวลา 3 เดือน และต้องสมัครเข้าโครงการฉีดวัคซีนก่อน แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนจากบริจาค พลาสมาเป็นบริจาคโลหิตให้เว้นระยะเวลา 1 เดือน

ปฏิทินเวลารับบริจาคโลหิต

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘